พาไปส่องมูลค่าตลาดกาแฟนอกบ้าน กับแฟรนไชส์ร้านกาแฟ 2 แบรนด์ดัง มิกก้า คาเฟ่ (Mikka Cafe) & คาเฟ่ อเมซอน (Cafe Amazon)


ตลาดกาแฟนอกบ้านหรือธุรกิจร้านกาแฟ นับว่าเติบโตอย่างก้าวกระโดดและเป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด จากการขยายตัวของร้านกาแฟทั้งในส่วนของผู้ประกอบการอิสระ และผู้ประกอบการแบบเครือข่ายแฟรนไชส์ รวมไปถึงร้านสะดวกซื้อที่ก็ลงมาจับตลาดนี้ในแต่ละสาขาของตนเอง ดังจะเห็นได้จากอัตราการบริโภคกาแฟสดของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 1.2 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือประมาณ 300 แก้ว และมีร้านกาแฟ เกือบ 10,000 ร้านทั่วประเทศในปี 2563

ซึ่งสอดรับกับเทรนด์ผู้บริโภคที่ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ไลฟ์สไตล์ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว พร้อมกับประสบการณ์ระหว่างดื่มกาแฟ ที่แต่ละค่ายต่างก็ใส่ใจกับการปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค

หากย้อนไปดูสถิติตัวเลขปี 2563 ตลาดกาแฟมีมูลค่า 42,537 ล้านบาท แบ่งเป็นกาแฟสด 4,119 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.7 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.8 ต่อปี กาแฟสำเร็จรูป 38,418 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.3 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.8 ต่อปี

.

จนกระทั้ง เมื่อบ้านเมืองเราเข้าสู่ภาวะโรคระบาด ส่งผลให้ตลาดรวมกาแฟในไทยเรายังคงทรงตัว ไม่ได้เติบโต แต่กระนั้นก็ยังไม่ได้ลดลง เพราะหากให้แยกประเภทตลาดกาแฟที่มีมูลค่ารวม 60,000 ล้านบาท จะพบว่า ตลาดกาแฟในบ้านยังคงมีมูลค่าถึง 33,000 ล้านบาท ที่ก็นับได้ว่าเป็นอานิสงส์จากโรคโควิด ส่วนตลาดกาแฟนอกบ้านมีมูลค่าอยู่ที่ 27,000 ล้านบาท ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากอัตราการเติบโตลดลงจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วงโควิด แต่เมื่อนำมาเฉลี่ยรวมกันแล้ว ก็ยังถือว่าเป็นตลาดที่ยังพอทรงตัว ไม่ได้ทรุดหนักเหมือนประเภทอื่น

ขณะที่มองเจาะลึกลงไปที่กาแฟนอกบ้านในจำนวนนั้นเป็นมูลค่าตลาดร้านกาแฟราว 17,000 ล้านบาท ที่จะยังเติบโตต่อเนื่องจากเทรนด์ของร้านกาแฟที่ยังคงมีฐานจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการสถานที่เพื่อความผ่อนคลาย พบปะสังสรรค์นอกบ้าน รวมถึงต้องการดื่มกาแฟที่มากกว่าเมนูที่หาได้ทั่วไป

เห็นได้จากร้านกาแฟเกิดใหม่ที่ผุดขึ้นอยากต่อเนื่อง ที่เน้นเป็นร้านกาแฟ Specialty เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของตนเอง พร้อมมากับการใช้กลยุทธ์สู้ด้วยบรรยากาศของร้านที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ตรงกลุ่มผู้บริโภค และมีเมนูเฉพาะในร้าน สำหรับดึงดูดผู้บริโภคให้มาใช้บริการ

วันนี้เราจึงจะพาผู้ประกอบการที่สนใจตลาดกาแฟนอกบ้าน ที่แม้จะประสบปัญหาในภาวะโรคระบาด ซึ่งทำได้เพียง Take away หรือ Delivery แต่ก็ยังคงสามารถเดินต่อไปได้ด้วยลู่ทางที่ยังพอมองเห็นโอกาสสดใสในอนาคต กับโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟ 2 แบบ 2 สไตล์ ที่แม้จะแตกต่าง หากแต่นับว่าอยู่ในฐานผู้บริโภคที่ใกล้เคียงกัน

.

.

มิกก้า คาเฟ่ (Mikka Cafe)

“มิกก้า คาเฟ่” ร้านกาแฟสไตล์มินิมอล ลุคทันสมัย ที่มีที่มาจากไอเดียการนำ Pain Point จากอาฟเตอร์ ยู บริษัทแม่ที่ประกอบธุรกิจร้านขนมหวาน มาพัฒนาต่อเพื่อสอดรับกับโอกาสในตลาดร้านกาแฟที่เติบโตและยังมีช่องว่างให้ลงเล่น ในช่วงระดับราคา 45-65 บาทต่อแก้ว ซึ่งยังไม่ค่อยมีร้านที่ตกแต่งสไตล์มินิมอลพร้อมคุณภาพของเครื่องดื่มแบบนี้

ภายใต้แนวคิดถูก ดี มีรสนิยม โดยตั้งเป้าเจาะกลุ่มพนักงานออฟฟิศ กลุ่มวัยรุ่น และคนทั่วไปที่ชื่นชอบการกินกาแฟที่ราคาเบา ในบรรยากาศร้านที่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่

และด้วยราคาที่สามารถเข้าถึงง่าย มีการปรับลดขั้นตอนการจัดการ ระบบหลังบ้านที่ยุ่งยาก ใช้พื้นที่ในการเปิดหน้าร้านไม่มาก จึงทำให้เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการลงทุน เกิดเป็นจุดกำเนิดของการสร้างโมเดลร้านกาแฟ Mikka Cafe ที่มีศักยภาพเหมาะที่จะทำแฟรนไชส์ และได้เปิดให้บุคคลที่สนใจได้เข้าไปร่วมธุรกิจนี้

.

.

Franchisee Mikka Cafe & Bakery

– ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 150,000 บาท
– พื้นที่ 8 – 10 ตรม.(พิจารณาจากโลเคชั่นเป็นหลัก)
– Royalty Fee 6% ของรายได้
– อายุสัญญา 3 ปี

สิ่งที่จะได้รับ

– มีอุปกรณ์ครบถ้วน สามารถเปิดร้านได้ทันที
– สนับสนุนวัตุดิบของร้านในราคาพิเศษ
– มีระบบเทรนนิ่งฟรี ไม่มีประสบการณ์มาก่อนก็เปิดร้านได้
– มีทีมงานช่วยดูแลเรื่องการตลาด
– สนับสนุนระบบการขายหน้าร้าน
– มีทีมงานดูแลการเปิดร้าน

ช่วงราคาเครื่องดื่มโดยประมาณ

– Min price: 45-65 บาท

.

.

มูลค่าตลาด ผลประกอบการ และทิศทางในอนาคต

ยอดขายสาขาแฟรนไชส์ Mikka ที่เติบโตตามความคาดหมาย

สาขาของแฟรนไชส์ร้านกาแฟมิกก้า (Mikka Cafe) สามารถเติบโตได้ตามความคาดหมาย ที่ทางบริษัทฯต้นสังกัดได้วางไว้ โดยเน้นการขยายสาขาผ่านรูปแบบแฟรนไชส์เป็นหลัก ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร รวมถึงการขยายสาขาแฟรนไชส์สู่หัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ โดย ณ สิ้นสุดไตรมาส 1 ปี 2564 มีสาขาร้านกาแฟมิกก้าในรูปแบบแฟรนไชส์ทั้งหมด 41 สาขา

รายได้จากการขายสินค้าและวัตถุดิบในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 9 ล้านบาท ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 6 ล้านบาท หรือร้อยละ 200 จากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 เนื่องจากการรับรู้รายได้การขายวัตถุดิบให้กับแฟรนไชส์ Mikka Cafe

ส่วนรายได้จากการขายแฟรนไชส์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 2 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 300 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์จากการขยายสาขาของ Mikka Cafe

.

ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 กับไตรมาสที่ 1 ปี 2563 (YoY)

กำไรสุทธิในไตรมาสที่ 1 ปี2564 มีมูลค่า 12 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 1 ล้านบาท หรือร้อยละ 8 จากไตรมาสที่ 1 ปี 2563 ซึ่งสอดคล้องกับการลดลงของรายได้รวม รวมถึงการรับรู้ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งไตรมาส

อัตรากำไรสุทธิในไตรมาสที่ 1 ปี2564 เท่ากับร้อยละ 6.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากไตรมาสที่ 1 ปี2563 เนื่องจาก บริษัทฯ สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการขายและการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการออกแผนนโยบายการลดต้นทุน

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) บริษัทแม่ของ Mikka Cafe มีสินทรัพย์รวมมูลค่า 1,245 ล้านบาท ลดลง 58 ล้านบาท หรือร้อยละ 4 จาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563

.

ร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน (Cafe Amazon)

หากพูดถึงชื่อนี้ คงมีน้อยคนที่จะไม่รู้จัก กับร้านกาแฟ Cafe Amazon ซึ่งถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 2545 โดยจุดเริ่มต้นมาจากการมองเห็นโอกาสในการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดของสถานีบริการน้ำมัน ปตท. จึงได้เริ่มปั้นธุรกิจร้านกาแฟในสถานีบริการน้ำมัน ที่ต่อมานับได้ว่า อเมซอน ได้ยืนหนึ่งเป็นเรือธงของเครือค้าปลีก ปตท. หรือที่รู้จักกันในชื่อ OR ซึ่งประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและธุรกิจค้าปลีกสินค้านั่นเอง

โดยพุ่งเป้าจับตลาดเพื่อตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคและนักเดินทาง ที่มักจะเข้าปั้มและจอดพักรถเป็นเวลานาน ซึ่งร้าน Cafe Amazon ก็ได้ผ่านเวลามาอย่างยาวนาน และถูกพัฒนาให้เป็นจุดนัดพบ แหล่งพักผ่อน สำหรับคนเดินทาง

เน้นตกแต่งร้านด้วยโทนสีเขียว นำเสนอภาพลักษณ์แนวธรรมชาติ โดยใช้สวนหย่อมและน้ำพุเพื่อสร้างบรรยากาศ ร่มรื่น เย็นสบาย ความรู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของร้าน Cafe Amazon เปรียบเสมือนเป็นโอเอซิสของคนเดินทาง

และด้วยเอกลักษณ์รสชาติเครื่องดื่มกาแฟที่เข้มข้น จึงกลายเป็นร้านกาแฟที่ผู้คนต่างแวะเวียนมาใช้บริการกันอย่างหนาตา เรียกได้ว่าเป็นแบรนด์ต้นๆที่สามารถเข้าไปอยู่ในใจคนไทยทั่วไปได้

.

.

Franchisee Cafe Amazon

– Franchise fee 150,000 บาท
– ค่า Royalty Fee + ค่า Marketing Fee 3% + 3% ของยอดขายรายเดือน
– ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (POS) 24,000 บาท/ปี
– อายุสัญญา 6 ปี (Renovate ร้านทุก 3 ปี)

.

.
รูปแบบ ในอาคาร (Shop)

– ขนาดพื้นที่ 40 ตร.ม ขึ้นไป
– ค่าก่อสร้าง, งานตกแต่ง, งานระบบ 1,200,000 – 2,500,000 บาท

– ค่าออกแบบ 40,000 – 100,000 บาท
– อุปกรณ์ภายในร้าน 779,000 บาท
– ค่าประกันแบรนด์ 100,000 บาท
– ค่าดําเนินการก่อนเปิดร้าน ** 80,000 บาท

รวม (ไม่รวม VAT)*** 2,349,000 – 3,709,000 บาท

.

.

รูปแบบ นอกอาคาร (Stand Alone)

– ขนาดพื้นที่ 100-200 ตร.ม (รวมสวนหย่อม)
– ค่าก่อสร้าง, งานตกแต่ง, งานระบบ 1,200,000 – 3,000,000 บาท

– ค่าออกแบบ 40,000 – 100,000 บาท
– อุปกรณ์ภายในร้าน 779,000 บาท
– ค่าประกันแบรนด์ 100,000 บาท
– ค่าดําเนินการก่อนเปิดร้าน ** 80,000 บาท

รวม (ไม่รวม VAT)*** 2,649,000 – 4,209,000 บาท

สิ่งที่จะได้รับ

– สิทธิในการใช้แบรนด์ เครื่องหมายการค้า
– สิทธิในการใช้ระบบ POS
– การใช้สูตร / ซื้อวัตถุดิบ สินค่า Cafe Amazon
– คู่มือการปฏิบัติการ ร้าน Cafe Amazon
– อบรมการบริหารจัดการร้าน
– จัดกิจกรรมทางการตลาด
– ช่วยเหลือช่วงเปิดร้าน ให้คําแนะนํา
– ออกแบบร้าน / เตรียมความพร้อมก่อนเปิดร้าน

ช่วงราคาเครื่องดื่มโดยประมาณ

– Min price: 50-75 บาท

.

มูลค่าตลาด ผลประกอบการ และทิศทางในอนาคต

– มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ร้านกาแฟอเมซอน มีสาขาทั้งสิ้น 3,440 สาขา
– แบ่งเป็น ในไทย 3,168 สาขา 10% เป็นของ ปตท.โออาร์
– ส่วนที่เหลือเป็นลักษณะแฟรนไชส์ ประมาณ 63% เป็นสาขาในปั๊มน้ำมัน
อีก 37 % เป็นสาขาตั้งอยู่นอกปั๊ม

-โออาร์มีแผนขยายร้านกาแฟอเมซอนให้ครอบคลุมกว่า 4,700 สาขา ภายในปี พ.ศ. 2565
– ซึ่งภายในปี 2568 จะขยายสาขาเพิ่มเป็น 5,800 สาขาทั่วประเทศ
– และตั้งเป้าขยาย Cafe Amazon ในต่างประเทศ ครอบคลุมกว่า 550 สาขา โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV

ผลการดำเนินการในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เครือ OR มีกำไรสุทธิ 4,002 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,079 ล้านบาท หรือคิดเป็น 36.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (QoQ) หรือเพิ่มขึ้น 2,106 ล้านบาท หรือมากกว่า 100% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2563 (YoY)

.