“ทุกครั้งที่ผมมากระทรวง ไม่ได้คิดว่าจะมาเพื่อเล่าอะไรที่ท่านไม่ทราบ ผมเชื่อว่าสิ่งที่เรียนให้ทราบท่านทราบดีอยู่แล้ว ผมเพียงอยากจะมาได้รับบรรยากาศเก่าๆ ได้พบกับเพื่อนๆ ทั้งหลายที่ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 17 ปีแล้ว ก่อนหน้านั้นเราก็ทำงานร่วมกันมาประปราย ตั้งแต่ที่เราต่อสู้กับปัญหาเศรษฐกิจที่เรียกว่าวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง ผมเชื่อว่าถ้าเราฝ่าวิกฤติตรงนั้นมาได้ ไม่มีอะไรที่ประเทศไทยและกระทรวงพาณิชย์ทำไม่ได้ เพราะเป็นวิกฤติที่รุนแรงครั้งหนึ่งของโลกหลังจากเกรทดีเปรสชัน (Great Depression) เมื่อประมาณ 80-90 ปีมาแล้ว เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1929-1930”
ถึงแม้ว่าจะมีวิกฤติอีกเมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา คนที่มาช่วยเราทำให้เราหนักไปกว่าเดิม สมัยนั้นผมมานั่งอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ เขาก็อุปโลกน์ให้ผมดูแลเป็นผู้ฟื้นฟูแก้ไขปัญหา แต่ท่านคงทราบดีว่าในการแก้ไขปัญหาและพรรคพวกในรัฐบาลชุดนั้นมีความเห็นต่าง กันไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งที่ทำให้เราแย่ลงกว่าเดิม คือ เราต้องฟังคำแนะนำจากคนภายนอก คนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก ฟังจากคนร้อยแปดรอบด้าน แต่สิ่งที่เขาแนะนำมาพวกเขาไม่ปฏิบัติเลย
เรามีปัญหาเมื่อตอนปี 1997-1998 เขาสั่งเราทำทุกอย่าง เพิ่มดอกเบี้ย ลดค่าเงินบาท เศรษฐกิจทรุดหนักไปกว่าเดิม เมื่อปี 2007-2008 สหรัฐฯ และยุโรปมีปัญหา เขาแนะนำตรงกันข้าม รัฐบาลอัดฉีด ดอกเบี้ยลด ค่าเงินก็ปล่อยลอย
จริงๆ แล้วกำลังของเราที่มีอยู่คือความโปร่งใส ความเป็นผู้เสียสละ งานของกระทรวงพาณิชย์เป็นงานซึ่งหาความดีความชอบยาก ของราคาดีก็บอกว่าแพงเกินไป ของราคาไม่ดีก็บอกว่าทำให้ดีกว่านี้ได้ไหม ราคาจะดีหรือไม่ดีจริงๆ แล้วหากว่าเราบอกว่าเราเชื่อในระบบตลาดเสรีเราก็ทำอะไรมากไม่ได้ ยกเว้นจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่กระทบกระเทือนอย่างรุนแรงหรือเสียสมดุลทาง เศรษฐกิจไปมากนัก ซึ่งดูจากตัวเลขแล้ว สมัยที่ยังทำงานด้วยกัน จุดประสงค์ที่จะทำให้เศรษฐกิจบ้านเราโตอย่างยั่งยืน พวกเราทำได้ดีแน่นอน แต่เราต้องระวังว่าการทำทั้งหมดไม่ใช่กระทรวงพาณิชย์อย่างเดียว เราไม่ได้ทำงานในที่ซึ่งเป็นสุญญากาศ เราต้องทำงานกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงการคลัง กระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงอื่นๆ
“ผมพูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าจะไปว่าใคร แต่การทำงานร่วมกันบางครั้งยากกว่าการแก้ปัญหากับข้างนอกด้วยซ้ำ เราพูดกันรู้เรื่องคนละอย่าง ต่างคนต่างก็มีหน้าที่ซึ่งการประสานของเรามันไม่เป็นไปตามระบบ แต่สิ่งที่ผ่านมาทำให้เห็นว่ากำลังดีขึ้นเรื่อยๆ การแก้ปัญหาเฉพาะของเราเองอย่างเดียว เช่น การแก้ปัญหาเรื่องสินค้าเกษตรโดยที่ไม่มีกระทรวงเกษตรฯ มาเกี่ยวข้อง หรือแก้ปัญหาการเปิดตลาดการค้าเสรีโดยที่ไม่มีกระทรวงการคลังหรือกระทรวง ต่างประเทศมาเกี่ยวข้องมันทำไม่ได้ ปัญหาที่เรามีอยู่ในขณะนี้คงจะพูดในส่วนของกระทรวงพาณิชย์เป็นหลัก”
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2557 นายศุภชัย พาณิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) และอดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด: UNCTAD) ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ‘ฝ่าคลื่นเศรษฐกิจยุคใหม่สู่การค้าที่ยั่งยืน’ ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพาณิชย์ครบรอบ 94 ปี ว่า
“ทุกครั้งที่ผมมากระทรวง ไม่ได้คิดว่าจะมาเพื่อเล่าอะไรที่ท่านไม่ทราบ ผมเชื่อว่าสิ่งที่เรียนให้ทราบท่านทราบดีอยู่แล้ว ผมเพียงอยากจะมาได้รับบรรยากาศเก่าๆ ได้พบกับเพื่อนๆ ทั้งหลายที่ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 17 ปีแล้ว ก่อนหน้านั้นเราก็ทำงานร่วมกันมาประปราย ตั้งแต่ที่เราต่อสู้กับปัญหาเศรษฐกิจที่เรียกว่าวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง ผมเชื่อว่าถ้าเราฝ่าวิกฤติตรงนั้นมาได้ ไม่มีอะไรที่ประเทศไทยและกระทรวงพาณิชย์ทำไม่ได้ เพราะเป็นวิกฤติที่รุนแรงครั้งหนึ่งของโลกหลังจากเกรทดีเปรสชัน (Great Depression) เมื่อประมาณ 80-90 ปีมาแล้ว เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1929-1930”
ถึงแม้ว่าจะมีวิกฤติอีกเมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา คนที่มาช่วยเราทำให้เราหนักไปกว่าเดิม สมัยนั้นผมมานั่งอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ เขาก็อุปโลกน์ให้ผมดูแลเป็นผู้ฟื้นฟูแก้ไขปัญหา แต่ท่านคงทราบดีว่าในการแก้ไขปัญหาและพรรคพวกในรัฐบาลชุดนั้นมีความเห็นต่าง กันไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งที่ทำให้เราแย่ลงกว่าเดิม คือ เราต้องฟังคำแนะนำจากคนภายนอก คนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก ฟังจากคนร้อยแปดรอบด้าน แต่สิ่งที่เขาแนะนำมาพวกเขาไม่ปฏิบัติเลย
เรามีปัญหาเมื่อตอนปี 1997-1998 เขาสั่งเราทำทุกอย่าง เพิ่มดอกเบี้ย ลดค่าเงินบาท เศรษฐกิจทรุดหนักไปกว่าเดิม เมื่อปี 2007-2008 สหรัฐฯ และยุโรปมีปัญหา เขาแนะนำตรงกันข้าม รัฐบาลอัดฉีด ดอกเบี้ยลด ค่าเงินก็ปล่อยลอย
จริงๆ แล้วกำลังของเราที่มีอยู่คือความโปร่งใส ความเป็นผู้เสียสละ งานของกระทรวงพาณิชย์เป็นงานซึ่งหาความดีความชอบยาก ของราคาดีก็บอกว่าแพงเกินไป ของราคาไม่ดีก็บอกว่าทำให้ดีกว่านี้ได้ไหม ราคาจะดีหรือไม่ดีจริงๆ แล้วหากว่าเราบอกว่าเราเชื่อในระบบตลาดเสรีเราก็ทำอะไรมากไม่ได้ ยกเว้นจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่กระทบกระเทือนอย่างรุนแรงหรือเสียสมดุลทาง เศรษฐกิจไปมากนัก ซึ่งดูจากตัวเลขแล้ว สมัยที่ยังทำงานด้วยกัน จุดประสงค์ที่จะทำให้เศรษฐกิจบ้านเราโตอย่างยั่งยืน พวกเราทำได้ดีแน่นอน แต่เราต้องระวังว่าการทำทั้งหมดไม่ใช่กระทรวงพาณิชย์อย่างเดียว เราไม่ได้ทำงานในที่ซึ่งเป็นสุญญากาศ เราต้องทำงานกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงการคลัง กระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงอื่นๆ
“ผมพูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าจะไปว่าใคร แต่การทำงานร่วมกันบางครั้งยากกว่าการแก้ปัญหากับข้างนอกด้วยซ้ำ เราพูดกันรู้เรื่องคนละอย่าง ต่างคนต่างก็มีหน้าที่ซึ่งการประสานของเรามันไม่เป็นไปตามระบบ แต่สิ่งที่ผ่านมาทำให้เห็นว่ากำลังดีขึ้นเรื่อยๆ การแก้ปัญหาเฉพาะของเราเองอย่างเดียว เช่น การแก้ปัญหาเรื่องสินค้าเกษตรโดยที่ไม่มีกระทรวงเกษตรฯ มาเกี่ยวข้อง หรือแก้ปัญหาการเปิดตลาดการค้าเสรีโดยที่ไม่มีกระทรวงการคลังหรือกระทรวง ต่างประเทศมาเกี่ยวข้องมันทำไม่ได้ ปัญหาที่เรามีอยู่ในขณะนี้คงจะพูดในส่วนของกระทรวงพาณิชย์เป็นหลัก”
ผมคิดว่าเฉพาะเราแก้ปัญหาของเราเองอย่างเดียวคงไม่พอ เราต้องหาเพื่อนมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ทางกระทรวงเองก็กำลังทำงานร่วมกับฝ่ายเอกชน เตรียมพวกเราทุกคนให้พร้อมเข้าสู่การแข่งขัน ความจริงผมเชื่อว่าประชาคมอาเซียนเกิดขึ้นมาแล้ว ตั้งแต่ที่เรามีอาฟตา (AFTA) ที่เป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน เราแข่งขันกันเองโดยที่เราอาจจะทราบหรือไม่ทราบ ผมไม่แน่ใจ
ที่เรามีเป้าหมายในอีก 2-3 ปีข้างหน้า หรือปี 2015 จะมีการนับหนึ่งเริ่มแข่งขัน ผมว่าไม่ใช่ ขณะนี้เราแข่งขันกันแล้ว รู้จักซึ่งกันและกัน เรามีการเลิกการกีดกันกันพอสมควร แล้วยังมีวาระที่จะต้องทำงานร่วมกันอย่างมากมาย ซึ่งดูแล้วในสิบประเทศอาเซียนไม่มีใครพร้อมกว่ากัน อย่างเช่น สิงคโปร์ ดูเหมือนจะพร้อม แต่เขาจะทำได้ดีต่อเมื่อพวกเราช่วยให้ความสะดวกในการค้าขายในฐานะที่เขาเป็น มหาอำนาจในการค้าเสรี แต่ขีดจำกัดของเขามีมากมายในแง่การตลาด ประชากร และความสามารถ
มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย หรือประเทศอื่นในกลุ่มนี้ ผมว่าไม่มีใครดีกว่าใคร แต่สิ่งซึ่งน่าสังเกตในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา คือ ความสำนึกว่าเราจะต้องเตรียมตัวมากขึ้น ประเทศไทยมีการเตรียมการมากที่สุดจริงๆ ถ้าไปอินโดนีเซียในขณะนี้ จะเห็นชัดเจนว่าเขาเพิ่งเริ่มมีโครงการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อโยงเศรษฐกิจ หลักของเกาะต่างๆ ไว้ด้วยกัน โครงการใหญ่สุดที่เห็นมีการพยายามสร้างถนนเชื่อมระหว่างสุราบายาและจาการ์ตา ด้วยมอเตอร์เวย์ขนาดใหญ่ เพราะสุราบายาจะต้องช่วยจาการ์ตา ท่าเรือจะไปโหลดที่จาร์การ์ตาร์อย่างเดียวไม่ได้
ถ้าดูที่ฟิลิปปินส์ เวลาขนของจากเมืองต่างๆ ไปยังสนามบินใหญ่หรือท่าเรือใหญ่จะลำบากมาก ถนนหนทางยิ่งกว่าโครงการมาราธอน ต้องใช้ความยากลำบากในการเดินทาง เป็นปัญหามากมาย ต้องลงทุนอีกมาก ผมคิดว่ามาเลเซียมีแต้มต่อ เขามองผ่านปี 2015 ไปแล้ว เขามองไปถึงปี 2020 ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าเป็นตัวอย่างที่ดีมาก แต่มาเลเซียก็มีปัญหาภายในหลายๆ เรื่อง โครงสร้างอุตสาหกรรมของมาเลเซียนั้นเป็นโครงสร้างที่ถูกรัฐกำหนดมาโดยตรง มาเลเซียก็ต้องมีการปรับปรุงอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การย้ายเมืองใหม่ การเปิดสนามบินใหม่ โครงสร้างทุกอย่างรัฐบาลมีบทบาทค่อนข้างมาก รวมถึงการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ
เราพยายามพูดถึงคลื่นเศรษฐกิจทั้งหลาย มีคลื่นหลายลูกแต่เราจะพึ่งพาเศรษฐกิจโลกได้ขนาดไหน แต่อย่างไรเราก็หนีการค้าระหว่างประเทศไม่พ้น มากกว่า 60% ของรายได้ประชาชาติเราขึ้นอยู่กับการค้ากับต่างประเทศ แล้วเราก็ไม่ได้มีการปรับโครงสร้างใน 17 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง การพึ่งพาตลาดโลกไม่ได้ลดลง เข้าใจว่าในสมัยนั้นมีการพึ่งพาตลาดโลกร้อยละ 60-70 แต่เมื่อเราเจริญเติบโตก็มีการพึ่งพามากขึ้นไปอีก
“ถามว่าดีไหมผมเชื่อว่าดี ถามว่าดีอย่างไร ดีตลอดไหม ไม่ดีตลอดหรอก อยากให้กระทรวงพาณิชย์และรัฐบาลตั้งคำถามกับการบริหารงานการค้าระหว่าง ประเทศอยู่เสมอ ว่าการค้าระหว่างประเทศทำไปแล้วได้อะไรขึ้นมา เราได้การจ้างงานขึ้นมาใช่ไหม เราได้ผู้ผลิตที่มีความสามารถในการแข่งขัน ได้เทคโนโลยีใหม่ๆ สินค้าใหม่ๆ ดีแน่นอน”
แล้วทุกคนมีส่วนร่วมไหม มีความเสมอภาคระหว่างผู้ชาย-ผู้หญิง ธุรกิจใหญ่-ธุรกิจน้อย เชื่อว่าผู้ที่เป็นผู้ส่งออกสำเร็จเริ่มมีรายที่ไม่ได้ใหญ่เกินไปแล้ว ถ้าเราต้องค้าขายแบบนี้ไปตลอดในอนาคตด้วยการพึ่งระบบที่เป็นเครือข่าย ระหว่างประเทศ (International Network of Production) หรือที่เรียกว่า Global Supply Chain (ห่วงโซ่อุปทานระดับโลก) ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราที่ทำงานในยูเอ็น (UN) วิตกมาก มันกลายเป็นหนทางให้บริษัทยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศเอาห่วงโซ่เหล่านี้มา ปฏิบัติกับพวกเรา เขาเป็นเจ้าของห่วงโซ่ เจ้าของเทคโนโลยี เจ้าของทุน เจ้าของมาร์เก็ตติ้ง เจ้าของทุกอย่างหมด เราเป็นเจ้าของแรงงานก็นับเป็นห่วงโซ่ของเขา แอฟริกาก็เป็นแรงงานของเขา แต่เขาไม่เคยหลุดไปจากสินค้าห่วงโซ่สินค้าปฐมเลย ของเราก็จะอยู่ในส่วนที่เราคิดว่าแบบจำลองการพัฒนาของเราดีแล้ว คือ ค่าจ้างแรงงานเราถูก การส่งเสริมการลงทุนเรามีมาก การยกเว้นภาษีอากร การสนับสนุนโดยรัฐบาลมันดีอยู่ถึงระดับหนึ่ง แต่ถ้าค่าเงินของเราไม่แข็งเกินไปเราน่าจะแข่งขันได้ดี
สิ่งที่เราจะสู้คลื่นเศรษฐกิจทั้งหมดที่มา เราจะไปพึ่งพาการส่งออกที่เป็นไปได้ดีก็ต้องตลาดโลกเป็นไปได้ด้วยดีคงจะยาก ขึ้นเต็มที เศรษฐกิจโลกไม่ใช่เศรษฐกิจที่ดีนัก ทุกปีมีการทำนายออกมา ผมค่อนข้างเบื่อหน่ายมากที่จะต้องออกมาตอบโต้ตลอดเวลา เพราะไม่เห็นว่าเศรษฐกิจโลกมันดีตรงไหน ไอเอ็มเอฟออกมาบอกตลอดว่าเศรษฐกิจโตปีละ 3.5% เหมือนเป็นสูตร พอกลางปีก็ออกมาแก้ แก้ทุกปี
วันก่อนคณะกรรมการตลาดเงินของสหรัฐฯ (Open Market Committee) ก็มีประชุมขอแก้การทำนายภาวะเศรษฐกิจโลกและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นแบบนี้ตลอดเวลา มันมักจะเวอร์เกินไปในตอนต้นปี เวลาเศรษฐกิจดีก็ทำนายเกินไป เวลาเศรษฐกิจลดลงก็ทำนายว่าเลว ผมเรียนให้ทราบว่าเราคงจะตามภาวการณ์เศรษฐกิจโลกไม่ได้ พูดอย่างนี้เหมือนไปดูถูก ไม่ครับ ผมเอามาจากประวัติที่เขาบันทึกกันไว้ ผมจดตัวเลขที่เขาบอกไว้ทุกปีว่าเริ่มต้นที่เท่าใด ปี 2015 ต้องดีกว่า 2014 แน่นอน ปี 2013 ต้องดีกว่า 2012 แน่นอน แนวโน้มคือฟื้นตัวจากภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจ ซึ่งภาวะเศรษฐกิจโลกและโครงสร้างทางเศรษฐกิจขณะนี้เป็นโครงสร้างที่จะไม่ดี ขึ้น
“ผมจดตัวเลขเศรษฐกิจโลกมาหลายตัวในอดีตก่อนที่เราจะล่มสลาย ที่แสดงว่าในอนาคตเศรษฐกิจโลกอย่างน้อยจะโต 1-2% ในช่วงก่อนปี 2007 ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างยุโรปปีนี้ทุกคนก็บอกว่าฟื้นแน่ ปรากฏว่าเยอรมันนีปีนี้โตติดลบ ทั้งยุโรปปีนี้ประมาณการณ์ว่าโตร้อยละ 1 แต่ครึ่งปีแล้วยังโต 0 แล้วทั้งปีถึง 1 ไหม ผมว่าไม่ถึง เราจะเข้าไปส่งเสริมการค้าคงยาก เมื่อ 10-20 ปีก่อนเราประกาศนโยบายง่ายๆ ว่าจะโต 10-15% เดี๋ยวนี้ประกาศปีละแค่ 5-7% แล้วก็ลดลงเหลือ 4, 3, 2, …เตี้ยลงมาเรื่อยๆ”
ผมพูดด้วยความเห็นใจว่าตลาดจะโลกาภิวัตน์ เกิดอะไรขึ้นอีกโลกหนึ่งมาถึงอีกโลกหนึ่งแน่นอน เป็นตลาดที่แคบลง ในแง่กฎระเบียบที่มีมากขึ้น ผมดูจากตัวเลขที่อังค์ถัดทำกับโออีซีดี (OECD) และองค์การการค้าโลก (WTO) ทุกครึ่งปีจี 20 (G20) จะประชุมกัน และเราทำรายงานเสนอไปให้เขาดู เป็นรายงานการค้าการลงทุนและกฎข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนของ โลกที่มีการนำมาใช้ของประเทศต่างๆ ตั้งแต่ปี 2007 มีมาตรการที่มีการเพิ่มการจำกัดการค้าการลงทุนเพิ่มทุกปี ขณะเดียวกันมาตรการที่มีการปลดปล่อยให้เสรีก็เพิ่มขึ้นด้วย
เมื่อระหว่างที่เรามีปัญหาเกรทดีเปรสชันมีการนำนโยบายที่จำกัด การลงทุนมาใช้ รัฐบาลลงมาแทรกแซง ลงมาซื้อหุ้น และอุตสาหกรรมยานยนต์อะไรกันหมด แม้กระทั่งอุตสาหกรรมประกันภัย สุดท้ายแล้วจะปล่อยคืนก็ปล่อยไม่ได้ กลายเป็นว่าหลังจากเศรษฐกิจทรุดตัวแล้ว การที่เข้าไปจำกัดการลงทุนโยงไปถึงการจำกัดการค้าขายด้วย ในขณะที่สหรัฐฯ ไปประชุมทุกที่ อย่างจี 20 หรือองค์การการค้าโลก แต่วันดีคืนดีประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศว่า ‘By U.S.A.’ อีกหน่อยก็คงจะบอกว่า ‘By Thai’ ‘By Laos’ แล้วจะมีทำไมองค์การการค้าโลก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น บางคนบอกว่าถ้าเผื่อเราไม่พูดเราก็จะถูกวิพากษ์วิจารณ์
ไม่ใช่ออกมาประกาศแล้วโฆษณาว่าซื้อของเราเองไม่ต้องซื้อคนอื่น ถึงขนาดออกโฆษณาว่าคุณดูให้ดี คุณจะให้คนอื่นกู้เงิน คุณให้กู้ภายในประเทศดีไหม ซึ่งคนในประเทศไม่กู้อยู่แล้ว เงินก็ไหลออก ดูตัวเลขที่มาจากรายงาน 3 องค์กร ขณะนี้การสะสมของมาตรการการจำกัดการค้าของการค้าที่เป็นการนำเข้ากลายเป็น 4% มันไม่มาก แต่แนวโน้มมันน่ากลัว ปีที่แล้วสองปีที่แล้วมัน 2-3% อีกไม่กี่ปีมันก็เป็น 5% ในจำนวนนี้เป็นสินค้าที่มีความหมายต่อพวกเราค่อนข้างมาก เป็นสินค้าที่ไม่อยากให้เราไปยุ่งเกี่ยวกับตลาดเขามากมายนัก
“มันดูแล้วน่ากลัวหรือไม่น่ากลัว ผมไม่ทราบ แต่มันทำให้ตลาดเชื่อมโยงกันได้มากขึ้นและเล็กลงทุกที นโยบายที่ทำให้เศรษฐกิจเป็นสีเขียว ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืน จะเป็นการค้าที่ยั่งยืนได้ต่อเมื่อมีความเจริญต่อเนื่อง และเป็นการเติบโตต่อเนื่องที่ทำให้เกิดความเสมอภาคขึ้นในประเทศ ไม่ใช่โตแค่กรุงเทพฯ แต่ข้างนอกไม่โต หรือโตเฉพาะพวกเราพวกเขาไม่โต หรือโตในเฉพาะอุตสาหกรรมบางประเภท มันต้องโตด้วยกัน และต้องเป็นอุตสาหกรรมที่มีความยั่งยืน คือ มีอีเอสจี (ESG) Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (บรรษัทภิบาล) นี่คือสิ่งที่พวกผมคุยกันตลอดเวลาว่าทำอย่างไรถึงจะให้มีการเจริญเติบโตที่ ยั่งยืน (Sustainable Development/Growth)”
การที่จะมีอีเอสจีมันทำให้ตลาดทำงานได้น้อยลงทุกที อังค์ถัดเป็นองค์กรที่ไม่เชื่อ แต่เชื่อแบบมีเงื่อนไข (Conditional) แม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศใหญ่ๆ ยังล่มสลายได้เพราะระบบตลาดที่เชื่อถือกัน ระบบตลาดต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบที่ดีขึ้นไป องค์การการค้าต่างๆ มีการพูดคุยกันอยู่เสมอว่าแน่นอนเราต้องเสรี แต่เสรีที่มีกฎระเบียบที่ดีขึ้นต้องทำอย่างไร นี่คือสิ่งที่ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราเห็น
กฎระเบียบจะดีขึ้นไปได้เราต้องไปตกลงกับองค์การการค้าโลก แต่นี่ 14 ปีแล้วยังไม่จบ มันชักจะไม่ไหว รอบต่อไปจะมีไหม บอกเลยว่า “ไม่มี” แล้วการเจรจาจะไม่ได้เป็นการเจรจาเรื่องการลดภาษี การเปิดตลาด มันหมดสภาพไปแล้ว มันจึงต้องเป็นการเจรจาที่จะต้องระมัดระวังมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นการเจรจาที่เป็นระเบียบการลงทุน (Insight the Border) ระเบียบการเปิดธุรกิจ การดูแลสิ่งแวดล้อม การดูแลความเสมอภาคในการพัฒนา ความเท่าเทียมกันระหว่างผู้ชายผู้หญิง มันจะมีสิ่งที่ทำให้การตลาดที่จะต้องทำงานดีขึ้น ปล่อยไว้โดยตัวมันเองจะไม่ทำงานดีขนาดนั้น ต้องมีคนไปแทรกแซง แล้วท้ายที่สุดแล้วถามว่าองค์การการค้าโลกจะยอมไปทำแบบนั้นไหม
เมื่อครั้งที่แล้วไปประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 9 (MC9) ที่บาหลีก็ดีใจกันมาก เพื่อนผม โรแบร์โต อาเซเวโด (Roberto Azevêdo) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลกน้ำตาไหลเลย ผมไม่อยากจะแซว เพราะเขาบอกว่าไม่เคยมีข้อตกลงเช่นนี้ได้ถึงแม้จะเป็นข้อตกลงเล็กๆ น้อยๆ เรื่องการให้บริการความสะดวกด้านการค้า (Trade Facilitation) มัน เป็นข้อตกลงร่วมกันว่าถ้าเผื่อคุณจะทำธุรกิจการนำสินค้าเข้า-ออก คุณต้องมีการประกาศล่วงหน้าและมีระเบียบอะไรบ้าง มีค่าใช้จ่ายอะไร ต้องมีการอำนวยความสะดวก การขนส่งข้ามแดนต้องไม่เป็นข้อจำกัดทางการค้า โดยเฉพาะประเทศที่เป็น Landlocked (ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล) ซึ่งมีอยู่ 20 กว่าประเทศ เช่น ลาว จะออกไปไหนก็ไม่ได้ ต้องไปพึ่งประเทศอื่น
“ข้อตกลงที่บาหลีเป็นข้อตกลงในหลักการว่า กลับไปเจนีวาแล้วภายในเดือนกรกฎาคมจะมีการเขียนระเบียบออกมาให้ชัดเจน การช่วยเหลือระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่ด้อยพัฒนา ข้อตกลงที่นั่นมีเงื่อนไขว่าครั้งสุดท้ายที่เจนีวาปลายเดือนกรกฎาคมที่จบไป ผมไม่ทราบว่าคุณโรแบร์โตร้องไห้อีกครั้งหรือเปล่า ปรากฏว่าไม่จบ ตกลงกันไม่ได้ เพราะเหตุผลเดิมเรื่องการแบ่งแยกระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่ยัง เจริญไม่สุด แต่ไม่ใช่ประเทศใหม่อย่างอินเดีย ไทย บราซิล หรือจีน”
ประเทศที่ยังเจริญไม่สุดพวกนี้ยังต้องการเห็นอยู่ว่าสินค้าเกษตรต้องได้ รับการดูแล ไม่ใช่แค่ดูแลอย่างเดียว สินค้าเกษตรจะมีราคาเดียวไปเรื่อยๆ เราเป็นประเทศเกษตรเราอาจจะไม่รู้สึกอะไร แต่ประเทศส่วนใหญ่ของโลกเป็นประเทศที่ขาดผลผลิตด้านอาหาร ประเทศพวกนี้จะรู้สึกเสมอว่าราคาอาหารแพงมาก เพราะฉะนั้นประเทศอย่างอินเดียจึงตั้งเงื่อนไขว่าขอรักษาระบบการผลิตสินค้า เกษตร หากจะมีการเปิดเสรีของโลก สินค้าเกษตรจะผลิตได้ดีทุกปีเป็นไปไม่ได้ บางปีฝนฟ้าดีก็ผลิตได้ดี บางปีฝนฟ้าไม่ดีก็ผลิตไม่ได้ เป็นอย่างนี้ตลอด จนกระทั่งเขาต้องไปสต็อกสินค้า (กักเก็บ) จนรัฐบาลอินเดียถูกโจมตีว่าไม่เอาอาหารออกมาให้คนยากคนจน ขณะนี้เขาพยายามระบายออกมาแล้วสต็อกเข้าไปใหม่ การสต็อกสินค้าที่เป็นธัญพืชต้องใช้เงินสร้างคลังสินค้ามาก อินเดียเป็นประเทศใหญ่ด้วย ฉะนั้นเขาก็ขอว่าเว้นวรรคให้เพื่อเอาเข้ามาเก็บสต็อกไว้ เขาขอให้มีการทำเป็นระเบียบ
ความรู้สึกนี้กับสิ่งที่เราทำมาเป็น 10 กว่าปี หมายถึงการเปิดเสรีตลาดสินค้าเกษตร หรืออาหาร มันขัดกันมาก ทำให้ข้อตกลงอันนี้ของอินเดียเข้าไปยึดโยงผูกไว้กับเงื่อนไขและระเบียบที่จะ มาโยงกับพิธีกรรมด้านการค้า
“นเรนทระ โมที (Narendra Modi) นายกฯ คนใหม่ของอินเดีย เป็นคนหัวก้าวหน้า ส่งเสริมการค้าเสรี แต่เรื่องนี้ยอมไม่ได้ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ จะไปโน้มน้าวอย่างไรก็ตามก็ไม่ยอม เวลานี้ WTO ก็ถอยกลับไปที่เดิม ก่อนไปบาหลี และในไม่กี่เดือนข้างหน้าก็จะกลับมาดูอีก”
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่จะชี้ให้เห็นว่าหลังจากที่เรามี การฟื้นฟูที่ไม่เบ็ดเสร็จ เป็นปกติที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอลงบ้าง การค้าโลกบางปีโตต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของการผลิตของโลก ซึ่งไม่ค่อยเกิดขึ้น ปกติการค้าโลกจะขายตัว 6-7% สิ่งที่เป็นตลาดเสรีจำเป็นต้องมีกฎระเบียบเข้ามา เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาค ความไม่เหลื่อมล้ำ ความไม่เสมอภาคหรือความเหลื่อมล้ำเป็นจุดกำเนิดวิกฤติของโลกครั้งแล้วครั้ง เล่า
ครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ (Subprime Mortgage Crisis) เกิดขึ้นจากความเหลื่อมล้ำของคนในสหรัฐฯ ซึ่งไม่สามารถมีบ้านอยู่ได้ ทำให้นักการเมืองของสหรัฐฯ ต้องไปกดดอกเบี้ยให้ต่ำมากๆ มีการปล่อยสินเชื่อไม่มีคุณภาพจนเป็นซับ-ซับไพรม์ (Sub-Subprime Mortgages) ทำให้คนไปใช้วัตถุประสงค์ผิดไป ทำให้มีการกู้ยืมกันมากมายถึงแม้จะมีการสร้างบ้านมากก็ตาม การตั้งใจดีอยากให้คนได้รับการดูแลที่ดีขึ้นก็ก่อให้เกิดปัญหาทางการเงิน
นักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์กันหลายครั้งว่าความเหลื่อมล้ำเป็นสิ่งที่เกิด เพิ่มขึ้นทุกปี หรือที่เราเรียกว่าจีนี (Gini Index) ที่วัดบนเส้นโค้งระหว่างผู้ที่มีรายได้แต่ละกลุ่มบนจำนวนประชากร มันควรจะเป็นเส้นที่เสมอกันตลอด คือ 0 หรือไปที่ 1 คือ ไม่มีความเสมอภาคเลย คนกลุ่มเล็กที่สุดมีรายได้ 100%
ขณะนี้ดัชนีจีนีของโลกไต่ขึ้นมาเรื่อย จาก 0.4, 0.45 มาถึง 0.5 ในเออีซีทุกปีก็ทำเรื่องนี้ว่าประเทศไหนเพิ่มขึ้นบ้าง ก็มีเพิ่มขึ้นทุกปี จีนสมัยที่เป็นประเทศสังคมนิยมมีค่าอยู่ที่ 0.3 เท่าเทียมมาก ขณะนี้ขึ้นมาเป็น 0.4 กว่า ในขณะที่เราแก้ไขปัญหาเราต้องมีสมดุลมากขึ้นในบทบาทเจรจาการค้า เพื่อที่จะทำให้เกิดความเสมอภาค ในการดูแลระบบธรรมาภิบาลของเศรษฐกิจโลก เราต้องดูด้วยว่าสิ่งที่เราไปทำไว้นั้นสามารถปฏิบัติไปได้ถึงเท่าใด เราสามารถสร้างกลุ่มพรรคพวกในอาเซียนเป็นเออีซี เราสามารถสร้างเออีซีเป็นอาเซียนบวกหกได้ไหม เป็นอาร์เซป (RCEP) หรือ Regional Comprehensive Economic Partnership (การตกลงด้านเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค) ได้ไหม หรือเราจะต้องไปยุ่งกับทีพีพี (TPP: Trans-Pacific Partnership)
“แต่ผมคิดว่าตอนนี้เป็นเรื่องไร้สาระ คนที่ไปร่วมเจรจาก็คงจะทนไม่ได้อยู่ดี มันถึงเจรจากันไม่จบ”
สิ่งที่อยากเรียนไว้เป็นสิ่งสุดท้าย พวกท่านคงทราบดีอยู่แล้วจากเหตุการณ์ที่ผมประมวล มันมีความไม่แน่นอนและมีความจำเป็นต้องเข้าไปกำกับตลาดมากขึ้น มีระเบียบมากขึ้น หาก WTO จบรอบนี้ได้เมื่อใด รอบหน้าก็จะไปเจรจาเรื่องอัตราการเก็บภาษี จะไม่มีภาษีแล้ว ภาษีทั่วๆ ไปจะไม่เหลือเท่าใดแล้ว
สิ่งที่จำเป็นมากๆ คือเรื่องความโปร่งใส การจัดซื้อ ผมดีใจมากที่ได้ยินท่านปลัดประกาศว่าเราเป็นเขตปลอดการคอร์รัปชัน ซึ่งผมคิดว่าเราทำแบบนี้เป็นเรื่องที่ดีมาก ต่อไปประเทศของเราจะโปร่งใสอย่างที่ประเทศอื่นทำได้ไหม อย่างน้อยเป็นการประกันอย่างหนึ่งว่าเราไม่กลัว เรากล้าเปิด
ผมขอสรุปใน 3-4 ประเด็น มองว่าถ้าเราจะฝ่าคลื่นเศรษฐกิจ ทั้งข้างนอกและข้างใน คลื่นข้างในมีทางเกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป ยังไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่เราจะฝ่าไม่ได้ ยังเชื่อมั่นในระบบราชการไทย ถึงแม้ว่าจะอ่อนแอลงไปบ้าง พลาดพลั้งไปบ้าง
1. วิเคราะห์ในการเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนประเทศที่จะได้เปรียบ คือ ประเทศที่จะได้รับประโยชน์ที่สุดคือประเทศที่คล้ายๆ ไทย ในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ ถ้าดูจากสิ่งที่ประเทศไทยไปลงทุนในต่างประเทศ ทั้งทางด้านการค้า อสังหาริมทรัพย์ การเงิน ไอที การขนส่ง ชอปปิงมอล โรงพยาบาล เวลานี้ของประเทศไทยไปลงทุนค่อนข้างจำกัด ฟิลิปปินส์แทบไม่ดีเลย อินโดนีเซียมี 2-3 แห่ง เป็นของอินโดนีเซียแท้ๆ มีน้อยมาก มาเลเซียก็มีบ้างเหมือนกัน แต่ไทยของเรามีการลงทุนข้ามไปยังประเทศต่างๆ ที่จะไปเชื่อมโยงกันอย่างรวดเร็วมากที่สุด อุตสาหกรรมยานยนต์นี่แน่นอนอยู่แล้ว อาหารและสุขภาพก็แน่นอนอยู่แล้ว
แต่สิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจคือว่า ขณะนี้เราจะมีหลุดพ้นไปได้ไหม เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เป็นอะไรที่ไม่น่าจะยากและลงทุนเสีย การเชื่อมโยงของเศรษฐกิจกับภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะชายแดน ไทยเป็นฮับของอาเซียนตอนเหนืออยู่แล้ว เราเป็นอาเซียนบวกกับซีแอลเอ็มวีอยู่แล้ว (CLMV: กัมพูชา, ลาว, เมียนมาร์ และเวียดนาม) โดยที่เราไม่ต้องไปประกาศตัวว่าเป็นพี่เป็นน้องกับใคร
เวลานี้ถ้าไปเที่ยวเวียดนาม คนไทยไม่บินจากกรุงเทพฯ ไปฮานอยแล้ว แต่ไปลงอุบลราชธานี นั่งรถข้ามไปลาว ไปถึงเมืองเว้ ดานัง สวยงามมาก นั่งรถไปถูกมาก ถนนหนทางสะดวก ผมไม่เคยไปแต่พรรคพวกเล่าให้ฟัง ขึ้นไปทางเหนือหากดูสะพานแห่งที่ 4 ที่เชียงของ ตลอดแนวทางมีคนซื้อที่ดินกันหมดแล้ว ที่ดินขึ้นมาหลายเท่าตัว โยงมาจากจีนถึงลาว ถึงไทย รับรองการโยงไปฝั่งตะวันตกถึงพม่า ซึ่งก็กำลังเกิดขึ้นถึงแม้ว่ายังไม่เกิดขึ้นในขณะนี้
สำคัญของเราคือเชื่อมโยงชายแดนให้ดี แล้วด่านทั้งหลายให้เป็นด่านที่เป็นมาตรฐานสากล เวลานี้ด่านของเราไม่มีมาตรฐานสากล การลงนามในกรอบของลุ่มแม่น้ำโขง ผมเชื่อว่าไทยยังไม่ลงนามอย่างเต็มที่ เพราะไทยกลัวว่าลงนามไปแล้วจะเสียเปรียบในบางเรื่อง อย่างเรื่องความมั่นคง ผมคิดว่าเรื่องพวกนี้เราต้องก้าวข้ามให้ได้ ความมั่นคงความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญ แต่ความมั่นคงความปลอดภัยทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญมากกว่านั้น ชายแดนของเราการค้าดีมากทั้งๆ ที่ติดขัดตลอดเวลา พม่า เขมร และลาว เปิดอย่างแรงแล้ว เวียดนามไม่ต้องพูดถึง ลาวและเขมรโต 8-9% ขึ้นมาเฉยๆ การที่ไทยจะเข้าไปมีประโยชน์ได้ในอาเซียนสูงสุดมันชัดเจนอยู่แล้ว
2. การค้าขายกับประเทศกลุ่มกำลังพัฒนา หรือประเทศที่กำลังเกิดใหม่ เรายังมีการค้าขายกับประเทศพวกนี้ค่อนข้างน้อย แต่มันจะโยงกัน เราจำเป็นต้องการลงทุนไปด้วย ไม่ใช่เรื่องของกระทรวงพาณิชย์คนเดียว เราอาจจะต้องมีส่วนในการช่วย เช่น การลงทุนของมาเลเซียไปลงทุนในการบริหารท่าเรือในแอฟริกา ใช้วัสดุ ใช้คนจากมาเลเซีย
คนไทยในเวลานี้ไปลงทุนในโรงงานทำปลากระป๋องในแอฟริกาก็ใช้เทคโนโลยีของ ไทย ใช้คนไทยเป็นผู้บริหาร ถึงแม้จะใช้ปลาแถวนั้น แต่ใช้สิ่งที่เป็นวัตถุดิบไปลงทุน หรือคนไทยจะไปลงทุนส่วนประกอบรถยนต์ในกาตาร์ การลงทุนและการค้ามันเป็นสิ่งที่ไปด้วยกัน สิ่งที่มาเลเซียทำได้ดีคือการตั้งรายได้ ให้สิทธิพิเศษกับคนที่ลงทุนในต่างประเทศ พอๆ กับให้สิทธิพิเศษกับคนที่เข้ามาลงทุนในประเทศ
3. ผมคิดว่าการพัฒนาการค้ายั่งยืนของเรา ไม่ใช่เรื่องของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง เป็นเรื่องของกระทรวงอื่นๆ รวมกันทั้งประเทศ ดูตัวเลขการส่งออกในบางเรื่องที่ไม่ค่อยดีในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ผมคิดว่าไม่ใช่เป็นปัญหาเรื่องการส่งออกหรือไม่ส่งออก ว่าเราส่งเสริมไม่ดีหรือว่าไม่เจรจาการค้าให้ดีหรืออะไร อย่างที่บอกว่าหลังการล่มสลายของเราเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว การลงทุนอะไรใหม่ๆ ที่สูงขึ้นไปยังไม่จริงจังเท่าใดนักเช่น 2-3 ปีนี้ เวียดนามจะไม่มีอะไรเลย เวลานี้เวียดนามมองไปที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สมาร์ทโฟนมีการลงทุนจากเกาหลี โรงงานที่ใหญ่ที่สุดของซัมซุง เวลานี้เวียดนามส่งออกสมาร์ทโฟนอันดับใหญ่ที่ 7 ของโลก ไทยไม่ติดฝุ่น อยู่อันดับที่ 40 กว่า ห่างไกลมาก แล้วก็ไปติดกับของเดิมๆ ที่ทั่วโลกจะใช้น้อยลงทุกที ที่เกี่ยวข้องกับพวกคอมพิวเตอร์ เดี๋ยวนี้เขาหันมาใช้เล็กลงทุกที อีกหน่อยสมาร์ทโฟนก็จะทำทุกอย่าง สิ่งที่เราผลิต เขาเลิก
เราคิดว่าเราเคยเป็นใหญ่ ด้วยความที่เรามาก่อน แล้วเราก็ไปฝังกับเรื่องบางเรื่อง อันนี้เวียดนามไปไกลแล้ว เรามาดูอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ผลิตได้ปีละประมาณ 2.4-2.5 ล้านคัน ปีนี้ผลิตได้น้อยลงไป ในขณะที่อินโดนีเซียตอนนี้ผลิตไปล้านกว่าคันกำลังจะขึ้นมาเป็น 2 ล้านคัน อินโดนีเซียจะกลายมาเป็นใหญ่ที่สุดในอาเซียน ของเขามี 250 ล้านคน เรามีประมาณ 70 ล้านคน แต่มันไม่ใช่เรื่องแปลก
แต่มันจะเป็นเรื่องแปลกถ้าเรายังอยู่กับอุตสาหกรรมรถกระบะ รถขนส่งอะไรพวกนี้ แล้วไม่วิ่งไปสู่ที่มาเลเซียกำลังเปลี่ยนแปลง มาเลเซียกำลังมีรถที่ทันสมัย รถกรีนคาร์ รถอีโคคาร์ ในขณะนี้เรายังพึ่งการลงทุนจากข้างนอกค่อนข้างมาก เราเองไม่ได้พัฒนา มันเป็นเรื่องการผลิต การลงทุน
4. อดฝากไม่ได้เมื่อเข้าไปเป็นประชาคมอาเซียน มันต้องมีตัวกฎหมายที่ประสานกัน มันพอที่จะเทียบเคียงกันได้ไหม (Equivalence) กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายทางการค้า กฎหมายการขนส่ง กฎหมายแรงงาน มาตรฐานสินค้า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าทั้งหลาย ผมคิดว่าเรายังไม่ได้เริ่มต้นที่จะนำมาเกี่ยวข้องเท่าใดนัก แต่ละประเทศจะคิดว่าไม่อยากให้เข้ามายุ่งเรื่องนี้มากเกินไป ผมเข้าใจดี
สิ่งต่อไปที่จะต้องพัฒนาคือกรอบกฎหมายการค้า เรื่องพวกนี้จะทำให้เราค้าขายกันได้ เราควรจะนำมาดู ไม่ใช่เรื่องของเราคนเดียว เวลานี้อาเซียนยังไม่ได้ทำอะไรมากมายร่วมกันเลย เราเป็นตัวที่ดึงดูดการลงทุนเข้ามาพอๆ กับจีนทั้งประเทศ จีนตอนนี้ไม่ส่งเสริมการลงทุนในประเทศ เขาพยายามไปลงทุนข้างนอก จีนมีเงินลงทุนในต่างประเทศประมาณ 124 ล้านล้านดอลลาร์ ในอาเซียน 122-123 ล้านล้านดอลลาร์ อีกหน่อยการดึงเงินมาลงทุนในอาเซียนจะมากกว่านี้มาก และจีนก็จะชะลอการลงทุนแล้วหันเอาเงินมาลงทุนในบ้านเรามากขึ้น ฉะนั้นเราจะต้องร่วมกันแชร์กฎหมายการลงทุนเพื่อให้ได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ว่ามาผลิตเพื่อแข่งกันอย่างเดียว
สุดท้ายที่อยากจะฝาก คือ อำนาจการต่อรองของเรา เรามักไม่ค่อยได้สร้าง ไม่ใช่ความผิดของใคร เวลาเขาจะทำอะไรเขาก็ไม่บอกเรา ถ้าโลกนี้ยอมให้ Mega Deal เกิดขึ้น ถ้าเรายอมให้ทีพีพีกับ 2 ประเทศ (TTIP: Transatlantic Trade and Investment Partnership) เกิดขึ้นจริง ผมเกรงว่า WTO อาจจะต้องเลิก หาก 2 กลุ่มนี้รวมกันแล้วอาจจะกำหนดการค้าโลกได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องของกฎระเบียบ
ทุกวันนี้ที่มีการเจรจากันไม่ได้เจรจากันเรื่องการค้า แต่เจรจากันว่าจะทำอย่างไรเรื่องจีเอ็มโอ (GMO) ร้อยแปดเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตลาดแล้ว ภาษีก็ไม่มีซึ่งกันและกันแล้ว มันจะมีแต่เรื่อง Harmonization (การปรับประสาน) ถ้าเกิดว่าเขาทำเสร็จเขาก็ต้องบอก WTO เขาใช้กฎพวกนี้ คุณอยากใช้ไหม เราก็ต้องบอกใช่เพราะคุณเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเรา 2 กลุ่มรวมกันก็ 20% ของตลาด ถ้าเผื่อญี่ปุ่นร่วมด้วยก็จบเป็น 30%
“นี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ทีพีพีกำลังทำแบบเดียวกันในแปซิฟิก แต่ผมเชื่อว่าไม่จบง่ายๆ เมื่อไปประชุมกันสองปีก่อนที่พนมเปญ ท่านโอบามามา ใครๆ ก็มานั่งกลุ้มใจกันเรื่องทีพีพี ผมก็ขัดคอบอกว่าสำหรับเราในอาเซียนเราต้องทำอาเซียนให้เสร็จก่อน ต้องจบก่อนเป็นกำลังต่อรองให้กับพวกเรา แล้วพวกคุณค่อยมาร่วมกับอาร์เซป ไม่ใช่ว่าคุณตั้งทีพีพีขึ้นมาแล้วบอกว่าใครจะไปร่วมก็ได้ แต่คนที่ทำวาระการค้าโลกชอบรักษาอำนาจทางการปกครองเอาไว้ ซึ่งจุดพวกนี้ผมเบื่อหน่ายมาก”
ต่อจากนี้มันจะมีการใช้ข้ออ้างเรื่อง Green Economy เข้ามามากมาย มีการรวมข้อมูลการค้าไว้ที่อังค์ถัด WTO หรือที่อื่นๆ ผมเชื่อว่าเราเชื่อมโยงข้อมูลพวกนั้นได้ และต้องมีการช่วยเหลือพวกเรากันเอง และจะช่วยอะไรบ้าง ช่วยในสัดส่วนที่มากขึ้นด้วย
ถือโอกาสนี้ขอแสดงความยินดีกับเพื่อนพนักงานในที่นี้ด้วย ผมมีความเป็นสุขมากที่ได้กลับมาเห็นความกระตือรือล้นในการทำงาน 10 กว่าปีที่หายไปก็ไม่ได้หายไปไหน แต่ยังมีจิตใจติดตามอยู่เสมอ ในวันนี้เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านให้มาพูดคุย และขอฝากสิ่งที่เป็นข้อคิดนี้เพื่อที่จะได้นำไปทบทวนวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป