รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
นอกจากคนวัยทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยอาการภูมิแพ้แล้ว ในเด็กก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังสำหรับกลุ่มโรคภูมิแพ้ ที่ปรากฏในเด็กค่อนข้างมากนั่นก็คือ”โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง”ซึ่งมักเริ่มแสดงอาการทางผิวหนังที่สามารถเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่วัยทารก โรคนี้สามารถพบได้ในเด็กตั้งแต่วัยทารกก่อนครบขวบปีไปจนถึงวัยผู้ใหญ่โดยพบมากที่สุดในเด็กตั้งแต่อายุ 3 เดือนถึงอายุห้าขวบ ซึ่งสาเหตุหนึ่งสัมพันธ์กับการถ่ายทอดพันธุกรรมภูมิแพ้มาจากพ่อแม่และผิวหนังขาดสารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติทำให้มีผิวแห้งร่วมกับอาการผิวหนังแดงอักเสบเป็นขุย ผิวหนังไม่เรียบมีความไวต่อสารก่อภูมิแพ้และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
สำหรับอาการของโรคที่จะเห็นได้ชัดเจนนั่นคืออาการผิวหนังแห้งคัน แดงอักเสบเรื้อรัง เป็นๆหายๆ ในทารกและเด็กเล็กจะมีอาการค่อนข้างมาก ทั้งคันมาก ผิวแห้งเป็นขุยสาก มักพบผื่นแดงที่บริเวณใบหน้าโดยเฉพาะ 2 ข้างแก้ม ที่ลำตัว แขน ขาและในบางรายอาจมีปัญหาในการนอนหลับเพราะคันมาก โดยอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นสาเหตุค่อนข้างน้อย
ส่วนในเด็กโตมักจะพบผื่นในบริเวณข้อพับต่างๆของแขนขา และยังคงมีอาการคันมาก ร่วมกับผิวแห้ง อาจจะพบอาการของโรคได้บริเวณผิวหนังรอบดวงตา รอบคอ รอบปาก หรือหลังใบหู มีความเป็นไปได้ที่อาการของโรคจะต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ หากต่อเนื่องถึงวัยผู้ใหญ่แล้วจะยังคงมีอาการผิวแห้งเป็นขุย พร้อมอาการผิวหนังแดงอักเสบเป็นๆ หายๆและอาจจะส่งผลให้เกิดการแพ้สารสัมผัสต่างๆได้ด้วยเช่น แพ้ผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นหอมอาทิ ครีมทาผิว น้ำหอม โดยในผู้ป่วยบางรายอาจเริ่มมีอาการภูมิแพ้ในระบบอื่นๆตามมา เช่น หอบหืด ภูมิแพ้เยื่อบุจมูก ภูมิแพ้เยื่อบุตา มืออักเสบเป็นต้น
หลักการรักษาอาการของโรคนี้ สิ่งสำคัญต้องดูแลผิวหนังให้ชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลาด้วยการทาสารให้ความชุ่มชื้นหลังอาบน้ำทันที และทาต่อเนื่องทุกวันโดยแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นที่อ่อนโยนไม่ระคายเคืองต่อผิวไม่มีสี ไม่มีน้ำหอมผสมและไม่ใส่สารกันบูดที่ระคายเคืองต่อผิวหนังเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและลดการระคายเคือง เป็นเกราะป้องกันผิวหนังต่อสารสัมผัสที่เป็นสารก่อภูมิแพ้และเชื้อโรค ตลอดจนเรียนรู้การอาบน้ำที่ถูกวิธีต้องไม่อาบน้ำร้อนมากหรือนานจนเกินไปไม่อาบน้ำเกินวันละ 2 ครั้งและใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีความอ่อนโยนต่อผิว งดใช้สบู่ก้อนที่มีค่าความเป็นด่างสูงและควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อปรับการใช้ยาทาสเตียรอยด์ให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละรายเพื่อลดอาการแดงอักเสบของผิวหนัง
ขอบคุณบทความจาก พ.อ.หญิง พญ.ปาจรีย์ ฑิตธิวงษ์ กุมารแพทย์โรคผิวหนัง