เทคโนโลยี VR&AR เริ่มมีบทบาทซื้อขายสินค้า
Virtual reality (VR) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆด้วยคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้สามารถสัมผัสภาพเสมือนจริงแบบ 3 มิติได้ด้วยการใส่แว่นตาฉายภาพ ทำให้ผู้สวมใส่อุปกรณ์รู้สึกเหมือนได้อยู่ในสถานที่แห่งนั้นจริงๆปัจจุบันการจำลองสภาพแวดล้อมทำได้หลายรูปแบบหลายสถานที่ แต่ช่วงหลังบริษัทต่างๆ เริ่มนำมาปรับใช้กับการขายผลิตภัณฑ์ของตน เช่น บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ Volvo ที่ได้จำลองบรรยากาศห้องโดยสารรถยนต์รุ่นใหม่ โดยให้ลูกค้าที่สนใจสวมแว่นตา VR เพื่อสัมผัสประสบการณ์เหนือระดับนี้ได้แม้จะอยู่บ้านก็ตาม
ส่วน Augmented Reality (AR) เป็นเทคโนโลยีที่มีมาระยะหนึ่งแล้ว โดยใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน เป็นการเพิ่มภาพซ้อนเข้าไปในภาพจริงๆ อาศัยเซนเซอร์ 3 มิติที่อยู่ในสมาร์ทโฟน ตัวอย่างเช่นเกมส์โปเกม่อนโก นอกจากนั้น พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ ยังนำเอาเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้เพื่อช่วยให้การเยี่ยมชมน่าสนใจขึ้น รวมปึงห้างสรรพสินค้า
ด้วยการสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ทำให้ เทคโนโลยี AR&VR เข้ามามีบทบาทต่อกับการจับจ่ายซื้อของ นาย Jean-Marc Liduena หุ้นส่วนบริษัท Deloiette กล่าวว่า มูลค่าตลาดของเทคโนโลยีดังกล่าวเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งปีที่แล้วมูลค่าราว 6 พันล้านยูโร และคาดว่าจะเติบโตเป็น 150 พันล้านยูโรในปี 2563 แต่ก็มีความเห็นที่ขัดแย้ง เพราะมองว่าหลายๆบริษัทยังไม่พร้อมที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้
เมื่อราคาของเทคโนโลยีเริ่มลดลง จึงเข้าถึงคนมากขึ้น
นาง Jocelyne Kauffmann ผู้อำนวยการบริษัท Cheil กล่าวว่าราคาแว่นตา VR ในขณะนี้เริ่มขายในราคาต่ำกว่า 100 ยูโร (3,900 บาท) ซึ่งเป็นราคาที่คนทั่วไปสามารถซื้อได้ โดยแว่นตา VR จะมาเปลี่ยนประสบการณ์การจับจ่าย เป็นเครื่องมือช่วยขายสินค้าได้เป็นอย่างดี ทำให้ห้างร้านต่างๆเริ่มนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการทำงานเบื้องหลัง ตัวอย่าง ในซุปเปอร์มาร์เก็ต Intermarché ได้ทดลองจัดวางแสดงสินค้าในห้างร้านผ่าน VR โดยจำลองบรรยากาศจากห้างสาขา Issy-les-Moulineaux ในปารีส ทำให้เห็นได้ทันทีว่าสินค้าแบบไหนควรจัดวางตรงไหน โดยไม่ต้องทำในสถานที่จริง ทั้งยังช่วยไม่ให้เสียโอกาสการค้าไปกับการทดลองต่างๆ
ซุปเปอร์มาร์เก็ต Intermarché นำ VR มาใช้กับการจัดบบเชลส์
เทคโนโลยี ที่เปี่ยมไปด้วยประโยชน์ในอนาคต
แม้แต่บริษัทที่แตกต่างกันอย่างแบรนด์เสื้อผู้ชายชั้นสูง Berlutti และ แบรนด์เสื้อผ้ากีฬา Decathlon ก็ต่างตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีนี้ เนื่องจากจะเข้ามาช่วยลบล้างข้อจำกัดทางด้านพื้นที่ของห้างร้าน แบรนด์ Berlutti ได้ขอให้บริษัท Smartpixel นำเทคโนโลยี AR เข้ามาใช้กับคอลเล็กชั่นรองเท้าที่แสดงอยู่ในร้าน โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้ซื้อ พร้อมช่วยนำเสนอรองเท้ารูปแบบอื่นๆที่ไม่ได้วางโชว์ ซึ่งนาย Philippe กล่าวว่าเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาให้กับห้างร้านที่มีพื้นที่จำกัด ไม่ต้องการตุนสินค้าทุกสีทุกขนาดไว้ในร้าน ด้านแบรนด์ชุดกีฬา Decathlon เองได้นำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้กับแบรนด์ย่อย Quechua ซึ่งเป็นแบรนด์สินค้าสำหรับการปีนเขาและตั้งแคมป์ โดยนำมาปรับใช้กับการขายเตนท์ตั้งแคมป์ขนาดใหญ่ ซึ่งทางร้านไม่มีพื้นที่พอสำหรับแสดงสินค้าทั้งหมด
ด้านห้างขายเฟอร์นิเจอร์ชื่อดังอย่าง IKEA ก็ได้ร่วมมือกับ Apple เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้ iPhone ได้ลองวางภาพของสินค้าที่สนใจในรูปแบบ 3 มิติซ้อนทับบนรูปของพื้นที่ในบ้าน ซึ่งเมื่อมองจากกล้องก็จะเห็นว่าสินค้าก็จะทำให้เห็นว่าการจัดวางนั้นเหมาะสมหรือไม่
ห้างขายเฟอร์นิเจอร์ IKEA นำ AR มาปรับใช้กับการขายสินค้า
นอกจากนั้นบริษัท l’Oréal ยังได้พัฒนาแอพพลิเคชัน Make up Genius เพื่อช่วยให้ลูกค้าได้ทดลองเครื่องสำอางต่าง ๆ อย่าง รองพื้น, อายแชโดว, ลิปสติก ในรูปแบบ AR
รูปแบบการพัฒนาแอพพลิเคชั่นลองเครื่องสำอางของ L’Oréal
ตัวอย่างการทำงาน เมื่อสวมแว่น VR
สามารถกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีนี้สามารถป้องกันไม่ให้ลูกค้าผิดหวัง และป้องกันไม่ให้เกิดการคืนสินค้า ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายสูงสำหรับห้างร้านที่เน้นขายสินค้าออนไลน์ ทั้งเทคโนโลยี VR&AR ยังช่วยปรับรูปแบบแบรนด์ให้ดูทันสมัย สร้างจุดเด่นให้แบรนด์มากขึ้น
อ่านเรื่อง: เทคโนโลยี VR ตัวช่วยปิดการขายเพื่อ SMEs