รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ส่งผลต่อสมอง
สมองเป็นอวัยวะที่จะได้รับผลกระทบจากความเครียดเรื้อรังมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นทางด้านจิตใจหรือกายภาพ ซึ่งความเครียดเรื้อรังสามารถส่งผลต่อความจำไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว รวมทั้งการผลิตสารเคมีในสมอง นอกจากนี้ความเครียดระยะยาวยังทำให้ระบบประสาททำงานหนักขึ้น จนร่างกายเกิดความเมื่อยล้าและอาการปวดต่าง ๆ ได้ และความเครียดที่เรื้อรังยังกระทบต่อการนอนหลับทำให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอค่ะ
ส่งผลต่อหัวใจ
ความเครียดหรือความวิตกกังวลที่เรื้อรังส่งผลให้เกิดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงโรคความดันโลหิตและระดับฮอร์โมนความเครียดที่มีมากเกินไป โดยสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยอีกว่า ความเครียดในระยะยาวเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดได้
ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร
อาการท้องผูก อาหารไม่ย่อย หรือภาวะเครียดลงกระเพาะ อาการเหล่านี้เป็นผลกระทบมาจากความเครียด ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงในระยะยาวต่อระบบลำไส้ได้ ทำให้การดูดซึมและการย่อยอาหารไม่ดีเท่าที่ควร และเป็นสาเหตุภาวะลำไส้แปรปรวนได้
ส่งผลต่อปอด
การศึกษาจากมหาวิทยาลัยเซาเปาโลแสดงให้เห็นว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดและวิตกกังวลกับโรคหอบหืด และผู้ที่เป็นโรคหอบหืดก็มีแนวโน้มที่จะพบกับอาการหวาดผวาได้อีกด้วย ซึ่งในการศึกษาพบว่าความเชื่อมโยงของความเครียดที่เรื้อรังและโรคหอบหืดมีผลกระทบอยู่ในอัตราส่วนที่สมดุลกัน นอกจากนี้ยังทำให้การทำงานของระบบทางเดินหายใจอ่อนแอลงด้วยค่ะ
ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
ความเครียดไม่เพียงส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย แต่ยังส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันด้วยเช่นกัน โดยการศึกษาพบว่าเมื่อคนเราเครียด ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นไข้หวัดได้ง่ายขึ้น และเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการอักเสบได้มากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก www.kapook.com
อ่านจบแล้วมาลุ้นราวัลกันน้าคร้า คลิก คลิกๆ เล้ยยยยยยยยยยยยยย