ตลาดผู้สูงวัยมาแรง SME ไทยอยากรวยต้องปรับ


ในยุคที่สังคม ผู้สูงอายุ เติบโตทุกมุมโลกจนถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีแรงผลักดันการเติบโตทางธุรกิจไม่น้อยไปกว่ากลุ่มวัยรุ่นส่งผลให้บรรดาธุรกิจหลายๆ ธุรกิจต่างก็ตระหนักและเริ่มมีการปรับตัว เพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าวนี้เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วงหลายปีมานี้ ซึ่งประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Societies)แล้วตั้งแต่ปี 2548 และกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged Societies) ภายในปี 2567 หรือในอีก 6 ปีข้างหน้า

จากงานวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การที่ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ของไทยจะเจาะตลาดผู้สูงอายุได้นั้นสิ่งสำคัญแรกคือ ผู้ประกอบการจำ เป็นต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมการใช้สินค้าและบริการของผู้สูงอายุก่อนว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้พัฒนาสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าดังกล่าว โดยจะต้องเน้นคุณภาพและมาตรฐาน มีการออกแบบหรือดีไซน์มาให้สามารถใช้งานได้ง่ายและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ เพราะหากสินค้ามีความยุ่งยากหรือซับซ้อนในการใช้งานมากเกินไป

และข้อพึงระวังคือ แม้ว่าจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร แต่จำนวนผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ยังมีกำลังซื้อหรือมีรายได้ที่ไม่สูงนักเฉลี่ยประมาณ 20,000-40,000 บาทต่อปี2 ในขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุที่มีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 3 แสนบาทขึ้นไปต่อปี (ยังไม่รวมรายได้ส่วนตัวของลูกหลาน) คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 4.0 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด ดังนั้น หากสินค้าและบริการที่เจาะตลาดผู้สูงอายุมีราคาที่สูงมากเกินไป ก็อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการของผู้สูงอายุได้

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการ SME ไทย อาจจะเผชิญความท้าทายในการแข่งขันกับสินค้าที่นำ เข้าจากประเทศคู่แข่งที่สำคัญ โดยเฉพาะจีน ซึ่งเน้นแข่งขันทางด้านราคา และญี่ปุ่น ซึ่งเน้นการแข่งขันทางด้านนวัตกรรมและฟังก์ชันการใช้งานที่ง่ายและสะดวก รวมถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ในประเทศที่เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจและมีการปรับตัวเช่นกัน

เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันได้ การคำนึงถึงคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าที่มาพร้อมกับการใช้งานที่ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และสามารถตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้สูงอายุ รวมถึงมีราคาที่เหมาะสม จึงเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญในการเจาะตลาดผู้สูงอาย

การเจาะตลาดผู้สูงอายุอาจจะไม่ได้เฉพาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้สูงอายุโดยตรงเพียงอย่างเดียว (B2C) แต่ยังหมายถึงโอกาสในการเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าที่เป็นภาคธุรกิจที่สำคัญ(B2B) ด้วย เช่น กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาล/คลินิกรักษาพยาบาล ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ที่มีการปรับตัวรับกับการขยายตัวของลูกค้ากลุ่มดังกล่าว

นอกจากจะให้ความสำคัญกับตลาดผู้สูงอายุในไทยแล้วยังต้องคำนึงถึงผู้สูงอายุชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาพำนักและท่องเที่ยวในประเทศไทยซึ่งปัจจุบัน มีผู้สูงอายุจากต่างประเทศที่ถือวีซ่าพำนักระยะยาวในไทยประมาณ 68,000 คน รวมถึงโอกาสในการขยายตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดอาเซียนได้ด้วย

สำหรับกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจสามารถแบ่งเป็น 5 ธุรกิจ ดังนี้

  1. ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ  โดยความต้องการของผู้สูงอายุ คือ อาหารที่มีไขมันต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอล น้ำตาลน้อยหรือไม่มีเลย และมีส่วนประกอบที่ป้องกัน ลดความเสี่ยงโรค
  2. ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ หมายรวมถึง วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในบ้าน ซึ่งต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพ ตัวอย่างเช่น เตียงนอนที่สามารถปรับระดับความสูงต่ำได้ เก้าอี้ไม้ที่มีพนักพิง เป็นต้น
  3. ธุรกิจเกี่ยวกับความงาม แม้ว่าจะเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว แต่ก็ยังอยากดูแลตัวเองให้ดีอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเครื่องแต่งกาย รวมถึงเครื่องสำอางประเภทออร์แกนิกที่ผลิตมาจากธรรมชาติ
  4. ธุรกิจบริการสุขภาพ กลุ่มผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย ไม่สามารถดูแลตนเองได้มีเยอะพอสมควร ซึ่งต้องมองหาสถานบริการให้มาดูแลตามที่อยู่อาศัย โดยการบริการต้องมีคุณภาพ ผู้ประกอบการต้องคัดกรองบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีจิตเมตตา รักในงานบริการ
  5. ธุรกิจนำเที่ยวผู้สูงวัย กลุ่มผู้สูงอายุยังต้องการสังคมเพื่อพบปะเพื่อนฝูงร่วมพูดคุยสังสรรค์กัน หลังจากตรากตรำทำงานมาอย่างหนักตลอดเวลาที่ผ่านมา ดังนั้นการจัดทริปไปเที่ยวถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจ ผู้สูงอายุจะมีรสนิยมท่องเที่ยวในเชิงศิลปวัฒนธรรม ทำบุญไหว้พระ ตักบาตร ฟังเทศน์ ตามวัดวาอารามต่างๆ สวดมนต์ ก็เป็นที่นิยมมากในยุคนี้

ทั้งนี้ การเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็อาจจะทำ ให้พฤติกรรมของผู้สูงอายุเปลี่ยนแปลงไป ประเภทหรือลักษณะของสินค้าและบริการที่ต้องการก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบการควรที่จะมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

 

ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย