กฎหมายคุ้มครองแรงงานเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ลูกจ้างมากมาย


ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่ ได้มีผลบังคับใช้แล้ว หลังสภานิติบัญญัติ (สนช.) มีมติเอกฉันท์รับหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ซึ่งให้สิทธิคุ้มครองลูกจ้างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลาคลอดบุตร หรือการถูกเลิกจ้างงาน

สิทธิประโยชน์คุ้มครองลูกจ้างของกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่

1. ลากิจ (ธุระจำเป็น) ได้ค่าจ้าง 3 วันทำงาน

2. ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ ลาก่อนคลอด ได้ 98 วัน

3. กรณีนายจ้างมีการเปลี่ยนตัว เปลี่ยนนิติบุคคล หากลูกจ้างไม่ยินยอม จะได้รับค่าชดเชยพิเศษ โดยทำงานมาครบ 20 ปี ได้รับค่าชดเชยพิเศษ 400 วัน

4. ได้รับค่าชดเชยใหม่กรณีเลิกจ้างจะเพิ่มเป็น 6 อัตราจากเดิม 5 อัตรา

อัตราที่ 1 ลูกจ้างทีทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้รับค่าชดเชย 30 วัน
อัตราที่ 2 ลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน
อัตราที่ 3 ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้รับค่าชดเชย 180 วัน
อัตราที่ 4 ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับค่าชดเชย 240 วัน
อัตราที่ 5 ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้เงินชดเชย 300 วัน

อัตราที่ 6 ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปี ขึ้นไปได้รับเงินชดเชย 400 วัน

5. กรณีย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น หากลูกจ้างไม่ไปสามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ โดยได้สิทธิชดเชยตาม 6 อัตราข้างต้น

6. กรณีค่าตอบแทน หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนในบางอาชีพ ถ้าทำงานเกินเวลาปกติ ลูกจ้างไปฟ้องขอจะได้ดอกเบี้ยสูงถึง 15% ต่อปี (จากเดิม 7.5% ต่อปี)

7. ให้สิทธิเท่าเทียมระหว่างหญิงชาย โดยทั้งสองต้องได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน