12 เทรนด์มาแรง ผู้บริโภคตลาดตะวันตก


เทรนด์ที่กระแสแรงที่สุดในปีนี้ คือ อาหารที่มีวัตถุดิบหลักจากธรรมชาติและดีต่อสุขภาพ ซึ่งอยู่ใน ผลิตภัณฑ์ที่มีความสะดวกในการบริโภค โดยอาหารที่มีส่วนผสมกลุ่มนี้จะยังคงได้รับความนิยมสูง แต่มีข้อ แ น ะ นำว่า ผู้ป ร ะ ก อ บ ก า ร ไ ม่ค ว ร ใ ช้คา ว่า“natural” ระบุที่ฉลาก เพราะอาจจะเป็นอุปสรรคเนื่องจากมีข้อกาหนดด้านนี้มากขึ้น ผู้ประกอบการต้องหาวิธีสื่อสารแบบอื่นๆ ที่จะทาให้ผู้บริโภครับรู้ถึงส่วนผสมจากธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพ และควรเลือกใช้ส่วนผสมเพียงไม่กี่ชนิดและง่ายให้ความรู้สึกเหมือนทาเองที่บ้านมากกว่าโรงงาน กระบวนการผลิตไม่ซับซ้อนแสดงฉลากที่สะอาดตา ดูชัดเจน

เทรนด์ที่ 2 : ผลิตภัณฑ์นมยุค 2.0 หลังจากที่ยุค 1.0เน้นผลิตภัณฑ์ฟังก์ชันนัล พวก plant sterol โอเมก้า- 3 กลูโคซามีน โปรไบโอติก ฯ ที่ส่วนใหญ่เติมเข้าไปเพื่อประโยชน์เฉพาะต่อสุขภาพ ซึ่งบางส่วนผสมก็ประสบความสาเร็จ แต่บางสารก็ไม่ ในยุคต่อจากนี้จะเน้นเรื่องจากธรรมชาติ ดังนั้นสสารอาหรที่จะเพิ่มเข้าไปจะต้องง่ายต่อการยอมรับของผู้บริโภคและใกล้เคียงธรรมชาติ รูปแบบผลิตภัณฑ์ จะต้องเน้นความแปลกใหม่ ซึ่งอาจเป็นสินค้าดั้งเดิมของภูมิภาคหนึ่งแต่นำมาแนะนาในอีกภูมิภาคหนึ่ง โดยปรับรสชาติให้ตรงกับตลาดใหม่มากขึ้น เช่น กระแสกรีกโยเกิร์ตในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้สิ่งที่ผู้บริโภคคาดหวังในนม คือการเป็นแหล่งโปรตีนสูง ซึ่งน่าจะเป็นส่วนผสมที่นำมาใช้กันมากขึ้นเพื่อภาพลักษณ์ด้านสุขภาพในสินค้ากลุ่มนี้

เทรนด์ที่ 3 : ผลิตภัณฑ์โปรตีนสูง ตลาดผลิตภัณฑ์ให้โปรตีนสูงยังมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง โดยเดิมเน้นกลุ่มที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ ได้ขยายมาสู่ผู้บริโภคทั่วไปลักษณะผลิตภัณฑ์ที่สะดวกในการบริโภค และรสชาติดีขึ้นทำให้ได้รับความนิยมในวงกว้างมากขึ้น ทั้งในรูปของแสน็คบาร์แทนมื้ออาหารและผลิตภัณฑ์นมต่างๆ ภาวะกดดันด้านราคาเนื้อสัตว์ที่สูงขึ้น ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้จะมีทิศทางเติบโตมากขึ้น และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี แหล่งโปรตีนใหม่ๆจะมีทางเลือกมากขึ้นเช่น จากสาหร่าย

เทรนด์ที่ 4 : แหล่งพลังงาน ผลที่ผู้บริโภครับรู้ได้ทันทีเมื่อบริโภคเข้าไปจะทำให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เครื่องดื่มให้พลังงาน เป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเทรนด์นี้ โดยสามารถกำหนดราคาแบบพรีเมียมได้ ตราบที่เห็นผลได้ทันทีเมื่อดื่ม โดยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยังสามารถขยายโอกาสได้อีก เช่น การทำให้คาเฟอีนออกฤทธิ์อย่างช้าๆ การให้พลังงานปลดปล่อยอย่างช้า สินค้าสาหรับกลุ่มผู้สูงอายุ ไม่เติมน้าตาล ไม่มีแคลอรี ธรรมชาติรูปแบบใหม่

เทรนด์ที่ 5: น้าหนักตัวเพื่อสุขภาพดี เดิมศัพท์การตลาดจะใช้ weight management ในปีนี้จะปรับมาเป็น weight wellness สินค้าเพื่อการดูแลน้าหนัก ในอดีต อาจจะไม่ใช่อาหารเสียทีเดียว และเน้นเรื่องควบคุมน้าหนัก และอาศัยกลยุทธ์การตลาด จนไม่ได้คำนึงถึงประเด็นด้านสุขภาพ ขณะที่ผู้บริโภคก็ยังมีความต้องการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม พัฒนาการด้านโปรตีนจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์กลุ่ม sport nutrition ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนคุณภาพสูง ช่วยเรื่องการดูแลน้าหนักให้เหมาะสมได้

เทรนด์ที่ 6: อาหารว่าง การรับประทานอาหารว่าง สามารถทาได้ทุกโอกาส และทุกรูปแบบอาหารและเครื่องดื่มที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมื้อหลักอาหารง่ายๆ ระหว่างเดินทาง หรือช่วงเวลาพักผ่อน แต่ที่สาคัญคือต้องสะดวก บรรจุสาหรับพอดี 1 คน กินได้ทุกโอกาส มีประโยชน์ ใส่ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างโอกาสในการรับประทานให้ไม่ซ้าซากจาเจ ว่าจะเป็นการเปลี่ยนรูปจากผลิตภัณฑ์เดิมเป็นรูปทรงใหม่ๆบรรจุภัณฑ์ใหม่ ส่วนผสมใหม่ วิธีจาหน่าย หรือการจัดส่ง ล้วนยังมีโอกาสทั้งสิ้น

เทรนด์ที่ 7: slow energy ในยุคต่อจากนี้ คาว่า slow-release , sustained energy จะปรากฎมากขึ้นในวงการอาหาร โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ปลดปล่อยพลังงานอย่างช้าๆ จะเหมาะกับสุขภาพของผู้บริโภคอีกกลุ่มที่ต้องการควบคุมระดับน้าตาลในเลือด โดยคำสาคัญที่ควรใช้ในการสื่อสาร คือ healthy blood sugar / blood sugar control / blood glucosecontrol / low glycemic index /slow energy release

ค่าดัชนีน้าตาล (glycemic index, glycaemic index) หรือ GI เป็นหน่วยวัดผลของคาร์ดบไฮเดรตต่อระดับน้าตาลในเลือด คาร์โบไฮเดรตจะแตกตัวอย่างรวดเร็วในระหว่างการย่อยอาหาร ให้กลูโคสเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตอย่างรวดเร็วเรียกว่ามีค่า GI สูง; คาร์โบไฮเดรตจะแตกตัวอย่างช้าๆ ค่อยๆให้กลูโคสเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตอย่างสม่้าเสมอ เรียกว่ามีค่า GI ต่้า ส้าหรับคนส่วนมาก อาหารที่มีค่า GI ต่้ามีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

เทรนด์ที่ 8: ลดปริมาณน้าตาล ผู้บริโภคได้รับข้อมูลจากงานวิจัยเกี่ยวกับผลเสียของการบริโภคอาหารที่มีน้าตาลมากขึ้น ทำให้พยายามลดการบริโภคอาหารรสหวาน แต่น้าตาลเทียมก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักสาหรับอุตสาหกรรม ความพยายามในการปรับสูตรอาหารให้ใช้น้าตาลน้อยลงแต่คงรสชาติความอร่อยจึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย

เทรนด์ที่ 9: ได้รับอนุญาตให้หลงระเริง หมายความว่าผู้บริโภคต้องการดูแลสุขภาพ แต่ก็ยังมีความสุขที่ได้รับประทานอาหารที่โปรดปรานถึงแม้จะเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยดีต่อสุขภาพ เช่น ช็อกโกแลต เบเกอรี่ ดังนั้นจึงเป็นกลยุทธ์ที่ผู้ผลิตพยายามปรับผลิตภัณฑ์ของตนให้รู้สึกว่าดีต่อสุขภาพเพื่อให้ผู้บริโภครับประทานได้อย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ เช่น ผลิตภัณฑ์ dark chocolate มีสารจากธรรมชาติทีมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยอดขายของช็อกโกแลต 100% พรีเมี่ยม เติบโตถึง 25% แม้ในช่วงเศรษฐกิจไม่ค่อยดี นั่นคือผู้ผลิตต้องพยายามค้นหาข้อดีและลบประเด็นด้อยของผลิตภัณฑ์ที่มีภาพว่าไม่ดีต่อสุขภาพลง สร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และปรับรสชาติให้อร่อยแต่ยังดีต่อสุขภาพ อาจจะเป็นการปรับขนาดบริโภคและแคลอรี่ที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้รู้สึกผิดในการบริโภค

เทรนด์ที่ 10: ปราศจาก… กลูเตน ซัลไฟต์ แล็กโทสสารก่อภูมิแพ้ ต่างๆ ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ยังมีที่ว่างในตลาด ที่ผู้บริโภคยังมีความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ

เทรนด์ที่ 11: อาหารส้าหรับผู้สูงอายุ ถึงแม้จะเป็นตลาดที่ยังไม่ใหญ่มากนักในหลายประเทศ แต่เป็นตลาดที่มีมูลค่าสูง เพราะเป็นกลุ่มที่มีกาลังซื้อ และมีแนวโน้มจะเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศในอีกหลายประเทศทั่วโลกในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ การปรับโภชนาการ เนื้อสัมผัส โดยอิงข้อมูลวิทยาศาสตร์รองรับเลือกใช้สารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างหรือแก้ปัญหาเฉพาะด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ หากผู้บริโภคสูงอายุได้กลายเป็นลูกค้าแล้ว คุณจะได้ลูกค้าที่มีความภักดีต่อ

แบรนด์ถึงกว่า 80% ซึ่งมีอัตราส่วนที่สูงกว่าคนวัยอื่นๆ

เทรนด์ที่ 12: อาหารส้าหรับเด็ก อาหารที่มีคุณค่าเจาะจงสาหรับวัยเด็ก ใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติพัฒนาสินค้ากลุ่มใหม่ๆ ดีต่อสุขภาพ และเลือกวิธีสื่อสารถึงพ่อแม่ในรูปแบบที่เข้าถึง เป็นกุญแจสู่ความสาเร็จสาหรับผลิตภัณฑ์สาหรับเด็ก

และนี่คือเทรนด์ 12 เรื่องของผู้บริโภคในปี2557 จากมุมมองของ บริษัท New Nutrition business ผู้จาหน่ายส่วนผสมอาหาร