อุตสาหกรรมโลกขณะนี้มีการนำหุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่มีความสามารถของมนุษย์ มีสติปัญญา คิดเองได้ เช่น Siri, Google now, Cortana ของ Microsoft ฯลฯ เข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้การผลิตรวดเร็วมีประสิทธิภาพและใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น ซึ่งใน 1-2 ปีนี้คาดว่าจะมีผู้ประกอบการเกือบทุกภาคธุรกิจหันมาใช้ AI จนส่งผลกระทบให้แรงงานในกลุ่มอาชีพเหล่านี้เสี่ยงต่อการหายไปในอนาคต
เช่นการจองตั๋วหนัง โรงแรมและร้านอาหาร ฯลฯ ที่ปัจจุบันสามารถจองผ่านแอพพลิเคชั่น ซึ่ง AI จะส่งผลกระทบโดยตรงกับกลุ่มอาชีพให้บริการรับจองต่างๆ นั่นอาจเพราะเป็นงานบริการที่ไม่จำเป็นต้องใช้ Human Skills เยอะมาก ฉะนั้น AI จึงสามารถเข้ามาจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพแทนอาชีพนี้ได้
ตัวอย่างการพัฒนา AI ของบริษัท IBM ชื่อว่า Watson ซึ่งปัจจุบันธนาคารในสหรัฐฯได้นำไปใช้ในการเบิก-ถอนเงิน จนทำให้ตำแหน่งธุระการธนาคารหมดความสำคัญ และล่าสุด Watson ได้ถูกนำไปใช้ทางการแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็ง ซึ่งผลที่ออกมาพบว่า Watson สามารถอ่านค่าได้ดีกว่าหมอซะอีก
- กลุ่มอาชีพที่ต้องใช้แรงงานในสายการผลิต
นั่นเพราะเทคโนโลยีในปัจจุบันได้พัฒนา AI เข้ามาช่วยผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แพ้มนุษย์ ส่งผลให้กลุ่มแรงงานที่เน้นการผลิตแบบรวดเร็ว เช่น ในโรงงานอุสาหกรรมที่ใช้ทักษะการทำงานแบบเดิมๆซ้ำๆ นอกจากนั้น AI ยังขยายผลไปถึงกลุ่มทำความสะอาดและกลุ่มงานที่อันตราย อย่างงานเช็ดกระจกที่คนส่วนใหญ่ไม่ชอบทำกัน
- กลุ่มประเภทการตลาดออนไลน์
ต้องบอกว่าในกลุ่มนี้ เน้นไปที่งานการตลาดที่ต้องวางแผนซื้อโฆษณาสื่อออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เข้ามาจัดการส่วนนี้ได้ทั้งหมด ทำให้เกิดการตั้งข้อสังเกตได้ว่าในอนาคต กลุ่มที่ซื้อโฆษณาออนไลน์อาจจะหายไป เพราะระบบ AI สามารถจัดการได้แล้ว โดยผู้ใช้งานอาจทำเพียงแค่ป้อนข้อมูลสำคัญบางสิ่งบางเพื่อให้ AI จัดการงบประมาณเหล่านั้นให้คุ้มค่ากับเงินมากที่สุด ซึ่งคนที่ต้องจัดการสิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็อาจเหลือเพียงคนควบคุมระบบ AI เพียงเท่านั้น
ผลกระทบนี้ส่งผลให้หลายอาชีพมีโอกาสก้าวขึ้นมาเฉิดฉายอย่างรวดเร็ว เช่นโปรแกรมเมอร์ เพราะปัญญาประดิษฐ์สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่ก็ยังต้องการคนที่คอยกำกับ เขียนโครงสร้างเพื่อให้ซอฟต์แวร์เหล่านี้คิดเองได้ ซึ่งสังเกตได้ว่าเมื่อไม่นานมานี้มีเด็กรุ่นใหม่หันมาเรียนด้านไอทีกันมากขึ้น นั่นเพราะเราก้าวสู่ยุคที่กำลังเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี หากใครปรับตัวก่อนก็จะได้เปรียบก่อนทั้งในเชิงแรงงานและโอกาสที่จะตามมา
สำหรับด้านการปรับตัว World Economic Forum ได้รวบรวม 10 ทักษะที่จำเป็นต้องมีในปี 2020 ไว้ดังนี้
- การแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน (Complex Problem Solving)
- การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
- ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
- การบริหารจัดการคน (People Management)
- การประสานงานร่วมกับผู้อื่น (Coordinating with Others)
- ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)
- การตัดสินใจ (Judgment and Decision Making)
- การคิดเชิงการให้บริการ (Service Orientation)
- การต่อรอง (Negotiation)
- ความยืดหยุ่นในการปรับกระบวนการคิดให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ (Cognitive Flexibility)
(ลำดับความสำคัญของทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในอดีตและอนาคตที่เปลี่ยนไป)
ซึ่งนอกจาก Skillset ข้างต้นก็ยังมีเรื่องของภาษาอังกฤษที่คนไทยจะสามารถแข่งขันใน Global Workforce ได้ อีกส่วนสำคัญที่เป็นตัวผลักดันให้ก้าวต่อไป คือกระบวนการวิธีคิดและการปรับเปลี่ยน Mindset เพราะปัจจุบันมีข้อมูลทั้งเท็จและจริงเยอะมาก ฉะนั้นไม่ว่าจะได้เรียนรู้หรือรับรู้อะไรมาก็ตาม อย่าเพียงแค่จดจำหรือท่องจำเท่านั้น แต่ต้องการคิดวิเคราะห์และหาเหตุผลให้ลึกซึ้งมากขึ้น และการอัพเดทเทรนด์ใหม่ๆก็ยังถือเป็นอีกสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้มองเห็นโอกาสและต่อยอดโอกาสไปอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น
ด้าน HR ก็ต้องปรับเปลี่ยนเช่นเดียวกัน เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของคนหางานเปลี่ยนและพฤติกรรมการหางานของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไป หลายๆอาชีพอาจไม่จำเป็นต้องทำงานประจำหรือทำงานแค่ในออฟฟิศ แต่สามารถทำงานที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้ ส่งผลให้ผู้คนหันมาเป็นฟรีแลนซ์มากขึ้น เพราะพวกเขาคาดหวังที่จะมีอิสระและได้รับความยืดหยุ่นจากบริษัท ฉะนั้นด้านบริษัทหรือองค์กรเองก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ดึงดูดผู้สมัครงานด้วย เช่น การปรับบรรยากาศในที่ทำงาน สร้างวัฒนธรรมที่น่าอยู่ ไม่กดดันเรื่องขั้นตอนและรูปแบบการทำงานที่เน้นหนักในเรื่องกฎระเบียบหรือวิธีการทำงานวิธีใดวิธีเดียว คนรุ่นใหม่ชอบทำในวิธีของพวกเขาเอง เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาตรงเป้าหมายที่วางร่วมกันไว้ สิ่งนี้มันไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเก่งแล้วทำเองได้ แต่ผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือเจ้านายต้องเข้าใจแล้วปรับเปลี่ยนตัวเองมาเป็นโค้ช ที่คอยระดมความคิด ส่งมอบประสบการณ์ในการตัดสินใจแก้ปัญหาร่วมกัน
ทั้งนี้การตัดสินใจแก้ปัญหายังเป็นการวัดศักยภาพความเป็นผู้นำ แต่คนไทยส่วนมากมักไม่กล้าตัดสินใจเนื่องจากวัฒนธรรมไทยไม่ได้เชิดชูการเรียนรู้ความผิดพลาดหรือความล้มเหลว แต่ยังไงก็ตาม การตัดสินใจมันก็สามารถพลิกกลับมาได้
ตัวอย่างเช่น Jeff Bezos CEO and Founder, Amazon.com กล่าวว่า การตัดสินใจที่จะออกจากงานแบบ Corporate มาเป็น Startup ขณะนั้น เขาก็มีเพื่อนออกจาก Consulting มาทำ Startup เช่นเดียวกัน ซึ่งเพื่อนของเขาล้มเหลวเนื่องจากตัดสินใจช้าไป จากนั้นเพื่อนของเขาก็ได้กลับไปทำ Consulting บริษัทเดิม ซึ่งมันสามารถพลิกกลับมาทำได้ มันยังดีกว่าการที่คุณไม่ได้ตัดสินใจลองทำอะไรใหม่ๆเพียงเพราะแค่ความกลัวเท่านั้น
Special thanks | GetLinks, CareerVisa, WorkVenture & STARTUP THAILAND