เว็บไซต์ Smartsme.tv ทำการสำรวจความคิดเห็นของ SME ต่อสภาพการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน และความคิดเห็นต่อเรื่องราวต่าง ๆ ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับ SME ผลการสำรวจพบว่า SME เชื่อมั่น ในอีก 3 เดือนข้างหน้าสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจจะดีขึ้น และมีการวางเป้าหมายและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจชัดเจนมากขึ้น ส่วน PR รัฐฯ สอบตกในเรื่องการประชาสัมพันธ์
ในการสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจออนไลน์จากผู้ตอบแบบสอบถามทั่วประเทศ จำแนกเป็นธุรกิจการค้า 35.00% ธุรกิจการบริการ 48.00% และการผลิต 63.00% จากการตอบแบบสอบถามออนไลน์ พบว่า SME เชื่อมั่น ในอีก 3 เดือนข้างหน้าสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจจะดีขึ้น แม้ความคิดเห็นของเหล่าผู้ประกอบการ SME ในด้านสภาพการณ์การทำธุรกิจปัจจุบันจะมีความเห็นว่า ธุรกิจของตนเองค่อนข้างติดลบ โดยค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 50 แต่พวกเขายังมีความเชื่อว่า อีก 3 เดือนข้างหน้าเศรษฐกิจอาจจะดีขึ้นกว่านี้อีกแน่นอน
จากภาพแสดงให้เห็นว่า ในด้านสภาพคล่องทางการเงินปัจจุบันของ SME ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 49.00 ซึ่ง คาดว่าอีก 3 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้นที่ค่าเฉลี่ย 56.00 ด้านหนี้สินโดยรวม SME มีหนี้สินรวมอยู่ที่ 42.50 และในอีก 3 เดือนจะ SME คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 57.00 ส่วนยอดขายรวมในปัจจุบัน SME ประเมินค่าเฉลี่ยของธุรกิจตนเองอยู่เพียง 43.50 และหวังว่าอีก 3 เดือนยอดขายจะเพิ่มมากขึ้นที่ 57.00
สำหรับผลกำไรขั้นต้นปัจจุบันอยู่ที่ 48.00 ของค่าเฉลี่ยทั้งหมด และประเมินว่าในอีก 3 เดือนจะดีขึ้นถึง 60.00 แต่กำไรสุทธิปัจจุบัน SME ประเมินตนเองมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 43.00 และในอีก 3 เดือนข้างหน้าประเมินว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเพียง 43.50 เท่านั้น ส่วนการลงทุนเพิ่ม หรือการขยายกิจการ ในปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 48.00 พร้อมทั้งประเมินว่าในอนาคตจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นที่ค่าเฉลี่ย 57.00
ซึ่งเนื้อหาข้างต้น สอดคล้องกับความคิดเห็นเฉลี่ยเกี่ยวกับสภาพในองค์กร จากการสำรวจพบว่า SME มีการวางเป้าหมายและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากแต่เดิมมา SME มักมีการทำธุรกิจแบบกำไรวันต่อวัน เป็นการทำธุรกิจแบบขายได้เรื่อย ๆ ส่วนมากไม่มีกำหนดเป้าหมาย และวางแผนกลยุทธ์ในอนาคตชัดเจนนัก แต่จากการสำรวจที่ผ่านมาของ Smartsme.tv แสดงให้เห็นว่า SME มีการนำระบบการจัดการ รวมถึงกลยุทธ์ต่าง ๆ มาใช้ในการทำธุรกิจ โดยสามารถสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้
– 84.00 มีการนำกลยุทธ์ และวางแผนงานตามเป้าหมายธุรกิจในอนาคต
– 83.50 มีการกำหนดเป้าหมายธุรกิจในอนาคตอย่างชัดเจน
– 56.00 ให้ความสนใจในการลงทุนด้านการตลาด
– 52.00 ให้ความสนใจการลงทุนในกิจกรรมด้านไอที และนวัตกรรมใหม่ ๆ
– 51.00 มีการลงทุนด้านการพัฒนาบุคลากร และองค์กร
– 44.50 วางแผนลดความเสี่ยงด้านการขาดแคลนปัจจัยการผลิตในอนาคต
– 34.50 พยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำให้รายได้ในอนาคตของธุรกิจหดตัว
อย่างไรก็ดีการพัฒนาธุรกิจของ SME ในประเทศล้วนแล้วย่อมมีการสนับสนุนจากภาครัฐ หากใครติดตามข่าวสาร จะพบว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริม ผู้ประกอบการ SME ใหม่ ๆ ออกมามากมาย แต่กลับสวนทางกับความคิดเห็นเฉลี่ยต่อนโยบายภาครัฐฯ ในด้านการรับรู้ เข้าถึง และความต้องการที่ Smartsme.tv ได้ทำการสำรวจมา เพราะพบว่า PR รัฐฯ สอบตกในเรื่องการประชาสัมพันธ์
จากการสำรวจออนไลน์โดย Smartsme.tv ผู้ประกอบการ SME มีการแสดงความคิดเห็นต่อนโยบายภาครัฐฯ ในเรื่องต่าง ๆ สามารถสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้
ด้านเงินทุน |
ด้านการให้ความรู้
|
ด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ
|
การรับรู้ 43.50
|
การรับรู้ 43.00
|
การรับรู้ 40.00
|
การเข้าถึง 28.50
|
การเข้าถึง 35.50
|
การเข้าถึง 32.00 |
ความต้องการ 69.50
|
ความต้องการ 71.00
|
ความต้องการ 68.50
|
ด้านตลาดสินค้าภายในประเทศ
|
ด้านตลาดการส่งออก
|
ด้านกฎระเบียบ และกฎหมายที่เป็นอุปสรรคทางการค้า |
การรับรู้ 44.00
|
การรับรู้ 32.50
|
การรับรู้ 40.00
|
การเข้าถึง 33.50
|
การเข้าถึง 28.50
|
การเข้าถึง 35.50
|
ความต้องการ 69.50
|
ความต้องการ 60.50
|
ความต้องการ 61.50
|
ในทิศทางกลับกัน ผู้ประกอบการ SME เองควรทำการศึกษา หรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้วยตนเอง เพราะรัฐบาลเองก็มีการปล่อยนโยบาลช่วยเหลือ SME ออกมาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ยกตัวอย่างล่าสุดกระทรวงการคลังได้เสนอแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ทั้งด้านเสริมสภาพคล่อง และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ
การสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า “SME รับรู้นโยบายน้อย เข้าถึงต่ำ แต่มีความต้องการที่สูงมาก” เป็นไปได้หรือไม่ว่ารัฐบาลมีการประชาสัมพันธ์นโยบายที่น้อยเกินไป หรืออีกประการหนึ่งคือ นักประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลอาจเลือกช่องทางการสื่อสารได้ไม่ตรงกับพฤติกรรมของ SME ในจุดนี้รัฐบาลอาจต้องทบทวนการประชาสัมพันธ์ของตนเองใหม่อีกครั้ง เพื่อประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเต็มที่ เพราะความต้องการในการพัฒนาธุรกิจของ SME นั้นสูงพอทะลุปรอท แต่การรับรู้และการเข้าถึงกลับมีอยู่เพียงน้อยนิด
โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยในช่วงแรกเป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ด้วยการจูงใจให้ธนาคารของรัฐ ปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ SME มากขึ้น รวมถึงการใช้มาตรการภาษี เข้ามาช่วยในการลดต้นทุนให้กับ SME เพิ่มเติม เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ส่วนมาตรการ ช่วงที่ 2 เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ SME โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ทำการหาตลาดผ่านสื่อออนไลน์ หรือ E-commerce เพื่อในอนาคตจะกลายเป็นช่องทางในการดำเนินธุรกิจของ SME โดยเฉพาะธุรกิจรายเล็ก
หากทั้งสองภาคส่วน กล่าวคือผู้ประกอบการ SME และรัฐบาลเอง ไม่นิ่งนอนใจในการสื่อสารกัน จะเป็นการรวมพลังที่ยิ่งใหญ่ และเป็นอีกแรงในการผลักดันพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้แข็งแกร่ง และมีกำลังต่อสู้ในทุกสภาวะที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน