รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แน่นอนว่าจำนวนผู้สูงอายุที่มีเจอมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนในปริมาณที่มากขึ้น
คำถามแรก ๆ ที่มักถูกตั้งขึ้นมาเป็นอันดับต้น ๆ คือ หากวันเกษียณมาถึง คุณมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะเรื่องของเงินออมที่จะมีเพียงพอต่อการเลี้ยงชีพหรือไม่ ซึ่งแน่นอนว่าหากจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้คน ๆ นั้น จะต้องมีวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เงินเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเรื่องจะกลายเป็นปัญหาของคนไทยเพราะไม่สามารถทำได้ตามที่กล่าวไปข้างต้น หากอ้างอิงจาก “ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ” (NRRI) เพื่อหาเครื่องมือวัดระดับความพร้อมหรือไม่พร้อมของคนในประเทศไทยหลังเกษียณ ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าตัวเลขความพร้อมด้านการเงินค่าเฉลี่ยของประเทศมีความพร้อมต่ำกว่า 40% สวนทางกับความพร้อมด้านสุขภาพที่มีระดับสูงกว่า
การวางแผนเกษียณอย่างมีประสิทธิภาพ คือการกำหนดเป้าหมายเงินออมที่จะใช้ โดยก่อนหน้านี้มีการระบุว่าจำนวนเงินเพียงพอที่จะอยู่รอดหลังเกษียณ คือ 3,000,000 บาทต่อเดือน โดยเฉลี่ยใช้จ่ายต่อเดือน 6,000-7,000 บาท แต่ปัจจุบันพบว่าจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน แสดงว่าต้องใช้เงินมากกว่าเดิม
โดยผู้ที่มีความสำคัญมากที่สุดอันดับแรกหนีไม่พ้นประชาชนที่ต้องตระหนักรู้เรื่องการออม รองลงมาคือภาครัฐฯ ที่ต้องเข้ามามีบทบาทสนับสนุน มีนโยบายสนับสนุนทักษะ ความรู้ด้านการเงิน และรู้ทันไม่ให้ถูกหลอก รวมถึงนายจ้างที่การดูแลพนักงานไม่ใช่เวลาทำงานกับองค์กรเท่านั้น แต่ควรมองนอกเหนือจากนั้นว่าลูกจ้างควรมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ควรต้องมี