รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
รอบเดือนมาไม่ตรง ผิดปกติหรือไม่
ผู้หญิงบางคนประจำเดือนสม่ำเสมอ และตรงเวลา แต่กับบางคนประจำเดือนไม่ยักมาประจำเดือนเหมือนชื่อเอาเสียเลย มาช้าบ้างเร็วบ้างไม่มากก็มาน้อยไม่เท่ากันอีก แล้วควรจะทำอย่างไรหากเป็นเช่นนี้
จริงๆ แล้วประจำเดือนจะหายไปสักครั้งหนึ่ง หรือว่ามาหนัก ก็ไม่จำเป็นต้องหมายความว่าเป็นอะไรร้ายแรงเกินกว่าความเครียด การเปลี่ยนแปลง การใช้ชีวิตประจำวันอาจทำให้ระบบเหล่านี้ปั่นป่วนได้ แต่อย่างไรก็ดี ควรสังเกตเวลาประจำเดือนเปลี่ยนแปลง เพราะนั่นก็อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยเริ่มแรกเกี่ยวกับปัญญาทางสุขภาพโดยทั่วไป
ประจำเดือนหายไป หรือนานๆ มาที
สาเหตุที่ 1 การตั้งครรภ์
การคุมกำเนิดก็อาจผิดพลาดได้ ลองใช้เครื่องมือทดสอบครรภ์ชนิดที่ใช้เองภายในบ้าน หากผลออกมาว่าไม่ตั้งครรภ์ ประจำเดือนที่มาสายก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่นความเครียด เป็นต้น หากประจำเดือนยังคงขาดอยู่อีก หนึ่งเดือน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
สาเหตุที่ 2 อาการเครียด
สภาพตึงเครียดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประจำเดือนหายไปสักเดือนนึง เนื่องจาก อาการตื่นเต้นเกินขอบเขตจะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์เช่น อะดรีนาลีน ซึ่งไปสกัดกั้นการผลิตฮอร์โมนสำคัญในการสืบพันธุ์ แต่เมื่อชีวิตคุณกลับมาอยู่ในสภาพปกติแล้ว ประจำเดือนก็จะมาตามเดิมเช่นกัน หากว่ายังไม่มาอีก และคุณไม่ได้ตั้งครรภ์ ก็อาจเป้นเพราะคุณทำงานหนักเกินไปจริงๆ ให้คุณทำตัวช้าลงกว่าปกติ ออกเที่ยวบ้าง ประจำเดือนก็จะมาเป็นปกติได้
สาเหตุที่ 3 ความไม่สมดุลของฮอร์โมน
อีกสาเหตุหนึ่งของการขาดประจำเดือนคือ การที่ไข่ไม่สุก หรือไม่มีการตกไข่ เนื่องจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ปัญหาที่พบบ่อยคือ มีถุงน้ำในรังไข่ (Polycistic Ovarian Disease PCO) คือหากไม่มีการตกไข่ ร่างกายก็จะผลิตโปรเจสเตอร์โรนน้อยกว่าเอสโตรเจน และผลิตเทสทอสเตอโรนมากเกินไป ผู้หญิงที่เป็น PCO ประจำเดือนมักจะขาดติดต่อกันหลายเดือน และถึงมาก็จะมาอย่างผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษา ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งทางเดินปัสสาวะกับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหัวใจ แพทย์จะรักษาด้วยการสั่งยาคุมกำเนิดเพราะจะทำให้ไม่มีประจำเดือน และร่างกายจะได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเทียม ซึ่งจะช่วยป้องกันมะเร็ง เนื่องจากจะไม่ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกเกิดความหนาตัวเกินไป หญิงที่เป็น PCO ส่วนใหญ่จะเป็นหมันด้วย
ความผิดปกติของฮอร์โมนอื่นๆ ที่มีส่วนทำให้ประจำเดือนผิดปกติก็คือต่อมหมวกไตทำงานมากแต่กำเนิด นั่นคือการที่ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป ทำให้ไม่มีการตกไข่ ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ฮอร์โมนสเตอรอยด์ คนที่ป่วยด้วยโรคประจำเดือนไม่เคยมาเลย ประมาณ 40% จะผลิตฮอร์โมนที่มีหน้าที่โดยตรงทางเจริญพันธุ์คือ Prolactin มากเกินไป ซึ่งมีผลทำให้เกิดเนื้องอกที่ต่อมพิทูอารี่
อาการผิดปกติของต่อมไทรอยด์ก็อาจทำให้มีโพรแลคตินมากเกินไป เพราะต่อมไทรอยด์มีส่วนในการผลิตฮอร์โมนนี้ด้วยดังนั้นการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมน Thyroid-Stimulating Hormone มากหรือน้อยเกินไปก็จะมีผลกระทบกับการตกไข่และกับประจำเดือน อาการไม่สมดุลทั้ง 2 นี้ สามารถทำการตรวจพบและรักษาได้ง่าย
สาเหตุที่ 4 ไขมันในร่างกายต่ำ
หากปริมาณไขมันในร่างกายต่ำกว่า 5% ร่างกายอาจหยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและระงับการตกไข่ ซึ่งเป็นมาตรฐานทางะรรมชาติเพื่อปกป้องสุขภาพ โรคขาดอาหารเช่น อาโนเร็กเซีย หรือบุลิเมียต่างก็เป็นสาเหตุให้เอสดตรเจนระงับการผลิตและในกรณ๊นักกีฬาหญิงเช่นพวกนักวิ่งระยะไกลที่ฝึกมากจนมีแต่กล้ามเนื้อ ก็อาจมีอาการนี้ได้
ประจำเดือนมากระปริกระปรอย
สาเหตุที่ 1 การตกไข่
หากคุณมีเลือดออกเล็กน้อยในช่วงกลางรอบเดือน คือประมาณสองสัปดหาหลังจากประจำเดือนมา ไม่ต้องวิตกกังวลมากนัก การมีเลือดออกช่วงกลางประจำเดือนนั้นอาจเป็นตกขาวใสๆ ลักษณะคล้ายไข่ขาวตามด้วยอาการปวดท้องบ้าง แสดงว่ามีการตกไข่
สาเหตุที่ 2 การปรับตัว
ผู้หญิงที่เริ่มใช้ยาคุมกำเนิด โดยเฉพาะผู้หญิงที่เริ่มใช้ครั้งแรกมักมีอาการเลือดออกนิดหน่อยระหว่างมีประจำเดือน ซึ่งจะหมดไปหลังจากใช้ยาคุมกำเนิดนานเกิน 4 เดือน หากยังไม่หายควรขอให้แพทย์แนะนำยาตัวใหม่
สาเหตุที่ 3 ติ่งเนื้อที่ปากมดลูก
ติ่งเนื้อที่เกิดขึ้นในบริเวณเนื้อเยื่อปากมดลูกมักจะไม่เป็นเนื้อร้าย ซึ่งจะรู้สึกก็ต่อเมื่อมีขนาดโตพอไปถูกับปากมดลูก อย่างไรก้ตามแพทย์แนะนำให้ตัดเนื้อนี้ออก
สาเหตุที่ 4 มะเร็งที่ปากมดลูก
สาเหตุสำคัญของการมีเลือดออกกระปริกระปรอย โดยเฉพาะหลังการมีเพศสัมพันธ์ บ่งบอกถึงมะเร็งปากมดลูกขั้นกลางถึงขั้นรุนแรง โรคนี้สามารถตรวจสอบได้ง่ายในระยะเริ่มแรก จากการทำ Pap Smear เป็นประจำทุกปี
สาเหตุที่ 5 ความไม่สมดุลของต่อมไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป มีผลทำให้ฮอร์โมน thyroid-Stimulating Hormone มีระดับสูง ส่งผลให้ร่างกายผลิตโพรแลคติน ทำให้มีเลือดออกกระปริกระปรอย อาการเช่นนี้สามารถรักษาหายด้วยยา
สาเหตุที่ 6 ผลข้างเคียงของยา
การใช้ยาบางตัวอาจมีผลให้มีเลือดออกเล็กน้อย หรือมีประจำเดือนถี่ขึ้น การใช้ยาที่ทำให้เลือดไม่แข็งตัวเช่น แอสไพรินก็อาจมีผลเช่นเดียวกัน ปัญหาเหล่านี้สร้างความรำคาญมากกว่าอันตราย และจะหายไปหลังจากเลิกใช้ยานั้น
สาเหตุที่ 7 การติดเชื้อ
อาจเกิดจากการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่นเชื้อพยาธิ หนองใน ทริโคโมนาส โรคเหล่านี้สามารถรักษาได้อย่างง่ายดายด้วยยาปฏิชีวนะ
ประจำเดือนมาถี่มาก
สาเหตุที่ 1 ความเครียด
ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ การเดินทางเป็นตัวสร้างความปั่นป่วนได้ โดยเฉพาะการเดินทางข้ามโซนเวลาที่ต่างกันก็มักจะทำให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายปั่นป่วน สามารถแก้ไขปัญหานี้โดยทานยาคุมกำเนิด แต่หากกลับถึงบ้านแล้วยังมีอาการประจำเดือนมาถี่เกินไปควรไปพบแพทย์
สาเหตุที่ 2 อาการเยื่อบุมดลูกด้านในอยู่ผิดที่ (Endometriosis)
ประจำเดือนมากมาถี่มากคือ ทุกๆ 3 หรือ 3 สัปดาห์ อาจเป็นอาการที่เกิดจากเยื่อบุมดลูกด้านในอยู่ผิดที่ ซึ่งเป็นสภาวะที่เนื้อเยื่อมดลูกย้ายออกมาเกาะในรังไข่หรือตามส่วนอื่นๆ บริเวณเชิงกรานหรือช่องท้อง อาการเช่นนี้มักเกิดขึ้นในหญิงอายุเกิน 35 จะมีอาการเลือดอกมาก ปวดบริเวณเชิงกรานและหลัง พร้อมๆกับอาการท้องเสียหรือท้องผูกระหว่างที่มีประจำเดือน การรักษาทำด้วยการผ่าตัด หรือบางรายอาจตัดมดลูกทิ้งไป
ประจำเดือนมามากและหลายวัน
สาเหตุที่ 1 ไม่มีปัญหา
หากคุณมีประจำเดือนนาน 7 วัน และวันแรกๆ ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยมาก ซึ่งก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่หากมีประจำเดือนนานเกินกว่า 8 วัน และยังมาเยอะทุกวันหรือนานเกิน 2-3 วัน ควรไปพบแพทย์
สาเหตุที่ 2 เนื้องอกที่ไม่เป็นมะเร็ง (Fibroid)
ไฟบรอยด์เป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง พบในบริเวณผนังมดลูก พบบ่อยในหญิงวัยระหว่าง 35-45 ปี เนื้องอกชนิดนี้อาจทำให้มีอาการปวดมดลูก ประจำเดือนมาถี่และมีเลือดออกมาก และอาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ แพทย์จะให้ยาซึ่งจะทำให้ไฟบรอยด์หดตัวลง แต่จะโตขึ้นใหม่หลังจากหยุดใช้ยา การกำจัดอย่างถาวรคือการผ่าตัด
สาเหตุที่ 3 เนื้องอกที่โผล่ออกมาทางช่องคลอด Endometrial Polyps
เนื้องอกนี้จะเกาะอยู่ที่ผนังมดลูก เพื่อไม่ให้เกิดเป็นเนื้อร้าย แพทย์จะขูดมดลูกเพื่อเอาเนื้องอกนี้ออกไป
ประจำเดือนมาน้อย และน้อยวัน
สาเหตุที่ 1 ไม่มีปัญหา
หากประจำเดือนมาสม่ำเสมอก็จะไม่มีปัญหาอะไร ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะมีประจำเดือนมามากในช่วงที่อายุยังน้อย และจะค่อยๆ ลดน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น แต่หากคุณไม่ได้คุมกำเนิด และรู้สึกว่าในช่วง2-3 เดือนประจำเดือนที่เคยมา 5 วัน กลับเหลือเพียง 2 วันหรือมาน้อยมาก ก็ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ เพราะอาจมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของออร์โมน หรือโรคไทรอยด์
ขอบคุณขอมูลจาก : http://www.ladytip.com/health-beauty/about-period.html
ขอบคุณรูปภาพจาก : http://sator4u.com/upload/pics/21_1-1024x682.jpg