แจ๊ค หม่า เคยยื่นคำขาดไว้เป็นมั่นว่า “ต่อให้อดตาย ก็ไม่ยอมทำธุรกิจเกมเด็ดขาด”
ณ ตอนนี้ แจ๊ค หม่า ได้กลับคำพูดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว! เมื่อข่าวเด่นจากทุกเว็บไซต์หลักด้านเทคโนโลยี พาดหัวข่าวเกี่ยวกับ อาลีบาบา กรุ๊ป ถึงการเริ่มเดินหน้าทำธุรกิจเกม พร้อมประกาศเปิดตัวบริษัทเกม ในนาม Alibaba Culture and Entertainment Group อย่างเป็นทางการ โดยมีการเปิดแผนกแพลตฟอร์มหน่วยธุรกิจ และแผนกความบันเทิงแบบโต้ตอบ (Interactive Entertainment)
ชี้ให้เห็นว่า อาลีบาบาภายใต้นโยบาย BAT ที่กำลังจะเกิดขึ้น สุดท้ายก็ไม่สามารถทนต่อความเงียบเหงาในสนามรบได้ จึงต้องเข้ามาอาศัยธุรกิจเกมที่กำลังหอมหวล ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การเปิดตัวธุรกิจใหม่ของอาลีบาบาในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการเปิดตัวอย่างกะทันหันแต่อย่างใด แต่ได้เตรียมการไว้ทั้งหมดแล้ว เปรียบเทียบได้จากคำขาดที่ แจ๊ค หม่า เคยให้ไว้เมื่อหลายปีก่อน ทำให้เข้าใจได้ว่า อาลีบาบาได้เฝ้ามองธุรกิจนี้อยู่ตลอดและเคลื่อนไหวอยู่ห่างๆอย่างไม่ขาดสาย เพียงแค่เริ่มทดลองเจาะธุรกิจนี้ในวันนี้เท่านั้น
ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา อาลีบาบา ได้ประกาศจัดตั้งแพลตฟอร์มการจัดจำหน่ายเกม และจัดหาทุนจำนวน 1 พันล้าน เพื่อที่จะซื้อบริษัท UC และเปลี่ยนชื่อจาก “UC9GAME” เป็น “ALIGAME” และปรับเปลี่ยนอัตราส่วนระหว่างนักพัฒนาเกมและแพลตฟอร์มเป็น 7:3 สวนกับทางบริษัท Tencent ที่ทำธุรกิจนี้อยู่ก่อน แต่มีอัตราส่วนอยู่ที่ 3:7
จากการเตรียมตัวมาอย่างยาวนานของ อาลี บาบา และเมื่อมีงบถึง 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก็พร้อมนำไปลงทุนใน “Kabam” บริษัทพัฒนาเกมมือถือรายใหญ่ในสหรัฐ เพื่อเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเกมที่อยู่โดยรอบทั้งหมด ซึ่งสรุปได้ว่า ศักยภาพการกอบโกยเงินของอุตสาหกรรมเกม เป็นเหตุผลให้ แจ๊ค หม่า กลับคำพูด
จากมุมมองในเชิงอุตสาหกรรม จะเห็นได้ว่า ในปี 2016 ตลาดเกมในประเทศจีน สามารถก้าวนำสหรัฐ และขึ้นเป็นตลาดเกมขนาดใหญ่ที่สุดในโลกได้เป็นครั้งแรก โดยมีมูลค่าตลาดสูงถึง 178,900 ล้านหยวน และคาดว่าในปี 2017 จะสูงขึ้นเป็น 200,000 ล้านหยวน ส่วนในมุมมองของคู่แข่งนั้น Tencent game ทำรายได้ไว้ในปี 2016 ถึง 70,000 ล้านหยวน ซึ่งถือเป็นบริษัทเกมที่ทำรายได้สูงที่สุดในโลก
หากนับแค่เกม “王者荣耀 (wang zhe rong yao)” เพียงเกมเดียวแล้ว ในหนึ่งวันจะมีเงินหมุนเวียนสูงถึง 200 ล้านหยวน ยิ่งไปกว่านั้น หากดูยอดขายไอเทมตกแต่งสำหรับหัวละครเพียงอย่างเดียว ในหนึ่งวันก็จะมีเงินเข้าบริษัทมากถึง 150 ล้านหยวน และรายได้ของบริษัท Netease เกินกว่าครึ่ง ก็ล้วนแต่มาจากธุรกิจเกมทั้งสิ้น
ในไตรมาสที่สองของปี 2017 รายได้จากเกมออนไลน์ของ Tencent สูงถึง 23,861 ล้านหยวน ซึ่งเพิ่มขึ้น 39% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว เกมจึงกลายเป็นธุรกิจที่ทำกำไรมากที่สุดในบริษัท Tencent แต่สิ่งที่บริษัท Tencent มี อาลีบาบาก็มีเช่นกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่อาลีบาบา ต้องการจะเข้ามามีส่วนแบ่งในธุรกิจนี้ และแน่นอนว่าอาลีบาบา ยังมีกลยุทธ์เชิงลึกที่แฝงอยู่อีกไม่น้อย
การเริ่มต้นธุรกิจเกมของอาลีบาบาในครั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะเอาชนะสองบริษัทที่แข็งแกร่งอย่าง Tencent กับ Netease และตั้งตัวขึ้นเป็นยักใหญ่ตัวที่สามของวงการธุรกิจเกม แต่ไม่ใช่ว่าจะตัดขาดกับ 2 บริษัทข้างต้น ซึ่งนอกจากผู้ใช้งานจำนวนมหาศาลของอาลีบาบาแล้ว ยังมีอีก 3 ประเด็นที่จะต้องให้ความสนใจ
1. พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ เว็บไซต์เถาเป่า และ ความสอดคล้องระหว่างรูปภาพของผู้ใช้กับเกมเมอร์
2. ประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานของ อาลีบาบา กรุ๊ป ทำให้รู้ถึงตลาดและช่องทางต่างๆมากมาย
3. แจ๊ค หม่า มีทีมงานที่มีทักษะและศักยภาพสูง ทำให้การเข้ามาทำธุรกิจเกมในครั้งนี้ของอาลีบาบา จะสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบอุตสาหกรรมเกมในประเทศจีนได้หรือไม่นั้น ยังคงเป็นเรื่องที่ตอบได้ยากในตอนนี้
บทความจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว