อุปสรรคการค้าการลงทุนใน สปป.ลาว


  1. สินค้าไทยเริ่มราคาสูงกว่าประเทศอื่น

เนื่องจากปัญหาการเพิ่มค่าจ้างแรงงานในประเทศไทยสูงขึ้น ทาให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น สินค้าไทยบางรายการจึงไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งในตลาด สปป.ลาวได้ นอกจากนี้ จีนและเวียดนามได้เข้ามาสร้างโรงงานผลิตสินค้า และมีการขอสัมปทานสร้างศูนย์การค้าในสปป.ลาว ทาให้เกิดคู่แข่งสินค้าไทยมากขึ้น

  1. ผู้ส่งออกไทยขาดการทำตลาดเชิงรุก

เนื่องจากผู้ส่งออกไทยส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าชายแดนจึงการความรู้เรื่องการตลาดเชิงรุก ไม่สามารถสร้างเครือข่ายทางการค้าที่ยั่งยืน ไม่มีศูนย์กระจายสินค้าไทยใน สปป.ลาว จึงเสียเปรียบคู่แข่งทางการค้าจากประเทศอื่น

  1. มีการลักลอบขนสินค้าตามแนวชายแดน

เนื่องจากไทยและ สปป.ลาว มีชายแดนติดต่อกันมากกว่า 1,800 กิโลเมตร และมีประมาณ 700 ช่องทางผ่านแดนเข้า-ออกระหว่างกัน ทำให้สินค้าไทยที่ลักลอบเข้าไปใน สปป.ลาว มีราคาถูกกว่าสินค้าที่นำเข้าอย่างถูกต้อง จึงส่งผลให้สินค้าไทยเข้าไปแข่งขันด้านราคากันเอง ส่งผลกระทบต่อผู้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าไทย เนื่องจากสินค้าลักลอบนำเข้ามีต้นทุนต่ากว่า ตัวแทนจำหน่ายสินค้าในระบบไม่สามารถแข่งขันได้ ทำให้ผู้ประกอบการลาวไม่สนใจที่จะเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจากประเทศไทย

  1. สินค้าไทยถูกปลอมแปลงจากคู่แข่ง

เช่น อะไหล่ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบของรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องอุปโภคบริโภคประเภทต่างๆ ซึ่งสร้างความสับสนให้แก่ผู้บริโภคอย่างมาก บางครั้งแทบจำแนกไม่ออกระหว่างสินค้าปลอมกับสินค้าจริง เช่น ฮาตาริ ราชาชูรส ฯลฯ

5. การนำเข้าสินค้าต้องผ่านบริษัทขาเข้า – ขาออก

ซึ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าให้เป็นผู้นำเข้า – ส่งออกสินค้าตามประเภทหรือหมวดหมู่ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐเท่านั้น โดยผู้ประกอบการรายย่อยต้องนำเข้า-ส่งออก ผ่านบริษัทที่ได้รับอนุญาต ทำให้ ต้องเสียค่าใช้บริการประมาณร้อยละ 2 – 3 ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น

  1. ค่าขนส่งในการนำเข้า-ส่งออกสูง

ประกอบกับการขนส่งและกระจายสินค้าใน สปป.ลาว ใช้ทางรถยนต์เป็นหลัก เส้นทางคมนาคมยังทุรกันดาร ต้องใช้เวลานาน ทำให้สินค้าได้รับความเสียหายได้ง่าย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งและกระจายสินค้า นอกจาก นี้การกำหนดน้ำหนักบรรทุกของรถบรรทุกสินค้าแตกต่างกันในแต่ละแขวงทำให้ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายการขนส่งสินค้าสูงขึ้น

7. เงินกีบไม่มีเสถียรภาพ

ทำให้ยากต่อการวางแผนด้านการตลาดและอัตราแลกเปลี่ยนไม่สามารถสะท้อนภาวะตลาดที่เป็นจริงได้

  1. ความไม่แน่นอนของกฎระเบียบ

กฏระเบียบมีการปรับเปลี่ยนบ่อยยังไม่เป็นสากล และไม่มีความแน่นอน

  1. โครงสร้างพื้นฐานยังพัฒนาอย่างทั่วถึง

ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน การคมนาคม และการสื่อสาร ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่