ดร.มงคล ลีลาธรรม อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ SME D Bank และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารออมสิน
ปัจจุบันเป็น ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) เป็นนักบริหารมืออาชีพที่มีประสบการณ์คร่ำหวอดในวงการเงินการธนาคาร และวงการธุรกิจทั้งเล็ก กลาง ใหญ่
ข้อคิดความเห็นของเขาจึงน่าติดตามอย่างยิ่ง
ผมเองได้เห็นข่าวจาก Smart SME ที่ลงเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับล้งไทยประสบปัญหาล้งต่างชาติเข้ามาแย่งซื้อมะขามตัดหน้าคนไทย เลยมีความเห็นเรื่องนี้ 2 ประเด็น ประเด็นแรกอยากแยกแยะให้เห็นว่าเป็นปัญหาอะไร และประเด็นที่สองคือแนวทางเรื่องนี้จะแก้ไขอย่างไร
ประเด็นแรก ทุกคนคงก็คงทราบอยู่แล้วว่ามะขามในจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นมะขามที่มีคุณภาพ มีชื่อเสียงมาก ขั้นตอนการซื้อมะขามเริ่มต้นจากชาวสวนจะมีคนมาเหมาซื้อที่สวนผลไม้โดยตรงแล้วหลังจากนั้น คนที่เหมาสวนนั้นก็อยู่ภายใต้ความดูแลของพ่อค้าแม่ค้าคนกลางที่เรียกว่าล้งไทย ซึ่งล้งไทยก็จะรวบรวมมะขามส่งไปที่ห้องเย็นเก็บผลไม้ เพราะว่า ปกติแล้วมะขามจะออกเป็นฤดูกาล ปริมาณการใช้ผลผลิตของมะขามที่นำไปแปรรูปของผู้ประกอบการที่จะทำหลายประเภทและตามที่ผู้บริโภคต้องการรวมถึงการส่งออกผ่านทางล้งต่างชาติ ผู้ประกอบการนั้นก็นำมะขามที่เก็บในห้องเย็นมาทยอยแปรรูปเกือบทั้งปี ผ่านกระบวนการค้าส่งค้าปลีกและกระจายตัวสินค้าไปยังผู้บริโภคหรือส่งออกไปยังต่างประเทศ
หรือแม้กระทั่งการที่มีนักท่องเที่ยวสมัยก่อน โดยเฉพาะจีนก็เป็นที่สนใจมาก เพราะมะขามของเราเป็นเครื่องเทศที่สามารถใช้งานได้ดี รวมถึงประเทศเอเชีย เช่นอินเดียหรือตะวันออกกลางนั้น มะขามก็เป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่อยู่ในความต้องการ ที่ผ่านมานั้นก็มีการลำดับการจัดซื้อเป็นตามลำดับ จากสวนก็ผ่านทางผู้เหมาซื้อสวนผ่านพ่อค้าแม่ค้าคนกลางหรือล้งไทยแล้วก็ไปที่ห้องเย็น จากนั้นก็ส่งขายให้กับล้งต่างชาติ หรือผู้ประกอบการที่จะนำไปแปรรูป แต่ปัจจุบันที่ได้รับทราบมา ล้งต่างชาติเริ่มจะข้ามขั้นตอน 2 3 4 ดังที่ว่า สามารถติดต่อไปที่ชาวสวนผ่านตัวแทนคนไทย โดยอาศัยช่วงนี้ที่เป็นวิกฤตทางการเงินทำให้ล้งต่างชาติสามารถวางเงื่อนไขที่ดีกว่าล้งไทย ก็ไปเหมาสวนมะขามหมดสวน
จนกระทั่งพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง หรือห้องเย็นก็ไม่สามารถเก็บผลผลิตมะขามได้เลย ลักษณะการเหมาสวนของล้งต่างชาตินั้นก็เหมาทุกเกรด ทุกขนาด ทุกรสชาติ แล้วก็ส่งขายไปยังต่างประเทศโดยผ่านประเทศเพื่อนบ้าน เชื่อไหมครับว่าสามารถนำผลผลิตออกมาผ่านโรงงาน ราคาที่ขายในต่างประเทศถูกกว่าคนไทยถึงร้อยละ 20 – 30 % เพราะว่าฐานการผลิตและโรงงานของเขาครบวงจร ซึ่งได้เปรียบในเรื่องของโครงสร้างต่าง ๆ ผู้ประกอบการไทยนั้น ก็ประสบปัญหาไม่มีมะขามหรือวัตถุดิบ และราคาก็สูงขึ้น เพราะต้องไปแย่งชิงกับล้งต่างชาติจึงทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและมีการร้องเรียนอย่างที่เป็นข่าว
สิ่งที่เห็นก็คือล้งต่างชาตินั้นไม่ได้จดทะเบียน ไม่ได้เสียภาษีแถมมีเงินทุนสามารถซื้อโดยตรงจากสวนได้ในราคาที่สูง และในปัจจุบันพ่อค้าแม่ค้าคนไทยประสบปัญหาเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจไม่สามารถที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ และที่สำคัญมะขามนั้นไม่สามารถเอาเป็นหลักประกันของเงินกู้ธนาคารได้ ปัจจุบันก็เลยทำให้พ่อค้าแม่ค้าคนกลางของไทยเราถูกกระทบกระเทือน
ประเด็นที่สอง ผมอยากให้มองว่าลักษณะดังกล่าวนั้น จริง ๆ แล้วมันเป็นการบริหารจัดการที่เราเรียกว่าห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งจะถูกสร้างหรือพัฒนา ตั้งแต่ต้นน้ำ คือชาวสวน หรือล้งที่เป็นคนติดต่อ รวมไปถึงห้องเย็นที่เป็นโกดัง หรือแม้แต่ผู้ประกอบการจนไปถึงคลังสินค้า รวมแม้กระทั่งการแปรรูปผลผลิตต่าง ๆ เพราะฉะนั้นการจัดการห่วงโซ่ดังกล่าว คนไทยไม่เคยถูกสร้างหรือพัฒนามาก่อน และข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข่าวสารที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบจึงทำให้การบริหารจัดการเมื่อพบกับปัญหาแล้วถึงมาแก้กันทีหลัง จึงไม่สามารถจะจัดการทั้งข้อมูล การเงิน หรือสามารถเพิ่มมูลค่าได้อย่างเป็นธรรมให้แก่ผู้ที่มีส่วนร่วมหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวซึ่งกันและกัน และลดการผันผวนของราคาและตลาดรวมถึงกำลังการผลิตของแต่ละคนที่มีอยู่ทั้งห้องเย็นไปถึงการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศหลักของเรา และรวมไปจนถึงการแปรรูปต่าง ๆ
เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จึงเป็นการบริหารลักษณะที่เราเรียกว่าห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเน้นเศรษฐกิจที่เป็นฐานรากของชาวสวน กลุ่มเปราะบาง พ่อค้าแม่ค้าที่มีการเงินค่อนข้างอ่อนแอในช่วงวิกฤตนี้ การจัดการในเรื่องนี้จึงเป็นการจัดการที่ใช้ทรัพยากรถูกบิดเบืยนหรือถูกผูกขาดได้ด้วยคนที่มีอำนาจต่อรองมากกว่า เช่น มีเงินทุน และสิ่งที่สำคัญใครที่เข้าใกล้ตลาดมาก ก็สามารถจ้างจุดดุลภาพความไม่สมดุลด้านราคาของห่วงโซ่นั้นในเรื่องการจัดหา การผลิต และการแปรรูป แม้กระทั่งรักษามาตรฐานคุณภาพที่เหมาะสม ในการกำหนดวัตถุดิบ เพื่อบริการหรือเพื่อประสิทธิภาพได้
ผมคิดว่าช่วงที่ประเทศไทยประสบปัญหาการเงิน จึงเป็นปัญหาเรื่องใหญ่ จริง ๆ แล้วมะขามมันสามารถที่จะสร้างหลักประกันทางธุรกิจได้ เพราะว่าช่วงนั้นตัวผมเองเคยมีประสบการณ์ช่วงทุเรียนตกต่ำ 5- 6 ที่แล้ว ตอนนั้นทุเรียนที่ชาวสวนขายก็กิโลกรัมละ 40 บาท ผมเคยออกสินเชื่อเครดิตการค้าเพื่อให้ห้องเย็นสามารถเก็บทุเรียนได้ถึง 9 เดือน จากเดิมที่เราเคยขาย ทยอยขายได้ ก็ทำให้ปริมาณการซื้อในตลาดเกิดดุลภาพด้านเรื่องราคา
เรื่องนี่จึงเป็นเรื่องที่ต้องเป็นเรื่องบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ถูกสร้างและพัฒนา เรามีผลผลิตมากที่ต้นน้ำ เราก็เอาไปเก็บในห้องเย็นได้เยอะ แล้วห้องเย็นนั้นก็ถูกสนับสนุนด้วยแหล่งเงินทุนผ่านทางล้งหรือคนกลางที่เหมาสวนต่าง ๆ ได้ อย่าไปขายก่อนที่วัตถุดิบจะสุกงอมหรือมีคุณภาพจึงจำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการแบบที่เรียกว่ามีข้อมูลข่าวสารมาถึงกระบวนการในการจัดการเรื่องนี้
ผมคิดว่าไม่ใช่แค่เรื่องมะขามอย่างเดียวแต่เป็นเรื่องผลิตภัณฑ์ผลไม้เกือบทุกชนิดของบ้านเรา ดังจะเห็นตามข้างทาง มะพร้าวลูกละ 10 บาท มังคุดขาย 5 กิโลกรัม 100 บาท และผมก็เชื่อว่าทุเรียนที่กำลังจะออกเดือนหน้า ทราบมาว่าจะเป็นผลผลิตที่มากที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยผลิตทุเรียนมา เมื่อ 6 – 7 ปีที่แล้วมีแรงจูงใจที่ทำให้ปลูกทุเรียนและพันธุ์พืชใหม่ ๆ เกิดขึ้นมามาก ก็เป็นเรื่องที่จะต้องบริหารห่วงโซ่อุปทานของเศรษฐกิจฐานรากที่ถูกสร้างและพัฒนาและต้องมีเงินทุนเข้าไปในทุกห่วงโซ่ ก็จะทำให้เกิดมูลค่าและแบ่งปันในราคาที่มันเหมาะสมได้
เรื่องที่เกี่ยวข้อง