รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี โดยอาจารย์และนักศึกษา ออกแบบและสร้างเครื่องทำความสะอาดหลอดไผ่ ทำความสะอาดผิวหลอดไผ่ได้ 88 หลอดต่อชั่วโมง ทดแทนการใช้แรงงานคน
ดร.มานพ แย้มแฟง นักวิจัยและอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เผยว่า ในการลงพื้นที่ OTOP จ.ปราจีนบุรี ของทางมหาวิทยาลัย พบว่ามีไม้ไผ่จำนวนมาก และยังเป็นแหล่งปลูกไผ่หลอด ซึ่งปัจจุบันไผ่หลอดได้รับความนิยม เนื่องจากสามารถนำมาใช้แทนหลอดพลาสติก ซึ่งบริษัท พิมธา จำกัด เป็นบริษัทที่จำหน่ายไผ่หลอด ซึ่งก่อนที่จะจำหน่ายต้องมีการทำความสะอาดไผ่หลอดทั้งด้านนอกและด้านในจากนั้นนำไปฆ่าเชื้อ จึงให้ทางมหาวิทยาลัยช่วยออกแบบและผลิตเครื่องทำความสะอาดไผ่หลอด ปกติทางบริษัทใช้แรงงานคนในการทำความสะอาด แรงงานทำงานเป็นเวลานาน ทำให้รู้สึกเมื่อยล้า ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง ทางบริษัทจึงให้โจทย์กับทางมหาวิทยาลัย โดยทางมหาวิทยาลัยได้รับทุนสนับสุนนในการทำวิจัยจาก สกสว. ประจำปี 2562
“ซึ่งจากการทดสอบเครื่องทำความสะอาดผิวหลอดไผ่เปรียบเทียบจำนวนหลอดไผ่ที่ใช้คนกับพบว่าการใช้เครื่องทำความสะอาดผิวหลอดไผ่ได้ 88 หลอดต่อชั่วโมง แต่ถ้าใช้คนทำความสะอาดผิวหลอดไผ่ได้ 47 หลอดต่อชั่วโมง ซึ่งเครื่องทำความสะอาดหลอดไผ่สามารถทำงานได้มากกว่าเมื่อใช้คน 1.87 เท่า จากการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์พบว่าเกษตรกรหรือผู้ประกอบการนำเครื่องทำความสะอาดผิวหลอดไผ่ไปใช้จะสามารถคืนทุนในระยะเวลา 0.98 ปี และสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ 50,964.1 บาทต่อปี”
ด้าน นางสาวเบญจพร ยุติศาสตร์ นักศึกษาหนึ่งในทีมออกแบบและวิจัย กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักการทำงานของเครื่องทำความสะอาดผิวหลอดไผ่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 1 เฟส ขนาด 1/3 แรงม้า เป็นต้นกำลัง ส่งกำลังโดยสายพานไปยังพู่เล่ของลูกขัดที่ทำจากวัสดุ สก๊อตไบร์ท ขณะเครื่องทำความสะอาดผิวหลอดไผ่ทำงาน ลูกขัดจะหมุนโดยผู้ปฏิบัติงานนำหลอดไผ่ที่จะทำความสะอาดวางบนลูกขัดและหมุนหลอดไผ่เพื่อสามารถทำความสะอาดได้รอบตัวหลอด สามารถเคลื่อนที่หลอดไผ่ไปด้านซ้าย ด้านขวาได้ เมื่อคราบสกปรกที่ติดมากับหลอดไผ่ถูกขัดด้วยลูกขัดจะมีลักษณะเป็นฝุ่นแล้วจะถูกพัดลมดูดไปทิ้ง ซึ่งความเร็วรอบที่เหมาะสมคือ 400 รอบต่อนาที
ถ้าความเร็วรอบมากกว่านี้จะส่งผลต่อการทำงานของเครื่อง เพราะลูกขัดจะขัดผิวของหลอดไผ่ลึกไปจนถึงเนื้อของหลอดไผ่ทำให้เกิดความเสียหาย อีกทั้งถ้าความเร็วรอบสูงกว่านี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานควบคุมหลอดไผ่ได้ยากในขณะทำงานจึงเป็นผลให้ปริมาณการทำความสะอาดหลอดไผ่ลดลง แต่ถ้าความเร็วรอบน้อยกว่านี้ปริมาณการทำความสะอาดไผ่ก็จะลดลงส่งผลต่อสมรรถนะของเครื่องทำความสะอาดหลอดไผ่
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ดร.มานพ แย้มแฟง โทร.086-6634562