“แมลงวันลาย” แหล่งอาหารใหม่ ที่น่าสนใจของโลก


จากจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีและคาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงถึง 9 พันล้านคนทั่วโลกในปี 2050 ในขณะที่ประเทศเกษตรกรรมใหม่ยังไม่ปรากฏ ทั้งปริมาณการกินสัตว์บกและสัตว์ทะเลในปัจจุบันก็มากขึ้นเกินขนาด บวกกับการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศและปริมาณน้ำที่ขาดแคลน

ซึ่งดูเหมือนว่าสถานการณ์เหล่านี้จะสร้างผลกระทบต่อการผลิตอาหารในอนาคตอย่างมาก ฉะนั้นการค้นหาวิธีการเพิ่มปริมาณอาหารใหม่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น นอกจากนี้การรวบรวมและเพาะเลี้ยงแมลงสามารถสร้างการจ้างงานและรายได้ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะธุรกิจแบบครัวเรือนหรือโรงงานขนาดใหญ่ยังไม่มีกฎระเบียบข้อบังคับของภาครัฐที่แน่ชัดเกี่ยวกับการนำแมลงมาเป็นอาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร นี่จึงเป็นข้อได้เปรียบของประเทศไทยที่มีการบริโภคแมลงมาเป็นระยะเวลานาน

โดยในปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายทาสินค้าแมลงทอดกรอบใน บรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยและวางจาหน่ายในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ การที่ยุโรปให้ความสนใจต่อการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการบริโภคแมลงซึ่งถูกมองว่าเป็นแหล่งโปรตีนในอนาคต จึงเป็นทิศทางที่ดีสาหรับผู้ประกอบการไทยในอนาคต อย่างไรก็ตามขณะนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่มีความคุ้นเคยกับการบริโภคแมลง และอาจยังไม่พร้อมที่จะ ทดลองบริโภคแมลง ซึ่งคงต้องใช้เวลาทำความเข้าใจและสร้าง perception ใหม่ให้กับผู้บริโภค ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์เห็นว่า แมลงเป็นสิ่งมีชีวิตที่สำคัญต่อประชากรโลกนอกจากสามารถเป็นแหล่งอาหารสำหรับมนุษย์แล้วยังใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบที่ยั่งยืนอีกด้วย

โดยแมลงนั้นสามารถนำมาใช้เป็นกลไกสำคัญต่อความเป็นอยู่อย่างยั่งยืน รวมทั้งยังเป็นกุญแจหลักในการสร้างเศรษฐกิจโลกบนพื้นฐานทางชีวภาพ เนื่องจากแมลงเป็นสัตว์ที่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นโทษต่อสิ่งแวดล้อม ต้องการน้ำและพื้นที่น้อย และสามารถเติบโตได้จากขยะอินทรีย์ รวมทั้งยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงเช่น โปรตีน ไขมัน และไคตินซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของผนังเชลล์ในสัตว์ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น ในโรงงานผลิตยา จากมุมมองนี้ทำให้ Kempen Insect Valley ประเทศเบลเยียม ได้ริเริ่มและเป็นผู้นำในการคิดค้นและดึงเอาศักยภาพของแมลงให้กลายเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญและปลอดภัยต่อชาวโลก และได้รับการสนับสนุนโดยกองทุนเพื่อการพัฒนาภูมิภาคยุโรป (ERDF) ก่อตั้งโครงการพัฒนา Insect Valley เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

โดยได้แบ่งโครงการออกเป็น 2 ส่วนที่มีความเชื่อมโยงกัน คือ

โครงการส่วนที่ 1: Kempen Insect Cluster เป็นการร่วมมือร่วมกันของ Kempen Chamber of Commerce (Voka), สหพันธ์อุตสาหกรรมแมลงแห่งเบลเยียม และ บริษัท Millibeter โดยกลุ่มทดลองนี้จะใช้รูปแบบ open co-creation เพื่อทดสอบศักยภาพของแมลงในการแปลงขยะอินทรีย์ ซึ่งทาง Voka Kempen นั้นต้องการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจบนพื้นฐานทางชีวภาพและเชื่อมั่นว่าแมลงมีศักยภาพสูงในการใช้เป็นกลไกสำคัญต่อการพัฒนานี้ได้ ขณะที่บริษัท Millibeter ผู้มีประสบการณ์ด้านการใช้แมลงวันลายแปลงขยะมูลฝอยและมูลสัตว์เป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรมเคมีและอาหารสัตว์นั้น กำลังดำเนินการเพาะพันธุ์ตัวอ่อนหนอนแมลงวันลายกว่าล้านตัวภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ โดยหนอนเหล่านี้จะเติบโตจากเศษอาหารเหลือทิ้งก่อนที่จะกลายเป็นอาหารของแม่วัว ไก่ และปลา ส่วนไขมันที่สกัดได้จากหนอนจะนำไปเป็นส่วนผสมในสบู่ต่อไป

โครงการส่วนที่ 2 : โครงการนำร่องแมลง Insect Pilot Plant เป็นการร่วมมือกันของ Geel campus จากมหาวิทยาลัย Leuven, มหาวิทยาลัย Thomas More เมือง Kempen และสถาบัน Flemish เพื่องานวิจัยเทคโนโลยี (VITO) โดยโครงการนำร่องนี้มีแมลงที่เพาะเลี้ยงและเติบโตในห้องทดลองแล้ว เพียงแต่ยังต้องมีโรงงานจาลองเพื่อใช้เป็นขั้นตอนไปสู่กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมโดยใช้แมลงเป็นตัวช่วยในการผลิตวัตถุดิบคุณภาพสูง ทั้งนี้ทางโครงการสามารถเพาะพันธุ์แมลงได้วันละ 10 กิโลกรัม และอาจสามารถเพาะพันธุ์ได้มากที่สุดถึง 1 ตันต่อวัน โดยวัตถุประสงค์ของโครงการส่วนนี้เพื่อต้องการให้ตลาดได้เห็นถึงความรวดเร็วในการเจริญพันธุ์และศักยภาพของแมลง ในปัจจุบันสัตว์มากกว่า 1900 ชนิด ถูกนำมาเป็นอาหารของมนุษย์ รวมทั้งแมลงชนิดต่างๆ ได้กลายเป็นอาหารสำหรับประชากรพื้นเมืองกว่า 2 พันล้านคน รวมถึงแมลงเต่าทอง ด้วง มด ตั๊กแตนหรือจี้งหรีด โดยแมลงเหล่านี้จัดว่าเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งไขมัน โปรตีน วิตามิน ไฟเบอร์และแร่ธาตุที่จำเป็นต่างๆ ตัวอย่างเช่น ไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า-3 และกรดไขมันที่จำเป็นในหนอนนก สามารถเทียบคุณค่าทางโภชนาการได้กับอาหารจากปลาและเนื้อสัตว์ ทั้งนี้แมลงที่สร้างความน่าสนใจให้กับนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก คือ แมลงวันลาย (Hermetia illucens) อาจจะดูเหมือนน่าขยะแขยง แต่แมลงวันประเภทนี้จะอาศัยอยู่พื้นที่ด้านนอก ไม่กัด ไม่ต่อย ไม่กินของเน่าเสีย ไม่เป็นตัวพาหะหรือตัวนำเชื้อโรค กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ แมลงวันชนิดนี้เป็นแมลงวันที่ไม่ก่ออันตรายต่อมนุษย์ โดยตัวเมียที่มีปีกบินได้แล้วจะมีอายุเพียง 2-3 วัน ก่อนที่จะผสมพันธุ์และวางไข่ ซึ่งนับว่ามีวงจรชีวิตที่สั้น

ส่วนหนอนจากแมลงวันลายสามารถมีชีวิตได้หลายสัปดาห์และต้องการอาหารเน่าเสียหรือมูลสัตว์เป็นปริมาณมากในการเจริญเติบโต โดยปริมาณหนอน 1 ตารางเมตร สามารถกินอาหารจากมูลสัตว์หรือขยะอินทรีย์ได้ถึง 15 กิโลกรัม และยังสามารถกินอาหารได้อย่างรวดเร็วกว่าที่เชื้อแบคทีเรียจะแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นก๊าซมีเทนและปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากออกสู่อากาศ ซึ่งกระบวนการทางชีวภาพนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับลดภาวะโลกร้อนได้อีกวิธีหนึ่งด้วย

อีกทั้งคุณค่าทางอาหารของไขมันที่สกัดจากหนอนแมลงวันลายจะประกอบด้วยปริมาณโปรตีนร้อยละ 42 และไขมันร้อยละ 35 อีกทั้งกรดอะมิโนและแร่ธาตุต่างๆ สามารถช่วยการเจริญเติบโตในปลาและไก่ และยังสามารถใช้ทดแทนถั่วเหลืองในอาหารไก่ได้ โดยเฉพาะไก่ที่จำเป็นต้องได้รับโปรตีน แร่ธาตุและวิตามินเป็นพิเศษ ดังนั้นหนอนแมลงวันลายจึงเป็นแหล่งอาหารทางเลือกที่มีประสิทธิภาพตามความต้องการได้อย่างยั่งยืน