วันเสาร์, กันยายน 14, 2567

มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ จะขายคาร์บอนเครดิตอย่างไร?

by Smart SME, 27 สิงหาคม 2567

คำถามแรก ที่สำคัญมากๆ คือ คาร์บอนเครดิตคืออะไร ? คาร์บอนเครดิต คือศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออก จากชั้นบรรยากาศของโลก มาคำนวณเป็นค่าเครดิต ให้สามารถซื้อ-ขายได้ เหมือนเป็นสินค้าประเภทหนึ่ง โดยหนึ่งเครดิต เท่ากับการสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตัน เพื่อขายให้กับประเทศพัฒนาแล้วประเทศอุตสาหกรรม หรือแม้แต่เอกชนบางราย โดยประเทศหรือหน่วยงานเหล่านี้จะซื้อ Carbon Credit ไป เพื่อใช้ขยายขอบเขตหรือชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเอง และคาร์บอนเครดิต จะมีส่วนสำคัญในการทำธุรกิจในอนาคตเป็นอย่างมาก และเป็นเทรนด์ที่ทุกภาคส่วนกำลังมุ่งไป

 

ขายคาร์บอนเครดิต ต้องทำอย่างไร

ขายคาร์บอนเครดิต ต้องทำอย่างไร

 

กลไกซื้อขายคาร์บอน เครดิตในไทย

สำหรับ กลไกการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ในไทย ที่จะทำให้ผู้ประกอบการและประชาชนอยู่ในเทรนด์รักษ์โลก และ keep the world นั้น ดำเนินการโดย องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยคนทั่วไทย หรือภาคเอกชน ที่สนใจสามารถติดต่อขอคำแนะนำได้ที่ www.tgo.or.th เพียงแค่มีที่ดินปลูกต้นไม้ ก็สามารถเข้าสู่ธุรกิจนี้ได้แล้ว โดยการประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิตที่สามารถซื้อขายได้ จะประเมินโดยองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก

มีพื้นที่ปลูกต้นไม้จะขายคาร์บอนเครดิต อย่างไร? วิธี สร้างรายได้ จากคาร์บอนเครดิต ทำอย่างไร? โดยข้อมูลจาก องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ระบุว่า สิ่งจะต้องมี ดังนี้

1. มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ประเภทไม้ยืนต้นตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป
2. มีเอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
3. มีความรู้ในการประเมินการกักเก็บคาร์บอนและจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการ
4. มีเงินในการจ้างผู้ประเมินภายนอกมาตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบข้อมูลก๊าซเรือนกระจก

ปัจจุบันมีโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน (ทั่วไป) กับ T-VER โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย 310 โครงการ สามารถศึกษาข้อมูลการขึ้นทะเบียนโครงการและการรับรองคาร์บอนเครดิตจากเว็บไซต์ https://ghgreduction.tgo.or.th

 

จะขายคาร์บอนเครดิตอย่างไร?

จะขายคาร์บอนเครดิตอย่างไร?

 

คำถามที่ ยังคาใจ ประชาชนหลายส่วนคือ ถ้าหลายๆรายรวมกันเป็นวิสาหกิจชุมชน ได้ไหม ? เพราะเกษตรกรบางรายมีที่ดินไม่ถึง10ไร่? คำตอบคือ ผู้ที่อยากได้ คาร์บอนเครดิต ทำได้ โดย สามารถทำโครงการ T-VER (โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย) ในรูปแบบของ โครงการแบบแผนงาน (Programme of Activities) โดยมีโครงการย่อยที่มีที่ตั้งหลายแห่งได้ แต่ประเภทโครงการต้องเหมือนกัน ใช้ระเบียบวิธีการ (Methodology) เดียวกัน ระยะเวลาในการคิดเครดิตของโครงการย่อยเริ่มและจบไม่เหมือนกันก็ได้ แต่ที่สำคัญต้องมีหน่วยงานกลางที่จัดทำข้อเสนอโครงการ T-VER แบบแผนงาน รวบรวมข้อมูลทั้งหมดของโครงการย่อยเพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการย่อยของแต่ละกลุ่มแยกกัน

หรือจะทำแบบควบรวม (Bundled Projects) โดยเป็นโครงการที่มีที่ตั้งหลายแห่ง โดยทุกโครงการย่อยเป็นประเภทโครงการเดียวกัน ใช้ระเบียบวิธีการ (Methodology) เดียวกัน แต่ในส่วนของระยะเวลาคิดเครดิตของทุกแห่งต้องเริ่มพร้อมกันและจบพร้อมกัน และมีหน่วยงานกลางที่รวบรวมข้อมูลและจัดทำข้อเสนอโครงการเล่มเดียว

กรณีพื้นที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สามารถเข้าโครงการ คาร์บอนเครดิต กับ อบก. ได้หรือไม่ ? คำตอบคือ ผู้มีสิทธิ์ยื่นคำขอเพื่อดำเนินการโครงการคาร์บอนเครดิต กับ อบก. ต้องเป็นผู้ที่ ยื่นความประสงค์ขอดำเนินโครงการปลูกป่าร่วมกับ ทช.

กรณีพื้นที่ของกรมป่าไม้ นั้น ผู้มีสิทธิ์ยื่นคำขอเพื่อดำเนินการโครงการคาร์บอนเครดิต กับ อบก. ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติในข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

1. เป็นผู้ได้รับอนุมัติตาม ม.19 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ
2. เป็นผู้ได้รับอนุญาตตาม ม.54 พ.ร.บ.ป่าไม้ และ ม. 13/1 ม.16 ม.20 พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ
3. เป็นผู้ได้รับอนุมัติให้ใช้ประโยชน์พื้นที่สวนป่าของกรมป่าไม้ตาม มติ ครม.
กรณีพื้นที่ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ผู้มีสิทธิ์ยื่นคำขอเพื่อดำเนินการโครงการคาร์บอนเครดิต กับ อบก. ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติในข้อใดข้อหนึ่งดังนี้

1. เป็นผู้ได้รับอนุญาตตาม ม. 23 ม.28 ม.64 พ.ร.บ.อุทยานฯ
2. เป็นผู้ได้รับอนุญาตตาม ม.56 ม.67 ม.121 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

ที่มา: คณะกรรมการพลังงานหอการค้าไทย


Mostview

สูตรลับความสำเร็จ MR.D.I.Y. ทำอย่างไรให้แบรนด์ติดตลาด เป็นมากกว่าร้านขายสินค้าราคาถูก

MR.D.I.Y. ร้านจำหน่ายสินค้าจิปาถะ สินค้าไลฟ์สไตล์ทั่วไป และอุปกรณ์ตกแต่งบ้านแห่งยุคสัญชาติมาเลเซีย ที่โมเดลธุรกิจถูกออกแบบมาเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ เข้ามาตีตลาดเมืองไทย เปิดให้บริการสาขาแรกเมื่อปี พ.ศ. 2559 (ปี 2016) ที่ ศูนย์การค้าซีคอนบางแค กรุงเทพฯ

รู้จัก ตราสัญลักษณ์ “Q” การยกระดับผู้ประกอบการ ด้วย “สินค้าเกษตรมูลค่าสูง”

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” และนโยบาย “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง” เพื่อให้ผู้ประกอบการทำการเกษตรตรงตามความต้องการของตลาดหรือผู้บริโภค ใช้นวัตกรรมเพิ่มศักยภาพในการจัดการ

เปิด 6 เทรนด์ หนุนการท่องเที่ยวไทย บูมสุดขีด

การระบาดของโรคโควิด-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในหลายด้าน เช่น เน้นการดูแลด้านสุขภาพและสุขอนามัยเพิ่มขึ้น นิยมท่องเที่ยวในรูปแบบ Niche Tourism ทำให้ประเทศไทยควร Repositioning ภาคการท่องเที่ยว

ชายวัย 52 ปีหมดไฟทำงาน ตัดสินใจซื้อธุรกิจป๊อปคอร์น ปัจจุบันสร้างรายได้กว่า 3 พันล้านบาท

Charies Coristine ชายที่เคยมีความสุขกับการทำงานที่ Morgan Stanley โดยจังหวะชีวิตแบบนี้ดูจะเป็นอะไรที่ลงตัว แม้จะต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อซื้อขายหุ้นในตลาดโตเกียว และลอนดอน แต่ตัวเขาก็เริ่มหมดไฟกับสิ่งที่ทำอยู่

เปิดแนวทางเอาตัวรอดของ SME ไทย ในสภาวะเศรษฐกิจผันผวน

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC เผยถึงความท้าทายที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากรอบด้านที่ผู้ประกอบการ SME ต้องเผชิญ ทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจ กำลังซื้อทั้งในและต่างประเทศที่เปราะบาง รวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

SmartSME Line