แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาหลายอุตสาหกรรม หลายธุรกิจจะต้องประสบกับภาวะวิกฤติอันเป็นผลพวงมาจากโรคระบาด แต่หนึ่งในธุรกิจที่ยังคงยืนท้าทายได้ในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ก็คือสถาบันทางการเงิน เราจะเห็นได้ว่าธุรกิจในหมวดนี้ ทั้งที่เป็นของรัฐและของเอกชน ยังคงมีการขับเคี้ยวกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่ได้ช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดแค่เพียงรายใหญ่เท่านั้น แม้กระทั้งการปล่อยสินเชื่อออนไลน์ หรือสถาบันการเงินหน้าใหม่ก็มีผุดให้เราเห็นอยู่เนือง ๆ แม้จะมีการปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์ แต่เราก็ไม่อาจปฎิเสธได้ว่า ธุรกิจการเงิน ยังคงไปต่อได้ แค่จะมีหน้าตาเปลี่ยนไปอย่างไรดังเช่น ธนาคารดังแห่งหนึ่งที่ได้ตัดสินใจ แปลงร่างใหม่ ให้ธุรกิจของตัวเองขยายขอบเขตไปได้ไกลขึ้น วันนี้เราเลยจะพาไปดูผลประกอบการย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี 64 จวบจนถึงเดือน 9 ว่าแบงก์แต่ละแห่งมีความเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง
.
.
ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยรายงานกำไรสุทธิสำหรับ 9 เดือน ปี 2564 จำนวน 20,189 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากการรวมรายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารเพอร์มาตาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 รวมถึงการลดลงของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากการบริหารต้นทุนเงินรับฝาก โดยมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 2.10 สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นจากค่าธรรมเนียมจากธุรกิจหลักทรัพย์ ค่าธรรมเนียมจากการอำนวยสินเชื่อ รวมถึงกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาด สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ขณะที่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานลดลงเป็นร้อยละ 48.4 ทั้งนี้ ธนาคารยังคงยึดหลักความระมัดระวังในการตั้งสำรอง โดยพิจารณาปัจจัยผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า
ธนาคารกรุงไทย
ผลประกอบการช่วง 9 เดือนของปี 2564 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 16,645 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 24,291 ล้านบาท แม้ว่าลดลงร้อยละ 31.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังเป็นการตั้งสำรองในระดับสูง ส่งผลให้ Coverage ratio เท่ากับร้อยละ 163.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 147.3 ณ สิ้นปี 2563 และ NPLs Ratio-Gross อยู่ที่ร้อยละ 3.57 ลดลงจากร้อยละ 3.81 ณ สิ้นปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ดี ผลจากการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิด และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองและภาษีเงินได้ เท่ากับ 47,841 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากรายได้รวมจากการดำเนินงานที่ลดลงร้อยละ 8.3 ตามรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลง แม้ว่าสินเชื่อจะขยายตัวได้ดีถึงร้อยละ 9.6 จากสิ้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงเดียวกันของปีก่อนธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยพิเศษเงินให้สินเชื่อจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันจำนอง รวมถึงการลดลงของดอกเบี้ยเงินลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งส่งผลให้ NIM เท่ากับร้อยละ 2.52 ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงร้อยละ 3.8 จากการบริหารจัดการในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 44.28 ใกล้เคียงกับร้อยละ 44.45 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไม่รวมรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ)
ธนาคารกรุงศรีฯ
กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) เผยผลประกอบการ 9 เดือนแรกของปี 2564 กำไรสุทธิจำนวน 27,409 ล้านบาท ดันสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่เติบโต 4.4% และ 4.2% ตามลำดับ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างต่อเนื่องผ่านหลายมาตรการเชิงรุก ตอกย้ำพันธกิจของธนาคารในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
กรุงศรียังคงให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่มีความเปราะบาง เพื่อช่วยลดความรุนแรงของผลกระทบจากโรคระบาด โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่สามที่ภาวะเศรษฐกิจอ่อนแรงลงอย่างชัดเจน ส่งผลให้ยอดสินเชื่อภายใต้มาตรการช่วยเหลือเพิ่มขึ้นเป็น 233,617 ล้านบาท นอกจากนี้ ธนาคารได้สนับสนุนโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดรวม 25,709 ล้านบาท ณ
สิ้นเดือนกันยายนปี 2564
ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารและบริษัทย่อยมีกําไรสุทธิจํานวน 28,151 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนจํานวน 11,922 ล้านบาท หรือ 73.47% หลัก ๆ เกิดจากในงวด 9 เดือน ปี 2564 ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสํารองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss: ECL) ลดลง 28.28% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยงวด 9 เดือนของปีก่อนธนาคารและบริษัท ย่อยได้ตั้งสํารองฯ ในระดับที่สูงเป็นจํานวนถึง 42,879 ล้านบาท ภายใต้หลักความระมัดระวัง
เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของ สภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวจากสถานการณ์โควิด-19 อันเป็นวิกฤติการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในลักษณะนี้มาก่อน รวมถึงผลที่อาจจะ เกิดขึ้นจากมาตรการของทางการที่ให้สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ทําให้ต้องติดตามดูแลคุณภาพ หนี้อย่างใกล้ชิด แม้ภาวะเศรษฐกิจไทยในงวด 9 เดือนของปี 2564 จะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่และมาตรการควบคุมการระบาดที่มีความเข้มงวดในหลายพื้นที่ ธนาคารและบริษัทย่อยได้ประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
และยังคงให้ความช่วยเหลือ ลูกค้าอย่างต่อเนื่องผ่านมาตรการต่าง ๆ รวมถึงการปล่อยสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ลูกค้า ธนาคารและบริษัทย่อยจึงได้ พิจารณาตั้งสํารองฯ ในงวด 9 เดือนของปีนี้รวมทั้งสิ้นจํานวน 30,752 ล้านบาท ซึ่งยังคงเป็นระดับสํารองฯ ภายใต้หลักความ ระมัดระวัง
ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ ในไตรมาส 3 ของปี 2564 จำนวน 8,818 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 90.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากความสามารถในการทำกำไรจากของธุรกิจที่ดีขึ้นและการตั้งเงินสำรองที่ลดลง ในขณะที่กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองมีจำนวน 21,097 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลของการเติบโตที่แข็งแกร่งของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยและการบริหารค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ สำหรับเก้าเดือนแรกของปี 2564 ธนาคารมีกำไรสุทธิจานวน 27,720 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ในไตรมาส 3 ของปี 2564 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 23,533 ล้านบาท ลดลง 0.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสะท้อนถึงแรงกดดันต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิภายใต้สภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ลดลง
รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 13,377 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการขยายตัวของธุรกิจการขายผลิตภัณฑ์ประกันผ่านธนาคารและธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง การฟื้นตัวของธุรกรรมการค้า และกำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีจำนวน 15,813 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 0.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลของมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของธนาคารอยู่ที่ 42.8% ในไตรมาส 3 ของปี 2564
ธนาคารได้ตั้งเงินสำรองจำนวน 10,035 ล้านบาท สำหรับไตรมาส 3 ของปี 2564 และเป็นจำนวน 30,071 ล้านบาท สำหรับเก้าเดือนแรกของปี 2564
อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 อยู่ที่ 3.89% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 3.79% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 ในขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารยังอยู่ในระดับสูงที่ 137.6% และเงินกองทุนตามกฎหมายของธนาคารยังอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18.4%
ธนาคารทหารไทยธนชาต
กําไรจากการดําเนินงานและผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กําไรจากการดําเนินงานก่อนหักสํารองฯ (PPOP) อยู่ที่ 8,438 ล้านบาทในไตรมาส 3/2564 ซึ่งลดลง ร้อยละ 0.8 QoQ และร้อยละ 4.2 YoY กําไรจากการดําเนินงานก่อนหักสํารองฯสําหรับรอบ 9 เดือน ปี 2564 อยู่ที่ 25,839 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.9 YoY
ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss: ECL) ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยืดเยื้อ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างความท้าทายในการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ ธนาคารยังคงความ รอบคอบและติดตามคุณภาพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิดด้วยโมเดลการวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิต (ECL) ที่มี ความรอบคอบและพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตผ่าน Management Overlay ในไตรมาสนี้ ธนาคารตั้งสํารองฯ เป็นจํานวน 5,527 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่ คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อที่ 161 เบสิสพอยท์ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้าแต่ลดลง ร้อยละ 19.5 จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน การลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก ฐาน ECL ที่สูงในไตรมาส 3/2563 เนื่องจากธนาคารได้ตั้งสํารองฯ ในระดับสูงภายใต้การคาดการณ์ใน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ สําหรับรอบ 9 เดือนปี 2564 ECL อยู่ที่จํานวน 16,497 ล้าน บาท ลดลงร้อยละ 0.6 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยธนาคารยังคงตั้งสํารองในระดับสูง ในขณะที่ รักษาระดับเงินกองทุนที่เพียงพอสําหรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในอนาคตและบรรเทาผลกระทบจาก มาตรการช่วยเหลือสิ้นสุดลง
กําไรสุทธิ หลังตั้งสํารองฯ และหักภาษี กําไรสุทธิในไตรมาส 3/2564 อยู่ที่ 2,359 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 6.9 จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.7 จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน สําหรับรอบ 9 เดือนปี 2564 กําไรสุทธิอยู่ที่ 7,675 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.5 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งคิดเป็นอัตรา ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ ROE ที่ร้อยละ 5.0