การจัดการช่องว่างระหว่าง “ความกังวล” และ “ความท้าทาย” ในการทำธุรกิจ
ผศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะบริหารธุรกิจและผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ให้แนวคิดว่า บางครั้งในการบริหารงาน บริหารธุรกิจเราจะมีความกังวลใจแล้วในขณะเดียวกัน อีกมุมหนึ่งเราก็มองเห็นโอกาส มองเห็นความท้าทาย ดังนั้นถ้าหากว่าสองสิ่งนี้ สิ่งหนึ่งอาจจะมีภาพเป็นเชิงลบนิดหน่อย แต่ความกังวลใจ ในอีกมุมหนึ่งถ้าไม่มากเกินไปนัก ก็จะทำให้เรารู้จักระมัดระวังตัว ในขณะที่ความท้าทายทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์ มองเห็นโอกาสแล้วมีแรงผลักดันอยู่ตลอดเวลา สองสิ่งนี้ จริงๆ แล้วแทบจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ถ้าหากเรามีความท้าทายน้อย เรามีความรู้สึกว่าสิ่งที่เราทำอยู่มีความท้าทายน้อย ในขณะที่มีความกังวลเยอะ เราก็จะไม่มีความสุขในงาน แต่กลับกัน ถ้าเรามีความกังวลใจในลักษณะที่พอสมควร รู้จักระมัดระวัง ไม่ประมาท เอาเป็นว่ามีระดับพอสมควร แต่เรามองเห็นว่าการทำธุรกิจเป็นเรื่องท้าทาย เรื่องเดียวกันแต่มันกลับด้าน ก็จะทำให้การทำธุรกิจดูสนุกสนาน แล้วก็จะมีความสุขกับงานที่เราทำ
ในส่วนของแนวทางในการปรับตัวอย่างไรให้ความกังวลและความท้าทาย มีความสมดุลกันนั้น ท่านต้องยึดหลักการเมื่อสักครู่ที่ผมกล่าวไป คือเราจะกังวลใจ ขอให้เป็นแค่เพียงการระมัดระวัง ไม่ประมาทในการดำเนินธุรกิจ ในขณะที่ความท้าทาย เราต้องมองให้ไกล มองให้กว้าง ให้เห็นถึงความน่าสนใจ เห็นถึงความสร้างสรรค์ การพัฒนาของธุรกิจเราที่มันมีโอกาสจะเติบโตไป พวกนี้จะทำให้เรามีกำลังใจอยู่ตลอดเวลา แล้วก็ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วก็จะทำให้เราสามารถอยู่กับธุรกิจเราได้เรื่อยๆ ไม่รู้สึกเหนื่อยล้ากับมันมาก พอเรามีกำลังใจที่เข้มแข็ง สมองก็จะโปร่งใสไปด้วย กำลังกายก็จะมาเอง เราจะเห็นได้ว่าบางคนเขาทำไมมีพละกำลังมากมายในการที่ทำธุรกิจได้ทุกวันไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ก็เพราะเขามองเห็นอะไรบางอย่างที่มันท้าทายเขาอยู่ในตัวธุรกิจ แต่ว่าบางทีไปเร็วมากจนเกินไป หรือว่าทำมากจนกระทั่งไม่ระมัดระวัง บางทีก็พาธุรกิจเข้าสู่ความเสี่ยงเหมือนกัน เพราะฉะนั้น 2 เรื่อง น่าจะสมดุลกัน ทิ้งกันห่างมากก็ไม่ไหว เพราะถ้าไม่สมดุลกัน หากเรามีความกังวลมากเกินไป ชีวิตก็จะไม่มีความสุขในการทำงาน การพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากมัวแต่กลัว มัวแต่กังวล แต่ถ้าเรามีความท้าทายมากเกินไป โดยที่ไม่ระมัดระวัง เราจะล้มวันไหนก็ไม่รู้ เราอาจจะมีความสุข มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา แต่ไปชนิดที่ว่าไม่มีความระมัดระวังตัวเลย ไม่นึกถึงความเสี่ยง ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น ประมาทจนเกินไป พอล้ม ก็จะเกิดความเสียหายขึ้น เช่นเดียวกัน
สำหรับความท้าทายลำจับต้นๆ ของการทำธุรกิจครอบครัวนั้น ก็คือว่า ตัวเราเอง ซึ่งมีอะไรหลายๆ เรื่อง ที่กี่ยวโยงกัน ทั้งครอบครัว ทั้งเรื่องของการเป็นเจ้าของร่วมกันในกลุ่มเครือญาติ ในเรื่องของบทบาทในการเป็นผู้บริหารที่อยู่ในตัวบริษัท พวกนี้เกี่ยวโยงพัวพันกันไปหมด ถ้าถามว่าอะไรคือสิ่งที่เราจะพิจารณามากๆเลยก็คือ เราจะปรับตัวอย่างไร เพราะว่าไม่เหมือนคนตัวเปล่า ที่เวลาทำอะไรก็ดูคล่องตัวไปหมด แต่ในธุรกิจครอบครัวเวลาเราจะปรับตัวอะไรก็แล้วแต่ เราต้องนึกถึงเครือญาติเรา ต้องนึกถึงลูกหลาน ต้องนึกถึงมากว่าพวกมืออาชีพที่เป็นลูกจ้าง ดังนั้น ธุรกิจครอบครัวที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าไว้ก่อน ไม่ใช่เรื่องมาถึงตัวแล้วอยากจะปรับอยากจะเปลี่ยน ซึ่งเป็นเรื่องยากนั่นเอง
รับชมรายการ SME Smart Service ย้อนหลังได้ที่ http://www.smartsme.tv/vod_detail.php?gid=18&id=3939
สนับสนุนโดย ” TMB “