วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

ผู้ประกอบการทำธุรกิจแล้วล้มเหลว ไม่ประสบความสำเร็จ เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

by Smart SME, 26 สิงหาคม 2565

โดยปกติทั่วไปแล้วผู้ประกอบการที่เป็น SME คนตัวเล็ก ก่อนช่วงที่จะเกิดโควิด -19 หรือเกิดสงครามการค้าอะไรต่าง ๆ ตามบันทึกของสถาบันการเงินแล้ว ในหนึ่งปีจะมีความล้มเหลวประมาณ 8% 5 ปีผ่านไป ก็จะมีธุรกิจล้มเหลว เหลืออยู่ประมาณ 60%

แต่ช่วงทุกข์ยากของธุรกิจและท้าทายลักษณะอย่างนี้ อัตราการเพิ่มที่จะทำธุรกิจไม่สำเร็จก็เพิ่มขึ้นมาก ก็มีผู้เชี่ยวชาญและข้อมูลที่อ้างอิงจากหลายแหล่งก็สูงถึงประมาณ 20% ถ้าเป็นแบบนี้ก็คงไม่มีใครประสบความสำเร็จ แต่ก็มีคนทำวิจัยศึกษาว่ามีธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่เรียกว่าขายของได้ กู้เงินเป็น และมีความรู้ จะทำอะไรได้บ้าง ส่วนใหญ่ก็เห็นได้ชัดว่า จะมีการปรับตัวในการยืดหยุ่น หรือยืดหยุ่นในการปรับตัว นั่นหมายถึงการปรับตัวธุรกิจในเชิงที่เราเรียกว่ามีทัศนคติในการแก้ไขปัญหา

ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ส่วนใหญ่ที่ล้มเหลวก็ล้มเหลวจากตัวเรา เพราะเราพูดแต่ความทุกข์ยาก ปัญหาหนี้สิน ขายของไม่ได้ ไม่มีความรู้ กู้เงินไม่เป็น และโทษคนอื่น ไม่คิดที่จะปรับตัวเองในเชิงบวก ซึ่งเชิงบวกมีมิติให้เห็นอยู่ 2 มิติ

มิติแรก ถ้าให้ตรงกับหลักสุขอนามัย ถ้าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความทุกข์ในช่วงโรคระบาด คือความน่าเชื่อถือของธุรกิจของเราที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกหรือลูกค้าของเราที่มาใช้บริการแล้วเราเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องเข้มงวดอย่างมาก

มิติสอง เป็นในเรื่องของการหาหนทางแก้ไขปัญหาเชิงบวก ซึ่งไม่ง่าย มันสะท้อนถึงหนทางหรือแนวทางแก้ปัญหา ส่วนใหญ่เราจะลดต้นทุน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ จำนวนพนักงานที่ลดลง หลายองค์กรโดยเฉพาะ ร้านอาหารหรือโรงแรม มีการลดพนักงานที่มีประสบการณ์น้อย และอีกอย่างที่สำคัญคือการปรับกระบวนการทำงาน

เพราะฉะนั้นแล้วจึงเป็นประสิทธิภาพพร้อม ๆ กับต้นทุนในการที่จะกลับคืนมา ที่ยกตัวอย่างร้านอาหารและโรงแรม เนื่องจาก 2 ธุรกิจนี้ได้รับผลกระทบมากในช่วงวิกฤต การบริหารแบบคนอบจึงควรนำมาใช้เป็นอย่างมาก ดูแลลูกค้าเหมือนคนในครอบครัว เอาใจเขามาใส่ใจเรา และอีกประการที่สำคัญมาก ก็คือการรับฟังข่าวสารภายนอกอย่างมีสติ รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นอย่างเชิงบวก เน้นการตัดสินใจที่รวดเร็ว รอบคอบ เน้นหารทำงานในด้านสื่อสารให้ออกมาซื่อสัตย์ ถูกต้อง ทันเวลา ถูกกาลเทศะ การสื่อสารที่ดีทั้งภายในและภายนอกไม่ให้ขัดแย้งกัน จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องลงมือทำเอง ท้ายสุดก็เป็นเรื่องสำคัญของการตลาดเลย คือตัวผลิตภัณฑ์และบริการซึ่งต้องสร้างความแตกต่าง พัฒนาคุณภาพ ความปลอดภัย

สรุปแล้วธุรกิจคือการจัดการความไม่แน่นอน ความทุกข์ยาก ให้เป็นในเชิงบวกและมีความก้าวหน้า เพื่อให้ขายของได้


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line