ปัจจุบันเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกัญชา และกัญชง กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนต่างประเทศ หรือแม้แต่ในประเทศไทยเอง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผลิตภัณฑ์บำรุงผม ผลิตภัณฑ์น้ำหอมและเครื่องสำอางแต่งหน้า ฯลฯ
ที่ผ่านมาในต่างประเทศ “CBD” ที่มีอยู่ในกัญชง มากกว่า กัญชา ถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในวงการความสวยความงาม เนื่องจากสารชนิดนี้มีคุณสมบัติต่อต้านอาการอักเสบ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ฟื้นบำรุง และปกป้องผิวจากมลภาวะและแสงแดด ช่วยเพิ่มคอลลาเจนฟื้นฟูผิวหน้าให้เรียบเนียน
รวมทั้งกระตุ้นการผลัดเซลล์ และสร้างผิวใหม่ ลดรอยแดง รอยดำดูจางลง พร้อมเติมความชุ่มชื้นให้ผิว ทำให้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ CBD เป็นสินค้าขายดีในทั่วทุกมุมโลก
ขณะเดียวกันมีผู้ประกอบการไทยจำนวนไม่น้อยที่สนใจผลิตเครื่องสำอางดังกล่าว โดยมองเห็นโอกาสทางการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ล่าสุด อย.ปลดล็อกได้ปลดล็อกการผลิต ผลิตภัณฑ์สุขภาพจากกัญชา-กัญชง โดยสามารถนำส่วนต่างๆ ของกัญชง กัญชา ที่ไม่มีวัตถุเสพติดนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์สุขภาพประเภทต่างๆ ที่ อย. กำกับดูแล ได้แก่ ยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ ซึ่งแต่ละส่วนที่ อย. กำกับดูแลมีความแตกต่างกันในเรื่องขั้นตอนการรับขึ้นทะเบียน การรับจดแจ้ง
แนะวิธีขอ จดแจ้ง ผลิตภัณฑ์กัญชง จากอย.
สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นสินค้าที่ อย. กำกับดูแล อยู่ในระดับความเสี่ยงต่ำ เพราะเป็นสินค้าที่ใช้ภายนอก หากสามารถแสดงหลักฐานได้ว่า สินค้าดังกล่าวมีความปลอดภัย สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ อย. กำหนด ก็สามารถจดแจ้งทะเบียนสินค้ากับ อย.ได้เลย
โดยเครื่องสำอาง ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอางของ อย. คือ วัตถุที่ใช้สำหรับทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ ฯลฯ กับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์ รวมถึงการใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำความสะอาด เพิ่มความสวยงาม หรือระงับกลิ่นกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่างๆ ของร่างกายให้อยู่ในสภาพดี รวมทั้งเครื่องประทินผิวต่างๆ แต่ไม่รวมเครื่องประดับและเครื่องตกแต่งซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย
กรณีใช้น้ำมันกัญชงที่อนุญาตใส่ลงไปในยาสีฟัน จัดเป็นเครื่องสำอาง หากมีสวนล้างเข้าไปภายในร่างกาย ไม่นับเป็นเครื่องสำอางเช่นเดียวกัน เพราะวัตถุประสงค์หลักของเครื่องสำอางคือ เพื่อความสะอาดและความสวยงาม หากอ้างวัตถุประสงค์เพื่อบำบัดรักษาโรคหรือแสดงสรรพคุณส่งเสริมสุขภาพ ไม่นับว่าเป็นเครื่องสำอาง แม้จะใช้ภายนอกก็ตาม
ปัจจุบัน อย. มีหน่วยงานขึ้นมากำกับดูแลโดยตรง เรียกว่า กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือ cosmesutical ดูแลรับผิดชอบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอก สินค้าเครื่องสำอาง เพื่อความสะอาดและความสวยงาม ผู้ประกอบการสามารถขออนุญาตได้ที่กองผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยตรง
โดยการจดแจ้ง หากแจ้งถึงสรรพคุณ จะเข้าข่ายอวดอ้างถึงสรรพคุณว่า เปลี่ยนแปลงร่างกายได้ เพราะเครื่องสำอางใช้แล้ว ทำให้ลักษณะการมองดูดีขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น
เงื่อนไขการกำหนดผลิตภัณฑ์กัญชง
อย.กำหนดว่า เมล็ดกัญชงหรือสารสกัดกัญชงที่นำมาใช้ในเครื่องสำอาง มี สาร THC ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 0.2 เปอร์เซ็นต์ กรณีใช้ในเครื่องสำอาง กลุ่ม soft gelatin capsule เช่น น้ำมันมาใส่ในแคปซูลนุ่มๆ แล้วบีบทาเฉพาะจุด อาจมีการเสี่ยงของผู้บริโภคเกิดขึ้น จึงลดระดับ THC ในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ไม่เกิน 0.001 เปอร์เซ็นต์
รวมถึงผลิตภัณฑ์ในช่องปากและอื่นๆ เช่น ยาสระผม ยาระงับกลิ่นกาย ใส่น้ำมันเมล็ดกัญชงได้ แต่ THC ต้องน้อยกว่า 0.001 เปอร์เซ็นต์ ต้องใช้ภายนอกเท่านั้น จึงอยู่ในหลักเกณฑ์นี้ นอกเหนือจากนี้จัดอยู่ในกลุ่มยา
การติดฉลากเครื่องสำอางจากกัญชง
หลัง อย. อนุญาตให้มีการจดแจ้งทะเบียนเครื่องสำอางแล้ว ต้องเพิ่มคำเตือนในฉลากเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของเมล็ดกัญชง ซึ่งสามารถใช้ใน 2 รูปแบบ คือ รูปแบบทั่วไป เช่น แชมพู สบู่ ครีมบำรุงผิว ลักษณะนี้จะมีคำเตือน 2 อย่าง คือ ผลิตภัณฑ์นี้อาจก่อให้เกิดการแพ้ได้หากมีอาการผิดปกติขึ้นกรุณาหยุดใช้และปรึกษาแพทย์โดยด่วน