เทรนด์ธุรกิจอาหาร เพื่อความอยู่รอดในอีก 10 ปี


การทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารในยุคนี้ สิ่งสำคัญอีกข้อคือการเข้าในแนวโน้ม หรือ เทรนด์ธุรกิจอาหาร เพื่อเอสเอมอีจะสามารถพาธุรกิจก้าวต่อไปพร้อมโอกาสและความยั่งยืนในอนาคต

นางอรวรรณ แก้วประกายแสงกูล รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า บริษัท โคโลญเมสเซ่ ประเทศเยอรมนี ได้เปิดเผย การสำรวจเทรนด์ธุรกิจอาหาร ในงาน ANUGA 2017 ณ ประเทศเยอรมนี เมื่อช่วงต้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา

พบว่ามี 7 เทรนด์ธุรกิจอาหาร แห่งอนาคตดังนี้

  1. เทรนด์ผลิตภัณฑ์ยั่งยืน เน้นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ พบว่า ตลาดสหรัฐ 80% ของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเป็นออร์แกนิก
  2. เทรนด์อาหาร สะดวกพร้อมทาน ตามวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่
  3. เทรนด์อาหาร ที่ใช้นวัตกรรมด้านดิจิทัลมาเกี่ยวข้อง
  4. เทรนด์ Clear label หรือการแสดงข้อมูลบนฉลากชัดเจน อาหารสะอาด และมีวัตถุดิบจากธรรมชาติ
  5. การลดปริมาณเครื่องปรุงในอาหาร ลดรสชาติจัดจ้าน เป็นสาเหตุโรคอื่นๆ ที่อาจตามมา
  6. เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ
  7. เทรนด์การทานอาหารนอกบ้านเพิ่มขึ้น ดังนั้นธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวตามความต้องการของผู้บริโภค เน้นความปลอดภัย สุขภาพ ควบคู่กับรสชาติอาหารที่อร่อย

อย่างไรก็ตามเชื่อว่า 7 เทรนด์นี้ เป็นเทรนด์ทางธุรกิจอาหารที่อ้างอิงได้อีก 10 ปีข้างหน้า ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ส่วนภาครัฐบาลพร้อมสนับสนุนเต็มที่

ทั้งนี้ การปรับตัวของผู้ประกอบการไทย ต้องเปิดใจรับความเปลี่ยนแปลง โดยสถาบันอาหารจะช่วยสนับสนุน ผู้ประกอบการ ด้านข้อมูลการดำเนินธุรกิจ ข้อมูลพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่วยตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร ตามมาตรฐานและการขอเครื่องหมาย อย. รวมถึงให้คำปรึกษานวัตกรรมเพื่อผลักดันให้ธุรกิจเติบโตและส่งออกไปต่างประเทศ

สำหรับผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการไทยโดดเด่นในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐ พบว่า กลุ่มน้ำผักและผลไม้ส่งออก หลักไปยังยุโรปและสหรัฐ น้ำมังคุดและทุเรียนแช่แข็งส่งออกในญี่ปุ่น สหรัฐ ออสเตรเลีย และจีน ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวทำจากข้าวและสแน็กบาร์ส่งออกหลักในยุโรป

อ่านเรื่อง: 4 เทรนด์การเลือกซื้ออาหารของประชากรโลกปี 2017

[คลิปรายการทั้งหมด]