ธุรกิจร้านอาหาร ใน ฟิลิปปินส์ เติบโตขึ้น เนื่องจากจำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มสูง รวมถึงการเปิดร้านอาหารในเมืองและแหล่งท่องเที่ยวที่มีมากขึ้น โดยในปี 2558 ตลาดร้านอาหารในฟิลิปปินส์มีมูลค่าสูงถึง 500,000 ล้านเปโซ
ซึ่งปัจจุบัน อุตสาหกรรมร้านอาหารในฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็นร้านอาหารระดับกลาง-บน เช่น ร้านอาหารจานด่วน (Fine dining) และ turo-turo (ร้านอาหารข้างทาง เช่น เคาน์เตอร์จำหน่ายอาหาร ร้านอาหารข้างทาง หรือรถเข็น มีลูกค้าเป้าหมายเป็นกลุ่มรายได้ค่อนข้างต่ำเป็นหลัก) นอกจากนี้ ยังมีร้านแบบ Casual dining ร้านอาหารบุฟเฟต์ รวมไปถึงร้านระดับ High-end ที่ได้ Michellin star อีกด้วย
ร้านอาหารแบบ Casual dining นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ และถือเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการอาหารราคาปานกลางแต่มีคุณภาพดีกว่าร้านอาหารจานด่วน ร้านในรูปแบบนี้ มีหลายรูปแบบทั้งอาหารฟิลิปปินส์ อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น อาหารทะเล บาร์บีคิว อาหารมังสวิรัติ และก๋วยเตี๋ยว จุดขายของร้านรูปแบบนี้ คือความคุ้มค่าของเงิน และการบริการที่รวดเร็ว ซึ่งมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคือผู้มีรายได้ปานกลางและวัยทำงาน โดยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพและค่านิยมของผู้บริโภคที่นิยมอาหารจานด่วนน้อยลง
ร้านแบบ Casual dining ที่มีชื่อเสียงและมีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่องในฟิลิปปินส์มีจำนวนมาก เช่น Pancake House (อาหารฟิลิปปินส์) , North Park , Mann Han (อาหารจีน) , Dad’s (บุฟเฟ่ต์) , Cafe France
การแข่งขัน ธุรกิจร้านอาหาร ภายในตลาดฟิลิปปินส์
อุตสาหกรรมการบริการอาหารในฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ ยังควบคุมโดยธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นหลัก ทั้งนี้ บริษัทที่มีขนาดใหญ่และมีอิทธิพลค่อนข้างมากในตลาดคือ Jollibee Foods Corporation , Golden Arches Dev Corp (McDonald’s) , Ramcar Inc. (Mister Donut และ KFC), Pizza Hut และ Shakeys
ปี 2558 – 2559 แบรนด์ร้านอาหารต่างประเทศยังเข้ามาในตลาดบริการอาหารในฟิลิปปินส์อย่างต่อเนื่อง สาเหตุเพราะความสามารถทางการแข่งขันที่มากกว่าแบรนด์ภายใน เนื่องจากชาวฟิลิปปินส์นิยมสินค้าต่างชาติ โดยร้านอาหารที่เข้ามามีทั้งร้านอาหาร ร้านกาแฟ รวมถึงร้านอาหารจานด่วน เช่น Din Tai Fung, The Halal Guys และ Costa Coffee ทั้งนี้ แบรนด์ร้านอาหารต่างประเทศที่เข้ามาเปิดในฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่เข้ามาในรูปแบบของแฟรนไชส์หรือกิจการร่วมค้ากับชาวฟิลิปปินส์ (Joint Venture)
ในอนาคตคาดว่าร้านอาหารรายย่อยจะสามารถแข่งขันได้ยากขึ้น เนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่มีข้อได้เปรียบหลายอย่าง ทั้งการก่อตั้งธุรกิจมาเป็นเวลายาวนาน ชื่อเสียงในกลุ่มผู้บริโภค และการประหยัดจากขนาด (Economies of Scale) ถึงแม้ว่าชาวฟิลิปปินส์ชอบลองสินค้าและบริการใหม่ ๆ แต่ปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจซื้อคือราคา ความมีชื่อเสียงของแบรนด์และทำเลของร้านอาหาร นอกจากนั้นผู้ประกอบการยังมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ดีขึ้นอีกด้วย โดยมีการสร้างเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถสั่งอาหารหรือจองโต๊ะออนไลน์ได้ ปรากฏการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคฟิลิปปินส์มีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต
พฤติกรรมผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์เกี่ยวกับอาหารและร้านอาหาร
1. ชาวฟิลิปปินส์รับประทานอาหารมากกว่า 3 มื้อต่อวัน โดยนอกจากมื้อเช้า มื้อกลางวันและมื้อเย็นแล้ว ชาวฟิลิปปินส์ยังมีมื้อแทรกระหว่างกลางในช่วงเช้า (ประมาณ 10.00 – 10.30 น.) และ Merienda ในช่วงกลางวัน ( 15.00 – 16.00 น.) นอกจากนี้ อาจมีการทานอาหารระหว่างดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้วย
2. ชาวฟิลิปปินส์ชอบรับประทานข้าว ข้าวถือเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารทุกมื้อ แม้ว่าในอาหารจานนั้น จะมีคาร์โบไฮเดรตอยู่แล้ว หรือมีเส้นก๋วยเตี๋ยว ก็จะมีการใส่ข้าวในอาหารด้วยเช่นเดียวกัน
3. ชาวฟิลิปปินส์ชอบน้าจิ้ม / ซอส โดยซอสที่เป็นที่นิยมในอาหาร เช่น ซอสถั่วเหลือง (ใส่กับมะนาวท้องถิ่นหรือ Calamansi) น้าปลา ซอส กะปิ หรือซอสเกรวี่
4. ชาวฟิลิปปินส์บางส่วน รับประทานอาหารด้วยมือ ซึ่งถือเป็นวิธีปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ในปัจจุบัน ชาวฟิลิปปินส์จะรับประทานอาหารด้วยมือ เมื่อเป็นอาหารท้องถิ่นและเสิร์ฟในใบตองเท่านั้น
5. ชาวฟิลิปปินส์มีการเฉลิมฉลองเทศกาลตลอดปี และร้านอาหารบางแห่ง มีการจัดรายการส่งเสริมทางการตลาดในเทศกาลเหล่านี้ด้วย
ประเภทอาหารที่เป็นที่นิยมสำหรับร้านอาหารจานด่วนในฟิลิปปินส์ ได้แก่ 1. แฮมเบอร์เกอร์ 2. ไก่ทอด , ปีกไก่ 3. พิซซ่า 4. อาหารจีน ติ่มซา 5. พาสต้า 6. อาหารฟิลิปปินส์ 7. โดนัท
ประเภทอาหารที่นิยมเปิดเป็นบูธอาหาร ได้แก่ 1. ติ่มซำ 2. Street food ในรูปแบบฟิลิปปินส์ เช่น บาร์บีคิว ลูกชิ้น kwek kwek หรือ okoy 3. เฟรนช์ไฟรส์ 4. Empanada 5. กาแฟ 6. ข้าวราดแกง 7. Shawarma 8. ของหวาน 9. Takoyaki 10. แฮมเบอร์เกอร์
โอกาสและช่องทางของผู้ประกอบการไทย
1. หากผู้ประกอบการไทยมีทรัพยากรและความสามารถทางการแข่งขันที่มากพอ การเปิดธุรกิจร้านอาหารในฟิลิปปินส์ ก็ถือเป็นธุรกิจศักยภาพ เนื่องจากปัจจัยบวกหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัว พฤติกรรมของผู้บริโภคที่รับประทานอาหารนอกบ้าน หรือตลาดศักยภาพอื่น ๆ เช่น นักท่องเที่ยว นอกจากนี้ อาหารไทยยังมีชื่อเสียงที่ดีในกลุ่มชาวฟิลิปปินส์ (แม้จะมีบางกลุ่มที่บอกว่า เผ็ดและกินยาก)
2. ข้อจากัดด้านกฎระเบียบถือเป็นอุปสรรคสำคัญ การเป็นเจ้าของร้อยละ 100 ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการเปิดกิจการร้านอาหารในฟิลิปปินส์ จึงอาจต้องมองหาช่องทางในการร่วมทุนกับชาวฟิลิปปินส์ เพื่อเปิดกิจการแทน หรืออาจพิจารณาทางเลือกอื่น เช่น การจำหน่ายแฟรนไชส์ให้กับชาวฟิลิปปินส์ โดยช่องทางในการเข้าสู่ตลาดที่สำคัญ คือการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้อง นอกจากเรื่องกฎระเบียบ ผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญปัญหาเกี่ยวกับการบริหารคน การขอใบอนุญาตต่าง ๆ ดังนั้นการสร้างความร่วมมือกับนักธุรกิจฟิลิปปินส์อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
3. หากผู้ประกอบการยังไม่พร้อมที่จะลงทุนในการเปิดร้านอาหารในฟิลิปปินส์ ยังมีทางเลือกอื่น ๆ ที่สามารถทำรายได้จากธุรกิจร้านอาหารในฟิลิปปินส์ได้ เช่น
– การจำหน่ายสินค้าอาหาร เครื่องปรุง ซอสในตลาดฟิลิปปินส์ เนื่องจากร้านอาหารไทยและร้านอาหารอื่น ๆ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องมีการสั่งซื้อซอส เครื่องปรุงหรืออาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ เข้ามามากขึ้น โดยร้อยละ 25 ของอาหารและเครื่องดื่มที่นำเข้าทั้งหมด อยู่ในโรงแรมและร้านอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มอาหารสำหรับคนรักสุขภาพและออร์แกนิก
– การเป็นที่ปรึกษาและจำหน่ายเครื่องปรุงให้กับร้านอาหารในฟิลิปปินส์ ปัจจุบัน มีร้านอาหารไทยในฟิลิปปินส์ไม่น้อย ที่จ้างชาวไทยเป็นที่ปรึกษาของร้านอาหารในการควบคุมสูตรอาหาร Concept โดยเชฟชาวไทยจะมาดูร้านเป็นระยะ ๆ และนำเครื่องปรุงหรือซอสที่ปรุงแล้ว มาขายให้กับทางร้าน ซึ่งหากผู้ประกอบการไทยมี know-how ในด้านนี้อยู่แล้ว ก็สามารถเลือกเป็นแนวทางหนึ่งในการทาธุรกิจได้
[บทความทั้งหมด] | [คลิปรายการทั้งหมด]