กม.ล้มละลาย ช่วยเอสเอ็มอีพลิกฟื้นได้จริง


กม.ล้มละลาย ช่วยเอสเอ็มอีพลิกฟื้นได้จริง

กรมบังคับคดี ออกมาย้ำว่า กฎหมายล้มละลายฉบับใหม่ ที่เปิดให้มีการยื่นขอฟื้นฟูกิจการ โดยครอบคลุมลูกหนี้เอสเอ็มอี ทั้ง 7 กลุ่ม บนมูลหนี้รายละไม่เกิน 2 ล้านบาทนั้น โอกาสที่จะฟื้นฟูสำเร็จมีสูงขึ้น

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เปิดเผยว่า การแก้ไขกฎหมายล้มละลาย เพื่อเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอี ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลยื่นขอฟื้นฟูกิจการได้นั้น ก็เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดา ที่มีหนี้สินจากการดำเนินกิจการไม่เกิน 2 ล้านบาท สามารถยื่นฟื้นฟูกิจการได้ โดยหลักคิดของกฎหมายล้มละลายฉบับที่ 9 นี้ คือ สะดวก  รวดเร็ว และประหยัด เพราะเป็นหัวใจสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี โดยตรง

ส่วนเหตุผลที่ต้องการให้ เอสเอ็ม มีโอกาสฟื้นฟูกิจการนั้น  ก็เพื่อรักษา เอสเอ็มอี ไว้ ให้อยู่ในระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ซึ่งตามกฎหมายฉบับนี้ หากเจ้าหนี้เห็นชอบกับแผนฟื้นฟูในการปรับโครงสร้างหนี้  // ลูกหนี้ก็สามารถกลับมาประกอบกิจการได้ตามปกติ โดยไม่ต้องล้มละลาย

การฟื้นฟูกิจการ จึงเป็นกระบวนการและทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถแก้ไขปัญหาทางการเงินของลูกหนี้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่อง และอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้

นิยามของลูกหนี้ ตามกฎหมายล้มละลายฉบับที่ 9 คือ ต้องเป็นธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. หรือจดทะเบียนกับหน่วยงานอื่นของรัฐ  และหนี้ที่จะขอปรับโครงสร้าง ต้องเป็นหนี้ที่เกิดจากการประกอบกิจการเท่านั้น

กฎหมายฉบับนี้ ยังกำหนดให้มีการจัดทำแผนฟื้นฟูล่วงหน้า ซึ่งเจ้าหนี้ให้ความเห็นชอบ // ก่อนถึงกระบวนการศาล //และหากมีเจ้าหน้าหลายราย // แผนฟื้นฟูต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้  2 ใน 3 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด // ระยะเวลาฟื้นฟูกิจการนั้น กำหนดไว้ไม่เกิน 3 ปี เนื่องเพราะกิจการ เอสเอ็มอี ไม่ซับซ้อน ขณะที่เงินวางศาล ก็ลดลงเหลือเพียง 10,000 บาท

ทั้งนี้ // ข้อมูลจาก สสว. ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีธุรกิจ เอสเอ็มอี อยู่ราว 2.7 ล้านราย // เป็นนิติบุคคลราว 600,000 ราย ส่วนที่เหลือ // เป็นบุคคลธรรมดา // มีการจ้างแรงงานไม่น้อยกว่า 11 ล้านคน และในปี 2558 พบว่า ธุรกิจเอสเอ็มอี มีสัดส่วนถึง 42.3% ของ จีดีพี ของประเทศ