วันอาทิตย์, มิถุนายน 2, 2567

ผู้ประกอบการ เฮ! กทม.เตรียมเปิดจุดทำการค้าเพิ่ม 34 แห่ง ใน 8 สำนักงานเขต

by Pagon.p, 21 ธันวาคม 2563

กรุงเทพมหานคร เตรียมกำหนดพื้นที่ทำการค้าเพิ่ม 34 แห่งทั่วกรุง ใน 8 สำนักงานเขต เร่งกองบัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณา

วันที่ 18 ธ.ค.63 นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 7/2563 โดยมี คณะกรรมการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของกรุงเทพมหานคร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องสุทัศน์ ศาลาว่าการ กทม.(เสาชิงช้า)

ที่ประชุมได้พิจารณาจุดผ่อนผันที่ยังไม่ได้ยกเลิก จำนวน 171 จุด ในพื้นที่ 18 เขต และพิจารณาพื้นที่ทำการค้าในบริเวณใหม่ หรือในจุดผ่อนผันเดิมที่ได้ยกเลิกไปแล้ว ว่าจุดใดที่เข้าเกณฑ์หรือไม่ขัดต่อประกาศกรุงเทพมหานคร (ฉบับใหม่) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดพื้นที่ทำการค้าและการขายหรือจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะ ลงวันที่ 28 มกราคม 2563

 

 

ซึ่งสำนักงานเขตได้เสนอพื้นที่ทำการค้าซึ่งเป็นจุดผ่อนผันที่ยังไม่ได้ยกเลิก และขอทบทวนเป็นพื้นที่ทำการค้า จำนวน 8 สำนักงานเขต จำนวน 33 จุด และพื้นที่ทำการค้าใหม่ จำนวน 1 จุด รวมจำนวนทั้งสิ้น 34 จุด ให้คณะกรรมการฯ พิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ โดยจะเสนอให้กองบัญชาการตำรวจนครบาลพิจารณาต่อไป

สำหรับจุดทำการค้าดังกล่าวจะผ่อนผันผู้ค้ารายเดิมได้ขายต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นให้ยึดถือตามประกาศฯ ฉบับใหม่ ทั้งนี้ จุดทำการค้าที่อนุญาตมีหลายจุดที่คุณสมบัติหรือลักษณะทางกายภาพไม่เข้าข่ายหลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับใหม่ อย่างไรก็ดีในช่วง 6 เดือนแรกนี้ จะอนุโลมให้ก่อน หลังจากนั้นจะมีการพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง

สำหรับจุดทำการค้า จำนวน 34 จุด ที่สำนักงานเขตเสนอให้กำหนดพื้นที่ทำการค้า ประกอบด้วย

สำนักงานเขตบางคอแหลม จำนวน 2 จุด ได้แก่

1.บริเวณตลาดคลองสวนหลวง
2.บริเวณถนนเจริญกรุง 81-85

สำนักงานเขตยานนาวา จำนวน 5 จุด ได้แก่

1.บริเวณหน้าตลาดรุ่งเจริญ ถนนสาธุประดิษฐ์
2.บริเวณปากซอยปริยานนท์ ถนนสาธุประดิษฐ์
3.บริเวณหน้าตลาดนางลิ้นจี่ ถนนนางลิ้นจี่
4.บริเวณหน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา ถนนพระราม 3
5.บริเวณหน้าบริษัทไอซีซี ถนนสาธุประดิษฐ์ 59

สำนักงานเขตลาดพร้าว จำนวน 1 จุด ได้แก่

บริเวณตรงข้ามกองปราบปราม ถนนโชคชัย 4

สำนักงานเขตคลองเตย จำนวน 7 จุด ได้แก่

1.หน้าธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาคลองเตย
2.หน้าองค์การโทรศัพท์ ถนนพระราม 4
3.ซอยสุขุมวิท 4
4.ซอยไผ่สิงโต
5.ซอยอรรถกวี
6.ซอยแสนสุข ฝั่งซ้าย
7.ซอยสุขุมวิท 18

สำนักงานเขตปทุมวัน จำนวน 4 จุด ได้แก่

1.ถนนสารสิน ตั้งแต่แยกราชดำริถึงแยกสารสิน
2.ถนนหลังสวน ตั้งแต่ทางเข้าอาคารเมอร์คิวรีถึงอาคารเลขที่ 29-29/4 3.หน้าอาคารโรแล็กซ์ ถนนวิทยุ
4.หน้าวัดดวงแข ถนนจารุเมือง

สำนักงานเขตบางรัก จำนวน 7 จุด ได้แก่

1.ถนนคอนแวนต์ ฝั่งซ้าย - ฝั่งขวา
2.บริเวณซอยสีลม 5
3.ถนนพระราม 4 ตั้งแต่ซอยจอมสมบูรณ์ถึงซอยพระนคเรศ
4.ซอยสีลม 9 สาทร 10,12
5.ถนนสีลม บริเวณหัวมุมถนนมเหสักข์ถึงปากซอยสีลม 12
6.ถนนสุรวงศ์ ขาเข้า ตั้งแต่หัวมุมถนนธนิยะถึงซอยสุรวงศ์ เซ็นเตอร์
7.ถนนสุรวงศ์ ขาออก บริเวณหน้าธนาคารกสิกรไทยถึงหน้าร้านนวดแผนไทย

สำนักงานเขตบางกอกน้อย 7 จุด ได้แก่

1.ฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลศิริราช ถนนวังหลัง(ฝั่งขาออก)
2.ปากตรอกวังหลัง ถนนอรุณอัมรินทร์(ฝั่งขาเข้า)
3.ชอยแสง ฝั่งนันทอุทยาน (สโมสรทหารเรือ) ถนนอิสรภาพ (ฝั่งขาเข้า)
4.หน้าตลาดพรานนก ถนนอิสรภาพ (ฝั่งขาเข้า)
5.หน้าตลาดบางกอก ถนนอิสรภาพ (ทั้งสองฝั่ง)
6.หน้าตลาดบางขุนนนท์ ถนนบางขุนนนท์ (ฝั่งขาออก)
7.หน้าไปรษณีย์บางขนนนท์ ถนนบางขุนนนท์ (ฝั่งขาออก)

และพื้นที่ทำการค้าใหม่ในพื้นที่เขตจตุจักร จำนวน 1 จุด ได้แก่
บริเวณถนนกำแพงเพชร ตั้งแต่หน้าห้างสรรพสินค้ามิกซ์จตุจักรถึงทางเท้าลานจอดรถห้างเจเจมอลล์

 


Mostview

Deborah Szekely อายุ 102 ปี ยังคงทำธุรกิจ นี่คือ 3 แนวทางที่ทำในชีวิตประจำวัน ทั้งมีความสุข-สุขภาพดี

Deborah Szekely ในช่วงอายุ 102 ปี ยังคงทำงาน ทำธุรกิจที่เธอรัก โดยใช้ 3 แนวทางที่ทำในชีวิตประจำวันแล้วมีความสุข มีสุขภาพที่ดี ซึ่งในแต่ละวันเธอจะไปหาเพื่อน และใช้เวลา 3 วันต่อสัปดาห์ เข้าทำงานที่รีสอร์ทฟิตเนส และสปาที่ร่วมก่อตั้งในปี 1940

KERRY ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น KEX หลังแบรนด์สิ้นสุดสัญญาเดือน ก.พ.68

KERRY EXPRESS ผู้ให้บริการขนส่งพัสดุเตรียมรีแบรนด์ธุรกิจครั้งสำคัญเปลี่ยนชื่อจาก Kerry เป็น KEX หลังสิ้นสุดสัญญามีผลวันที่ 22 ก.พ.68

กรณีศึกษา Red Lobster ยื่นขอล้มละลาย เพราะจัดโปรบุฟเฟต์กินแบบไม่อั้น

การทำธุรกิจร้านอาหารย่อมอยากดึงลูกค้าเข้ามาเยอะ ๆ แน่นอนว่าทางลัดที่จะช่วยได้คือ “บุฟเฟต์” ที่กำหนดราคาอาหาร กำหนดเมนู ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดที่จะช่วยดึงลูกค้าเข้าร้านมากยิ่งขึ้น

5 อันดับความสุข-ความทุกข์ของมนุษย์เงินเดือน

มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ ร่วมกับสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล ทำการสำรวจเรื่อง มนุษย์เงินเดือน กับ ความสุข จำนวนทั้งสิ้น 1,182 ตัวอย่าง ตั้งแต่วันที่ 21-25 พฤษภาคม 2567

ผลสำรวจชี้คนไทย “เบื่อง่าย หน่ายเร็ว” ชอบเปลี่ยนอะไรใหม่ๆ แต่สุดท้ายก็กลับมาใช้แบรนด์ที่คุ้นเคย

ผลสำรวจชี้คนไทย “เบื่อง่าย หน่ายเร็ว” ไม่ยึดติดแบรนด์ เป็นโอกาสของ SME ทำสินค้ามีคุณภาพทัดเทียมแบรนด์ใหญ่

SmartSME Line