วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

เคล็ดลับจัดการหนี้อย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอด

by Smart SME, 4 พฤศจิกายน 2565

ผู้ประกอบการ SMEs จะจัดการหนี้สินอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอด เขียนเมื่อเช้าวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 มงคล ลีลาธรรม อดีต CEO SME Development Bank กล่าวว่า ซึ่งสถานการณ์ตอนที่จะให้ความเห็นเรื่องการจัดการหนี้สินอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอดนั้น อยู่ท่ามกลางสถานการณ์ที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ประกาศขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกัน โดยปรับขึ้นอีก 0.75 % เพื่อต่อสู้ภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกมีการปรับขึ้น

จริง ๆ แล้วการจัดการหนี้สิน คือเป็นการจัดการทางด้านการเงิน หรือจัดการธุรกิจให้อยู่รอด ซึ่งปกติแล้วปัจจัยของธุรกิจที่จะอยู่รอดได้นั้น ก็มาจาก 2 ด้านด้วยกัน

1.กำไรจากการทำธุรกิจ ก็มาจากรายได้หักด้วยต้นทุนกับค่าใช้จ่าย

2.สภาพคล่องที่จะมีกระแสเงินสด หรือเงินทุนที่จะหมุนเวียน ให้สภาพคล่องสินค้าของตัวเอง สามารถนำมาจำหน่ายหรือเรียกเก็บชำระได้ หรือชำระเจ้าหนี้ได้ทัน

การจัดการเรื่องการเงินหรือหนี้สินนั้น มีอยู่ 3 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่

1.สภาพคล่อง ซึ่งหัวใจสำคัญ สภาพคล่องที่พอนั้น จะต้องนำมาใช้สอย ซึ่งต้องพอเพียงในการดูแล มูลค่าสินค้าคงเหลือ ลูกหนี้การค้าบวกกัน หักด้วยเจ้าหนี้การค้าแล้ว เรายังพอที่จะมีเงินสดสภาพหมุนเวียนเพียงพอหรือไม่ ถ้ามีสภาพคล่องน้อย เราก็จะไม่สามารถที่จะซื้อสินค้ามาชำระได้ ในทำนองเดียวกันลูกหนี้การค้า ถ้าไม่สามารถชำระหนี้หรือเบี้ยวหนี้เรา เงินสดเราก็น้อยลง หรือเจ้าหนี้การค้า ถ้าหากว่าชำระให้สินเชื่อการค้าเราน้อยไป ทำให้เราชำระเงินมากขึ้นหรือในทำนองเดียวกัน ให้สินเชื่อการค้าเรามากขึ้น เราก็มีสินค้าเพียงพอที่จะมาขายหรือมาให้กับลูกหนี้การค้า หรือมีเงินสดเหลือจากการทำธุรกิจต่าง ๆ ได้ บางครั้งธุรกิจอาจจะกำไรน้อย ถ้าได้การสนับสนุนจากเจ้าหนี้การค้ามาก ๆ ก็อาจจะมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะคงอยู่ได้

2.ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น เพราะว่า หลายคนที่ที่ต่ำกว่า 40 ปี อาจจะอยู่ในยุคที่ดอกเบี้ยต่ำ แต่ถ้าใครที่อายุมากกว่า 40 ปี อาจจะอยู่ในยุคที่ดอกเบี้ยสูงถึง 2 หลัก ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยสูงหรือต่ำมีผลต่อปัญหาสภาพคล่องและกำไรของเรามาก เคยคำนวณคร่าว ๆ ดอกเบี้ยเพียง 5% 7 ปี จะเท่ากับดอกเบี้ย 18% 2 ปี นั่นก็เห็นได้ชัดว่าการที่เรากู้ดอกเบี้ยถูกก็จะสามารถชำระหนี้เงินต้นคืนได้เร็วขึ้นกว่า 5 ปี เป็นเรื่องที่นักธุรกิจทั้งหลายต้องศึกษาและคำนวณทางด้านการเงิน อัตราดอกเบี้ยให้ดี

3.หนี้ เราจะต้องแบ่งหนี้สินเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกเรียกว่าเป็นหนี้ที่เป็นเงินกู้จ่ายดอกเบี้ยอย่างเดียว ซึ่งเราเรียกว่าเงินกู้หมุนเวียน ส่วนที่สองเป็นหนี้ที่ต้องจ่ายตั้งต้นและดอก ต้องคำนวณให้ดี หลายคนไปกู้ เช่น บัตรเครดิต ที่ต้องผ่อนเดือนละ 5 % ของหนี้ที่มีอยู่ หรือ 10 % ของหนี้บัตรเครดิตแต่ละเดือน จะเห็นได้ชัดว่า ถ้าเดือนละ 10 % ก็เท่ากับว่าดอกเบี้ยที่เราเสียก็จะสูงขึ้น ในทำนองเดียวกันถ้าเป็นการผ่อนทั้งต้นและดอกแล้ว ก็ 7 ปี คิดดอกเบี้ยแค่ 5 % 1 ปี เรามีหนี้ต้องชำระถึง 18 % ซึ่งจากการเสียดอกเบี้ยอย่างเดียว เรียนว่าทุกหนึ่งแสนบาท ถ้าเสียดอกเบี้ยอย่างเดียวก็ 5 % ต่อปี แต่ถ้าเสียตั้งต้นและดอก 7 ปี จะต้องเสียถึง 18 % เราไม่มีธุรกิจไหนที่กู้มาแล้วหารายได้ หักค่าใช้จ่าย หักต้นทุนแล้วมีกำไรเหลือถึง 18 % ได้ ดังนั้นหนี้ที่เรากู้มาจะต้องสร้างรายได้ให้เรามากกว่าเงินกู้ 2-4 เท่า

 


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line