Brexit วาระเศรษฐกิจโลกที่ SME ไทยต้องจับตามอง


Brexit เป็นอีกเรื่องที่น่าจับตา เพราะส่งผลต่อเขตเศรษฐกิจอันดับ 1 ของโลก คือ EU ที่มีมากถึง 28 ประเทศ และ อังกฤษถือเป็นประเทศที่เป็นตลาดใหญ่สำหรับการค้าและการลงทุน

การอนุมัติผ่าน ครม ของอังกฤษ สำหรับ Draft deal Brexit ที่ได้มีการอนุมัติเป็นที่เรียบร้อย ทั้งนี้จะต้องรอ สภาอนุมัติอีกครั้งและวันที่อังกฤษจะประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะออกหรือไม่ออกคือ 29 มีนาคม 2019 (มีระยะเวลาเปลี่ยนถ้ายหลังจากประกาศอีก 21 เดือน)

Draft ที่ครมอนุมัติ มีจำนวนหน้ามากถึง 583 หน้า โดยนัยสำคัญสรุปภาพรวมได้ว่า

1. เรื่องการค้าขาย อังกฤษและอียู จะยังคงใช้นโยบายปลอดภาษีดังเดิม ไม่ต้องผ่านกระบวนการเหมือนประเทศอื่นที่เป็น non-EU ที่จะต้องเสียภาษี

2. เรื่องลงทุนในอาชีพ อสังหาริมทรัพย์ การศึกษา ซึ่งคนในอียู และอังกฤษ ยังคงสถานะเดิม ตัวอย่างที่เห็นชัด คือ การค้านักฟุตบอล ที่มีการเปลี่ยนทีมหมุนเวียน นโยบายและภาษีทุกอย่าง ไม่เปลี่ยนแปลง

3. อังกฤษจะต้องจ่ายค่าหย่าร้าง หรือค่าออกจากอียู เป็นจำนวน 35,000 – 39,000 ล้านปอนด์ ซึ่งถือว่ามหาศาลมากสำหรับจำนวนเงินก้อนนี้และมีหลายคนในคณะรัฐบาลเห็นชอบเรื่อง Brexit แต่ไม่เห็นชอบกับเงื่อนไขนี้

การที่อังกฤษจะออกจากอียู สิ่งที่จะได้คือ ความเป็นปัจเจก ด้านนโยบายต่างประเทศ การทหาร แต่สิ่งที่ยังคงเดิม คือ นโยบายการค้าและ กรมศุลกากร

เรื่องนี้ มีการวิจารณ์ในวงกว้างและรวมถึงความมั่นคงของ เทเรซ่า เมย์ ด้วยว่าจะอยู่เป็นนายก ต่อไปหรือไม่ เพราะมีบุคคลสำคัญหลายคน ลาออกก่อนหน้าจากความ ครึ่งๆ กลางๆ ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ และล่าสุด พรรคร่วมรัฐบาลเริ่มไม่พอใจ และอาจลุกลามถึงการถอนตัว และอาจมีการเลือกนายกคนใหม่มาแทน

สุดท้าย ข้อสรุปของ Brexit อาจจะยืดเยื้อ แต่ที่สำคัญค่าเงินปอนด์ที่เคยแข็งค่ามาก ตอนนี้อ่อนค่าลงอย่างชัดเจนเทียบกับเงินดอลล่าร์ สำหรับคนอังกฤษคงต้องขอให้ออกจาก Brexit เพราะเงินปอนด์ อาจจะกลับมาแข็งค่าได้อีกครั้ง

ผู้ประกอบการ SME ไทยที่ส่งสินค้าออกไปขายในยุโรปและอังกฤษรวมถึงผู้นำเข้าสินค้า อาจต้องเตรียมการวางแผนสำหรับการชำระสินค้า จากค่าเงินที่มีความผันผวน