โครงการเครดิตเทอม 30 วัน CPF สร้างความพึงพอใจให้คู่ค้า สนับสนุน SME เสริมสภาพคล่อง ติดปีกธุรกิจสู้วิกฤตโควิด-19
เมื่อเร็วๆ นี้ นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็ก ในส่วนของซีพีเอฟ พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดย่อม หรือ SME ทุกราย
โดยให้บริษัท และผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ CP CP Freshmart และ BKP ปรับระบบการชำระหนี้ให้มีระยะเวลาสั้นลง จ่ายค่าสินค้าและบริการให้แก่คู่ค้าหรือซัพพลายเออร์โดยเฉพาะกลุ่ม SME ภายในระยะเวลา 30 วัน นับจากวันที่ได้ตรวจรับสินค้าหรือบริการ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบ เสริมสภาพคล่องให้คู่ค้าของซีพีเอฟนำเงินไปใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด คู่ค้าเอสเอ็มอี 6,000 ราย ซัพพลายเออร์ของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ทยอยรับประโยชน์จากโครงการชำระค่าสินค้าและบริการ เครดิตเทอมภายใน 30 วัน (Faster Payment) ปรับการบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มุ่งรักษาธุรกิจ และการจ้างงานต่อเนื่อง ร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย
โดยคู่ค้าหลายรายของซีพีเอฟ มีความพึงพอใจจากโครงการเครดิตเทอม 30 วันอย่างเต็มที่ โดยยอมรับว่านโยบายการลดระยะการจ่ายเงินค่าสินค้าของบริษัทฯ ช่วยให้มีกระแสเงินสดมาช่วยบริหารจัดการธุรกิจไม่หยุดชะงัก และช่วยต่ออายุให้การดำเนินงานมีความคล่องตัวขึ้นและสามารถเดินหน้าธุรกิจได้รต่อเนื่อง แม้สถานการณ์โควิด-19 ยังต้องจับตาเฝ้าระวัง
นายเสกภณ บุญเตชะธนาวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขอบคุณ 2562 ผู้จัดจำหน่ายสินค้าสำหรับห้องปฏิบัติการ จ.สระบุรี กล่าวว่า โครงการเครดิตเทอม 30 วันของซีพีเอฟ ช่วยสนับสนุนทางการเงินให้กับผู้ประกอบการ SME ขนาดเล็กอย่างบริษัทขอบคุณ ได้เป็นอย่างดี ช่วยให้สภาพคล่องของบริษัทดีขึ้นกว่าเดิม เอื้อให้บริษัทสามารถปรับเปลี่ยน การจัดจำหน่าย และวางแผนการนำเข้าสารเคมีได้คล่องตัวขึ้น ช่วยให้ต้นทุนในการนำเข้าสินค้าต่ำลง และมีความมั่นใจที่จะขยายธุรกิจต่อไปได้
นายกฤษฎา สิงหเดชา บริษัท ไวภพ วิศวกรรม จำกัด บริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นคู่ค้า ซีพีเอฟ มานานหลายปี กล่าวว่า โครงการเครดิตเทอม 30 วัน ของซีพีเอฟ มีประโยชน์มากกับผู้ประกอบการ SME ที่อยู่ระหว่างการฟื้นตัว หลังปริมาณงานและยอดสั่งซื้อลดลงมาก การได้รับเงินเร็วขึ้นช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ มีเงินใช้จ่ายในธุรกิจ และลงทุนมากขึ้นในช่วงสภาพที่เศรษฐกิจขาลง
นางสาวนฤมล แสงมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอ็มพี ยูนิฟอร์ม จำกัด อยู่จังหวัดสระบุรี ผู้ผลิตชุดยูนิฟอร์มให้อุตสาหกรรมอาหารทั่วประเทศ กล่าวว่า ซีพีเอฟเป็นหนึ่งในลูกค้าหลักในช่วงโควิด-19 และได้รับผลกระทบยอดสั่งซื้อลดลง ไม่ต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น ขณะนี้แม้ว่ายอดสั่งซื้อจะเริ่มกลับมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่เท่ากับก่อนที่เกิดโควิด เพราะลูกค้าหลายรายพยายามลดต้นทุนการผลิตโดยไม่สั่งซื้อใหม่ การได้รับเครดิตเทอมที่เร็วขึ้นช่วยสร้างโอกาสในการเพิ่มยอดสั่งซื้อและลูกค้าใหม่ ๆ ได้โดยไม่ต้องกู้เงิน ไม่มีภาระดอกเบี้ย
ด้าน นายพิชิต กาญจนประพิณ เจ้าของกิจการ หจก.ไทยรัตน์วัสดุภัณฑ์ (1997) ผู้จัดจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ใช้ในโรงงาน จ.นครราชสีมา กล่าวว่า ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ยอดสั่งซื้อสินค้าของบริษัทลดลงมาก เครดิตเทอม 30 วันเป็นโครงการที่ดี ช่วยซัพพลายเออร์ SME ได้รับผลกระทบจากยอดขายลดลง การที่รายเล็ก ๆ มีเงินเข้ามาหมุนเวียนในธุรกิจเร็วขึ้น ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน และมีกำลังในการรักษาธุรกิจให้เดินหน้าต่อได้ และรักษาคนงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลดีต่อครอบครัวของลูกจ้างได้อีกด้วย
สำหรับผู้ประกอบการ SME ถือเป็นหัวใจสำคัญในห่วงโซ่การผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพ ปลอดภัย มาตรฐานสากล แก่ผู้บริโภคของซีพีเอฟ นอกจากนี้ ยังมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งการผลิต การจ้างงาน การลงทุน ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ โครงการ Faster Payment จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ซีพีเอฟจับมือคู่ค้าเพื่อเดินหน้าฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างมั่นคงและเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ที่สำคัญเป็นแนวทางช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งหลังสถานการณ์โควิด-19
ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ร้านค้าและแบรนด์สินค้าในกลุ่มของซีพีเอฟ ทั้ง CP, CP Freshmart, ห้าดาว เชสเตอร์ ดัค กาลบี้ CP-HiLai เป็นต้น ประกาศชำระเงินค่าสินค้าภายใน 30 วัน ตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นมา โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือคู่ค้า SME ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท รวมทั้งคู่ค้าที่เป็นรายบุคคลกว่า 6,000 รายทั่วประเทศ เพื่อรักษาธุรกิจให้ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นการร่วมสนับสนุนฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ