“ไทย” ติดอันดับสองของโลก เป็นประเทศที่ดีที่สุดในการฟื้นตัวจากโควิด-19


ประเทศไทย ติดอันดับ 2 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย ในการเป็นประเทศที่ดีที่สุดในการฟื้นตัวจากโควิด-19 จาก 184 ประเทศทั่วโลก จากการจัดอันดับ Global COVID-19 Index

จากความร่วมมือและปฎิบัติตามมาตรการของรัฐบาลอย่างเคร่งครัดของคนไทย ส่งผลให้ ประเทศไทยติดอันดับ 2 จาก 189 ประเทศที่ดีที่สุด ในการฟื้นตัวจากโควิด-19 จากข้อมูลดัชนีโควิด-19 ระดับโลก (Global COVID-19 Index) ซึ่งจัดทำโดยองค์กรระดับต้น ๆ ของมาเลเซียและองค์การอนามัยโลก

โดยองค์กร Global COVID-19 หรือ (GCI) พัฒนาโดย PEMADU Assciates ด้วยความร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม (MOSTI) ประเทศมาเลเซีย และ กลุ่ม sunway
ได้ใช้ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ได้จัดคะแนนดัชนีและจัดอันดับ 184 ประเทศว่าแต่ละประเทศได้รับมือกับโรคระบาดโควิด-19 ได้ดีมากน้อยเพียงใด

โดยคะแนน 70% คิดจาก

1.) กรณีที่ได้รับการยืนยันต่อประชากร โดยพารามิเตอร์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเทียบกับขนาดของแต่ละประเทศในการคำนวนค่าคะแนน

2.) สัดส่วนการเสียชีวิตตามสัดส่วนเนื่องจากโควิด-19 โดยพารามิเตอร์นี้จะพิจารณาถึงอัตราการตายอย่างคร่าวๆของแต่ละประเทศและพิจารณาขนาดของประชากรแล้วเปรียบเทียบกับอัตราการตายเนื่องจากโควิด-19

นับตั้งแต่มีรายงานผู้ป่วยรายแรกในประเทศ โดยค่านี้จะให้ภาพสะท้อนที่แท้จริงว่าอัตราการเสียชีวิตได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้อย่างแม่นจำ

ส่วนที่เหลืออีก 30% คิดจาก

คะแนนคงที่ที่ได้มาจากดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพโลก (GHS) ซึ่งริเริ่มโดยมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกิ้นส์ซึ่งได้รับทุนจากมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ GHS ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อประเมินความพร้อมของประเทศในการรับมือและรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19

ทั้งนี้ GCI ได้จัดอันดับประเทศที่มีการฟื้นตัวจากโควิด-19 (Ranking of Countries by Recovery Index) จากทั้งหมด 184 ประเทศ ปรากฏว่าประเทศไทยได้อยู่อันดับที่ 2 รองจากประเทศ ออสเตรเลีย

โดยประเทศ 10 อันดับแรกมีดังต่อไปนี้

1.ออสเตรเลีย
2.ไทย
3.เดนมาร์ก
4.ฮ่องกง
5.ไต้หวัน
6.นิวซีแลนด์
7.เกาหลีใต้
8.ลิโทเนีย
9.ไอซ์แลนด์
10.สโลวาเนีย

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่ากลุมประเทศในเอเชียมีอยู่ 6 ประเทศ ได้แก่ไทย,ฮ่องกง,ไต้หวัน,เกาหลีใต้,เวียด นาม และ มาเลเซีย ที่ติดอยู่ใน 20 อันดับแรก โดยประเทศไทยได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 1 ของเอเชีย

สำหรับ การจัดลำดับการฟื้นฟูใช้ข้อมูลจาก จำนวนผู้ติดเชื้อต่อประชากร จำนวนผู้รักษาหายต่อผู้ติดเชื้อยืนยัน จำนวนประชากรตรวจสอบโรคติดต่อผู้ติดเชื้อยืนยัน และจำนวนการทดสอบต่อประชากร รวมถึงการเข้าถึงระบบสาธารณสุขของคนในประเทศและขีดความสามารถในการตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-19