วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2567

"ถอดสูท" จากเด็กอาชีวะ ซอยพรฯ สู่นักธุรกิจหมื่นล้านที่สำเร็จจากการใช้กลยุทธ์ LEAN Management

by Smart SME, 3 ธันวาคม 2563

ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้ คือนิยามของเรื่องนี้ เมื่อเด็กอาชีวะคนหนึ่ง มุ่งมั่น พยายามจนก้าวสู่ "นักธุรกิจหมื่นล้าน" ในธุรกิจไฟฟ้าและพลังงานรายใหญ่

“การที่เราจะใช้ชีวิตการทำงานได้ดีนั้น อาจต้องมีต้นแบบและแรงบันดาจใจที่ดีด้วยเช่นกัน” นี่ึคือมุมมองจากศิษย์เก่าราชมงคล CEO รายใหญ่มากความสามารถระดับแถวหน้าของเมืองไทย ที่โดดเด่นทั้งเรื่องงานและการบริหาร สำหรับ ดร.พระนาย กังวาลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพาเวอร์ โซลูชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจด้านพลังงานและการบริหารจัดการพลังงานอย่างเป็นระบบ ที่น่าจับตามองอยู่ขณะนี้

 

ดร.พระนาย กังวาลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพาเวอร์ โซลูชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)

 

 ‘พระนาย’ เป็นชื่อที่พระได้ตั้งให้ เป็นคำลำลองสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นสูงในสมัยก่อน ปัจจุบันเขาอายุ 46 ปี จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) ปริญญาโทและเอก วิศวกรรมศาสตร์ เช่นเดียวกันจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง

ดร.พระนาย เล่าว่า ตนเป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี พ่อและแม่รับราชการ ทางบ้านผลักดันให้เรียนสูง ๆ เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งเดียวที่มีค่าติดตัวเราไปตลอด หลังจากที่เรียนสายช่างมาตลอด ก็มุ่งตรงในการเรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์ต่อไป ช่วงที่เรียน ป.ตรี นับเป็นช่วงที่สนุก มีพรรคพวกและความสัมพันธ์เหนียวแน่น การเดินทางไปเรียนสมัยนั้นค่อนข้างลำบาก จึงได้เช่าบ้านอยู่กับเพื่อนด้วยกันย่านพรธิสาร จ.ปทุมธานี
“ที่ราชมงคล สอนและสร้างสมความเป็นนักปฏิบัติ เน้นการใช้เครื่องไม้เครื่องมืออย่างเต็มที่ ให้ลุยหน้างานจริง ถือเป็นความโดดเด่นที่พิสูจน์ได้จนถึงทุกวันนี้”

ก่อนก้าวมาเป็น CEO เคยทำงานที่บริษัทโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยแห่งหนึ่งมาก่อน และเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง จึงได้ผันตัวออกมาตั้งบริษัทเกี่ยวกับไฟฟ้าร่วมกับเพื่อนเป็นเวลา 2-3 ปี จนพบว่าตลาดที่เราถืออยู่นั้นเติบโต มีแนวโน้มที่ดีในอนาคต บวกกับทีมงานของเรามีความชำนาญและประสบการณ์มากขึ้น จึงแยกส่วนมาตั้งเป็นบริษัทของตนเอง เริ่มต้นจากห้องแถวเล็ก ๆ ค่อยเป็นค่อยไปอย่างมั่นคง และเติบโตเรื่อยมาจนสามารถเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปัจจุบันเติบโตกว่า 10 เท่าที่เป็นอยู่เดิม และมีสินทรัพย์มากกว่าหมื่นล้านบาทในธุรกิจไฟฟ้าและพลังงาน

 

 

บริษัทของเราทำ 4 ธุรกิจหลัก คือ (1) ธุรกิจออกแบบ จำหน่าย และติดตั้งระบบจ่ายไฟฟ้าและตรวจวัดจัดการสภาพแวดล้อม (2) ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน และโรงไฟฟ้าพลังงานหลัก (3) ธุรกิจจำหน่ายและขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเหลว และ (4) ธุรกิจการก่อสร้าง และจัดหาทางวิศวกรรมของโรงไฟฟ้า คลังแก๊ส และคลังน้ำมัน อีกทั้งมีการลงทุนในธุรกิจขนส่งน้ำมันทางท่ออีกด้วย โดยมีลูกน้องผู้ร่วมงานกว่า 300 ชีวิต

 

 

ล่าสุดบริษัทได้รับรางวัลบริษัทจดทะเบียนยอดเยี่ยมแห่งปี Best Public Company of the Year 2020 จากวารสารการเงินธนาคาร “รางวัลดังกล่าว มองว่าเกิดขึ้นจากการเติบโตของบริษัท ผลกำไร การดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงธรรมาภิบาล หากมองย้อนกลับไปจากธุรกิจห้องแถวเล็ก ๆ ดังที่กล่าว จนจับต้องสินทรัพย์กว่าหมื่นล้านบาท นั่นอาจเป็นเพราะว่าเรามีเหล่ากัลยาณมิตรทางธุรกิจที่ดี”
ขณะที่ความสำเร็จทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง พระนายก็ยอมรับว่ามีปัญหา อุปสรรค รวมถึงวิกฤตเกิดขึ้นอยู่บ้าง อย่างที่กำลังประสบอยู่คือการระบาดของโควิด-19 ซึ่งธุรกิจทุกภาคส่วน ทั้งเล็กกลางใหญ่ต่างได้รับผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้นทั่วโลก โดยบริษัทเองก็ประสบปัญหา กล่าวคือ มีการใช้พลังงานน้อยลง ทำให้ยอดขายลดลง รายได้หรือกำไรก็ลดลง แต่มองว่าเป็นโอกาสในการปรับตนเอง “กระแสเงินสด หรือ Cash Flow 

 

 

เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญมาก” เราต้องบริหารให้ดี รัดกุม ไม่ก่อให้เกิดหนี้เสีย มีการเจรจาลดดอกเบี้ยกับธนาคาร
นำการบริหารแบบ LEAN Management มาปรับใช้ ขณะเดียวกันเราก็ต้องใช้เทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการประชุมออนไลน์ การใช้ซอฟต์แวร์ในการพัฒนาตนเอง หรือแม้กระทั่งการดูแลป้องกันตนเอง

“บริษัทเราโชคดีอย่างหนึ่งที่มีคนรุ่นใหม่ไฟแรงมาร่วมงาน พวกเขาสามารถปรับตนเองได้ง่าย เรียนรู้ไว และกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา” หากจะมองหาคนร่วมงาน นอกจากการรับคนที่ตรงสาขาแล้ว จะพิจารณาถึงความรับผิดชอบ ความมุ่งมั่นทุ่มเท สิ่งเหล่านี้สังเกตได้จากการทดลองงาน และการประเมินผล ขณะเดียวกันก็ชอบที่คนกล้าลุยงาน และทำงานเป็นอย่างมืออาชีพ

แง่คิดสำคัญที่เชื่อมั่นและใช้มาตลอด นั่นคือ “ถ้าเราทำในสิ่งเราถนัด เราจะทำออกมาได้เป็นอย่างดี” บางคนหลงทางกับธุรกิจ สับสนตลาด สับสนกับลูกค้าเป้าหมาย ดังนั้นการมีทีมที่ปรึกษาทางธุรกิจ จึงเป็นเรื่องที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจสตาร์ทอัพ ส่วนการสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจ ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่ง เนื่องจากเป็นผู้ร่วมอุดมการณ์ที่จะช่วยพาบริษัทก้าวต่อไป

 

 

ถามถึงแนวทางในอนาคตต่อจากนี้ พระนาย ตอบอย่างมั่นใจที่ว่า “ทุกธุรกิจและทุกบริษัท ต่างก็ต้องการความมั่นคง การเติบโตด้วยความแข็งแกร่ง เพื่อให้ดำรงอยู่ได้ต่อไป ภายใต้สถานการณ์แวดล้อมทั้งที่ควบคุมได้และไม่ได้ในเวลาเดียวกัน และนี่คือโจทย์ใหญ่อันสำคัญของนักบริหาร”

จากวิสัยทัศน์และมุมมองทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นทักษะที่ ดร.พระนาย เรียนรู้ สั่งสม ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้ และสามารถเป็นต้นแบบจุดพลังให้กับผู้ประกอบการธุรกิจต่อไปได้

Tag :

Mostview

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

พาชมงาน MONEY EXPO 2024 โซน Franchise SMEs มีธุรกิจอะไรน่าลงทุน

เริ่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับงาน MONEY EXPO 2024 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยภายงานในงานได้มีสถาบันทางการเงินที่นำบริการสินเชื่อต่าง ๆ มานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจมองหาแหล่งทุนสำหรับนำไปใช้ในเรื่องต่าง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

SmartSME Line