วันเสาร์, กันยายน 14, 2567

ธุรกิจไทยปี 2567 ครึ่งปีแรกอะไรเด่น ครึ่งปีหลังอะไรน่าห่วง

by Anirut.j, 24 กรกฎาคม 2567

ปี 2567 เวลาเดินเข้าสู่ช่วงกลางเดือนแล้ว ที่ผ่านมาภาพรวมธุรกิจในไทยเป็นอย่างไรบ้าง และครึ่งปีหลังมีเรื่องอะไรต้องเฝ้าจับตา ระมัดระวัง

Smartsme จะสรุปให้ฟัง โดยอ้างอิงจากการวิเคราะห์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ในปี 2567 ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ แต่อาจมีความแตกต่างกันในรายละเอียดของแต่ละภูมิภาค โดย World Bank คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตประมาณ 2.6% ในปี 2567 ซึ่งใกล้เคียงกับปี 2566 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.8% ในปี 2568

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2567 สามารถฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศ การท่องเที่ยว และการส่งออก แต่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายจากหนี้ครัวเรือนที่สูง และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจโลก โดยสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตประมาณ 2.5% ในปี 2567 ผ่านการขยายตัวของการส่งออก และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก

 

นักท่่องเที่ยวต่างชาติ ปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

นักท่่องเที่ยวต่างชาติ ปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

 

ช่วงครึ่งปีแรก 2567 การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจมีจำนวน 46,383 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 145,079 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.ธุรกิจภาคบริการ จำนวนการจัดตั้ง 26,479 ราย คิดเป็น 57.09% 2.ภาคขายส่ง/ขายปลีก จัดตั้ง 15,152 ราย คิดเป็น 32.67% และ 3.ภาคการผลิต จัดตั้ง 4,752 ราย คิดเป็น 10.25%

ด้านธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจครึ่งปีแรก 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (2566) แยกตามภาคธุรกิจ ดังนี้

ภาคขายส่ง/ขายปลีก ได้แก่ 1)ธุรกิจขายปลีกชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมใหม่ของจักรยานยนต์มีอัตราการเติบโตสูงสุด 90.91% 2)ธุรกิจขายส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมใหม่ของจักรยานยนต์เติบโต 75.00% และ 3) ขายนาฬิกา แว่นตา และอุปกรณ์ถ่ายภาพ เติบโต 73.08%

 

ธุรกิจขายปลีกชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมใหม่ของจักรยานยนต์ เติบโตอย่างน่าสนใจ

ธุรกิจขายปลีกชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมใหม่ของจักรยานยนต์ เติบโตอย่างน่าสนใจ

 

ภาคการผลิต ได้แก่ 1)ธุรกิจผลิตโครงสร้างที่ใช้ในการก่อสร้างและเครื่องประกอบอาคาร เติบโตสูงสุด 106.67% 2)ธุรกิจผลิตกระดาษลอนลูกฟูกและกระดาษแข็งลอนลูกฟูก เติบโต 104% และ 3)ธุรกิจผลิตส่วนประกอบอิเล็กทรกนิกส์อื่น ๆ เติบโต 96.77%

ภาคบริการ ได้แก่ 1)ธุรกิจวิจัยและพัฒนาเชิงทดลองด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีฯ เติบโตสูงสุด 132.35% 2)ธุรกิจขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจำทางอื่น ๆ เติบโต 95.24% และ 3)ธุรกิจก่อสร้างโครงวการสร้างวิศวกรรมโยธาอื่น ๆ เติบโต 85.71%

แยกตามขนาดธุรกิจ พบว่าเป็นธุรกิจขนาดเล็ก S มีสัดส่วนการจัดตั้งสูงสุด 99.64% ของจำนวนการจัดตั้งครึ่งปีแรก 2567 หรือจำนวน 46,214 ราย ธุรกิจขนาดกลาง M สัดส่วนของจำนวนการจัดตั้ง 0.30% หรือจำนวน 142 ราย และธุรกิจขนาดใหญ่ L มีสัดส่วนการจัดตั้ง 0.06% หรือจำนวน 27 ราย โดยเมื่อเปรียบเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2566 พบว่าธุรกิจขนาดเล็ก S และขนาดใหญ่ L มีอัตราการเติบโตลดลง 1.91% และ 34.15% ตามลำดับ ขณะที่ขนาดกลาง M เติบโตเพิ่มขึ้น 10.08%

ด้านเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 2567 ในส่วนของเศรษฐกิจโลก มีแนวโน้มเติบโตใกล้เคียงกันที่ 2.7% โดยมุมมองของ SCB EIC มีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศเติบโตดี เช่นเดียวกับเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากภาคการผลิต และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยังมีความเสี่ยงด้านประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ ความไม่แน่นอนของนโยบายรัฐบาลแต่ละประเทศจะปรับตัวสูงขึ้นจากผลการเลือกตั้งเกือบทั่วโลกในปีนี้ โดยเฉพาะการเลือกตั้งสหรัฐฯ

เมื่อมาดูแนวโน้มการจดทะเบียนธุรกิจปี 2567 ยังคงคาดการณ์การเติบโตของการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ที่ 5-15% (90,000-98,000 ราย) จากปัจจัยสนับสนุน เช่น นโยบายของภาครัฐ การเดินหน้านโยบายเงินดิจิทัลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการดึงดูดการลงทุนจากชาวต่างชาติที่มีการกระตุ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปี เช่น มาตรการวีซ่าพำนักระยะยาว มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการผลิตและกิจการ รวมทั้ง การลงทุนจากภาครัฐที่กำลังดำเนินการหลังจากที่เริ่มจัดสรรงบประมาณในปี 2567 ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567

 

เงินดิจิทัล แรงหนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโต

เงินดิจิทัล แรงหนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโต

 

นอกจากนี้ การดำเนินการของภาครัฐทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม ตลอดจนภาคการท่องเที่ยวที่ยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยที่สำคัญ ซึ่งจากแผนงานของภาครัฐที่มีนโยบายกระตุ้นด้านการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะครึ่งปีหลังในไตรมาสสุดท้ายของปีที่ประเทศไทยเข้าสู่ช่วง High Season ฤดูกาลท่องเที่ยวซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนไทยมากที่สุดของปี อีกทั้ง นักท่องเที่ยวชาวไทยก็นิยมท่องเที่ยวช่วงเวลาดังกล่าวด้วยเช่นกัน น่าจะผลให้ธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงแรม, ร้านอาหาร, การขนส่ง และธุรกิจ อื่น ๆ ได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย และคาดการณ์ว่าจะมีนักลงทุนจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยท้าทาย เช่น ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ เนื่องจากมีผลกระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภคในประเทศ อัตราเงินเฟ้อ ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์จากต่างประเทศที่อาจส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก และกระทบมาถึงเศรษฐกิจของไทย รวมทั้ง การใช้จ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐที่ต้องเร่งเบิกจ่ายให้เร็วขึ้น เนื่องจากเกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME โดยตรง หากงบประมาณลงพื้นที่เร็ว จะส่งผลให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น และมีการใช้จ่ายเงินเพื่อบริโภคโดยทันทีเช่นเดียวกัน


Mostview

สูตรลับความสำเร็จ MR.D.I.Y. ทำอย่างไรให้แบรนด์ติดตลาด เป็นมากกว่าร้านขายสินค้าราคาถูก

MR.D.I.Y. ร้านจำหน่ายสินค้าจิปาถะ สินค้าไลฟ์สไตล์ทั่วไป และอุปกรณ์ตกแต่งบ้านแห่งยุคสัญชาติมาเลเซีย ที่โมเดลธุรกิจถูกออกแบบมาเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ เข้ามาตีตลาดเมืองไทย เปิดให้บริการสาขาแรกเมื่อปี พ.ศ. 2559 (ปี 2016) ที่ ศูนย์การค้าซีคอนบางแค กรุงเทพฯ

รู้จัก ตราสัญลักษณ์ “Q” การยกระดับผู้ประกอบการ ด้วย “สินค้าเกษตรมูลค่าสูง”

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” และนโยบาย “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง” เพื่อให้ผู้ประกอบการทำการเกษตรตรงตามความต้องการของตลาดหรือผู้บริโภค ใช้นวัตกรรมเพิ่มศักยภาพในการจัดการ

เปิด 6 เทรนด์ หนุนการท่องเที่ยวไทย บูมสุดขีด

การระบาดของโรคโควิด-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในหลายด้าน เช่น เน้นการดูแลด้านสุขภาพและสุขอนามัยเพิ่มขึ้น นิยมท่องเที่ยวในรูปแบบ Niche Tourism ทำให้ประเทศไทยควร Repositioning ภาคการท่องเที่ยว

ชายวัย 52 ปีหมดไฟทำงาน ตัดสินใจซื้อธุรกิจป๊อปคอร์น ปัจจุบันสร้างรายได้กว่า 3 พันล้านบาท

Charies Coristine ชายที่เคยมีความสุขกับการทำงานที่ Morgan Stanley โดยจังหวะชีวิตแบบนี้ดูจะเป็นอะไรที่ลงตัว แม้จะต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อซื้อขายหุ้นในตลาดโตเกียว และลอนดอน แต่ตัวเขาก็เริ่มหมดไฟกับสิ่งที่ทำอยู่

เปิดแนวทางเอาตัวรอดของ SME ไทย ในสภาวะเศรษฐกิจผันผวน

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC เผยถึงความท้าทายที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากรอบด้านที่ผู้ประกอบการ SME ต้องเผชิญ ทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจ กำลังซื้อทั้งในและต่างประเทศที่เปราะบาง รวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

SmartSME Line