เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทยสร้างฐานการผลิตเพื่อเชื่อมโยงอาเซียน


         การสร้างพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย เป็นการสร้างฐานการผลิตเพื่อเชื่อมโยงให้เข้ากับอาเซียน และเพื่อการพัฒนาเมืองเขตชายแดนให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเป็นศูนย์กลางการขนส่ง การถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ โดยจะมีเครือข่ายอุตสาหกรรมต่างๆ รวมไปถึงการใช้แรงงานต่างด้าว และการให้บริการท่องเที่ยวระดับภูมิภาคอีกด้วย

           เขตเศรษฐกิจพิเศษ คือ บริเวณพื้นที่ ที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ กำหนดให้เป็นเขตการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน ให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนการบริหารแรงงานต่างด้าวแบบไป-กลับ การให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ  เมื่อในปี 2558 ทางประเทศไทยได้ประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะแรก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดตราด จังหวัดสงขลา  และระยะที่สอง อีก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเชียงราย จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น  โดยมีวัตถุประสงค์ทำขึ้นมาเพื่อสร้างฐานการผลิตเพื่อเชื่อมโยงให้เข้ากับอาเซียน และการพัฒนาเมืองชายแดน โดยมีกลยุทธ์การสร้างเศรษฐกิจพิเศษดังนี้

·       การสร้างพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่ เน้นการพัฒนาบริเวณชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน

·       สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน ให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุน และการบริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ

·       สนับสนุน SMEs และการลงทุนต่อเนื่องของไทย และในประเทศเพื่อนบ้าน

·       จัดระเบียบพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน โดยการบริหารแรงงานต่างด้าวและที่จำเป็น

 

เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย

1. เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก มีพื้นที่ 14 ตำบลติดชายแดนใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด รวม 1,419 ตร.กม. รวมมีเนื้อที่ทั้งหมด (886,875 ไร่) ตากมีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 426 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยทางหลวงหมายเลข 1 และ 32 เป็นสายเอเชีย มีด่านชายแดนแม่สอดเป็นจุดผ่านแดนถาวร ส่วนการขนส่งมีสนามบินพาณิชย์ที่อำเภอแม่สอดและยังมีถนนเชื่อมต่อกับสหภาพเมียนมาร์อีกด้วย สามารถเชื่อมโยงไปยังเมืองย่างกุ้งที่เป็นศูนย์กลาง  ส่วนใหญ่การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศนั้นจะเป็นเครือข่ายอุตสาหกรรมทั้งหมด

2. เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร มีพื้นที่ 11 ตำบลที่ติดชายแดนใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอหว้านใหญ่ อำเภอดอนตาล รวม 578.5 ตร.กม. มีพื้นที่ทั้งหมด (361,542 ไร่) มุกดาหารมีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ 642 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยทางหลวงหมายเลข 2 207 202 2169 และ 212 จะมีด่านชายแดนมุกดาหารเป็นจุดผ่านแดนถาวรเชื่อมต่อกับแขวงสะหวันเขตสปป.ลาว ระหว่างการค้าไทย-สปป.ลาวเป็นอันดับที่สอง ส่วนการคมนาคมขนส่งจะเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว และยังสามารถเชื่อมโยงประเทศเวียดนาม เข้าสู่ท่าเรือดานัง การขนส่งของไทยยังเชื่อมโยงไปยังหลายๆ ประเทศ เช่น ประเทศจีนตอนใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฯลฯ มุกดาหารมีสินค้าขนส่งแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศก็จะเป็นพวกอุตสาหกรรมการเกษตร การไฟฟ้า และโลจิสติกส์ เป็นส่วนใหญ่

3. เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว มีพื้นที่ 4 ตำบล ใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภออรัญประเทศ อำเภอวัฒนานคร รวม 332.0 ตร.กม. รวมมีพื้นที่ทั้งหมด (207,500ไร่) สระแก้วมีระยะทางห่างจากกรุงเทพประมาณ 260 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยทางหลวงหมายเลข 304 จะมีด่านชายแดนอรัญประเทศเป็นจุดผ่านแดนถาวร ส่วนมูลค่าการค้าของไทย- กัมพูชา สูงสุดของประเทศ การขนส่งคมนาคมสเชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบัง และมีถนนเชื่อมโยงกับทางหลวงหมายเลข 6 ของกัมพูชา  เชื่อมโยงกับเส้นทางหมายเลข 71 เข้าสู่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา  จนได้มีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 แห่งได้แก่ ปอยเปต-โอเนียง ซันโค-ปอยเปต สุดท้ายคือเมืองศรีโสภณ  ส่วนสินค้าขนส่งแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศจะเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้า เกษตร และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือต่างๆ มากมาย

4. เขตเศรษฐกิจพิเศษตราด มีพื้นที่ชายแดน 3 ตำบล คือ อำเภอคลองใหญ่ทั้งอำเภอ ได้แก่ ตำบลคลองใหญ่ ตำบลหาดเล็ก ตำบลไม้รูด รวม 50.2 ตร.กม. รวมมีพื้นที่ทั้งหมด (31,375 ไร่) ตราดมีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 420 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยทางหลวงพิเศษหมายเลข 7  344  3 และ 31 มีด่านชายแดนบ้านเล็กเป็นจุดผ่านแดนถาวร เชื่อมต่อกับจังหวัดเกาะกง ของกัมพูชา  ตราดมีสินค้าขนส่งแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศจะเป็นพวกอุตสาหกรรมการเกษตร โลจิสติกส์ นิคมต่างๆ สามารถขนส่งทางสายการบินบางกอกแอร์เวย์ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือสีหนุวิลล์ ของกัมพูชา

5. เขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา มีพื้นที่ 4 ตำบลของ อำเภอสะเดา ได้แก่ ตำบลสะเดา ตำบลสำนักแต้ว ตำบลปาดังเบซาร์ รวม 522.3 ตร.กม. รวมมีพื้นที่ทั้งหมด (345,187.5 ไร่) สงขลามีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ 950 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 และ 2 สายเอเชีย มีด่านแดนสะเดาและแดนปาดังเบซาร์เป็นจุดผ่านแดนถาวร ประเทศมาเลเซียมีมูลการค้าชายแดนสูงสุดอันดับหนึ่งและสองของไทย ส่วนการคมนาคมของจังหวัดสงขลาก็จะมีท่าน้ำลึกสงขลา มีสนามบินพาณิชย์ที่อำเภอหาดใหญ่ มีทางหลวงแผ่นดินและทางรถไฟเชื่อมต่อกับมาเลเซีย  มีท่าเรือปีนังและท่าเรือกลางของประเทศมาเลเซียเป็นพื้นที่การขนส่งที่ดีที่สุด สงขลามีการทำอุตสาหกรรมการส่วนใหญ่เป็นการเกษตร สิ่งทอ เครื่องเรือน เป็นส่วนใหญ่

เขตเศรษฐกิจพิเศษส่วนใหญ่ได้รับการสนับจากภาครัฐ โดยให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน การเงิน และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจาก BOI กรณีเป็นกิจการเป้าหมายและตั้งในอาณาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

สิทธิประโยชน์

ตามประกาศ BOI ที่ 4//2557

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

·          ยกเว้น 8 ปี โดยจะจำกัดวงเงินไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน

·          ลดหย่อนกำไรสุทธิได้จากการลงทุนอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นเวลา 5 ปี

สิทธิประโยชน์อื่นๆ

·          หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่าของค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นเวลา 10 ปี นับจากวันที่มีรายได้ประกอบกิจการ

·          หัดเงินลงทุนในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกร้อยละ 25 ของเงินลงทุน นอกเหนือจากการหักค่าเสื่อมราคาปกติ

อากรขาเข้า

·          ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร

·          ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 5 ปี

การใช้แรงงานต่างด้าว

         อนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในโครงการที่ได้รับการส่งเสริม โดยให้เป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด

 

สิทธิประโยชน์สำหรับกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI

สิทธิประโยชน์

มติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ครั้งที่ 2//2557

ภาษีเงินได้

นิติบุคคล

ลดหย่อนจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 เป็นเวลา 10 รอบระยะเวลาบัญชี

 

มาตรทางการเงิน

สิทธิประโยชน์

มติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ครั้งที่ 2//2557

เงินกู้

ดอกเบี้ยผ่อนปรน รายละ 1-20 ล้านบาท

 

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากกรมศุลกากร กรณีตั้งเขตปลอดอากรและคลังสินค้าทัณฑ์บน

·       ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร เป็นเขตปลอดอากรและคลังสินค้าทัณฑ์บน

·       ยกเว้นอากรนำเข้าวัตถุดิบที่นำมาผลิตเพื่อส่งออก เป็นเขตปลอดอากรและคลังสินค้าทัณฑ์บน

·       ยกเว้นอากรขาออก เป็นเขตปลอดอากรและคลังสินค้าทัณฑ์บน

·       ยกเว้นอากรการกำจัดหรือทำลายวัสดุ เป็นเขตปลอดอากรและคลังสินค้าทัณฑ์บน

·       ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก  เป็นเขตปลอดอากรและคลังสินค้าทัณฑ์บน

·       ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับสินค้านำเข้า – ส่งออก  เป็นเขตปลอดอากรและคลังสินค้าทัณฑ์บน

·       ไม่กำหนดระยะเวลาเก็บสินค้า  เป็นเขตปลอดอากรและคลังสินค้าทัณฑ์บนไม่เกิน 2 ปี