เอาใจไปเลย! 10 นิสัยของเจ้านายที่เจ๋งสุด


การเข้าทำงานไม่ว่าที่ไหนก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยคือการพบเจอกับผู้คนมากหน้าหลายตา หนึ่งในนั้นคือ “หัวหน้า” ที่เราไม่มีทางรู้เลยว่าจะพบเจอในลักษณะไหน จนกว่าจะได้ร่วมกันสักระยะหนึ่ง

นี่คือสไตล์และนิสัยของเจ้านายที่ตรงกันข้าม ซึ่งนำมาเล่าสู่กันฟัง

เจ้านายประเภทไม่เอาไหน

  • ไม่ให้ความสำคัญกับพนักงาน เห็นความการทำงานในองค์กรเป็นเพียงหน้าที่เท่านั้น
  • ไม่สนับสนุนพนักงาน ทั้งด้านเครื่องมือ ข้อมูล ที่จะช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในการทำงาน
  • ไม่ค่อยสนใจชีวิตส่วนตัวของพนักงาน ไม่มีการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน
  • พนักงานไม่รู้ถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของงานที่ทำอยู่ รวมถึงการทำงานของพวกเขามีความสำคัญต่อลูกค้าหรือผู้บริโภคอย่างไร ซึ่งทั่วไปวัฒนธรรมของการทำงาน คือ ทำงานตามการว่างจ้างให้ประสบความสำเร็จ และเก็บเงินลูกค้าในที่สุด
  • ไม่กำหนดแผนการทำงาน พนักงานทำได้เพียงแบบวันต่อวัน รวมถึงไม่สอบถามความคืบหน้าของงานว่าไปถึงไหนแล้ว
  • พนักงานถูกปล่อยอย่างเดียวดาย ไม่มีการให้คำแนะนำแต่อย่างใด
  • มักสื่อสารทางเดียว ไม่อนุญาตให้พนักงานเสนอความคิดเห็น หรือสั่งงานผ่านคนอื่นแล้วมาบอกต่อพนักงานอีกที
  • ตัดสินเรื่องต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดยไม่มองทุกด้านของปัญหาให้ละเอียด หรือข้อเสนอแนะจากบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ดีเสียก่อน
  • สร้างความแตกแยกให้กับพนักงาน ด้วยนำประเด็นร้อนๆมาถกเถียงกัน

เจ้านายประเภทรักเลย

  • ให้ความรู้สึกถึงการมีส่วนร่วม เป็นส่วนหนึ่งของทีม
  • บอกเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการทำงานอย่างชัดเจน ทำให้พนักงานเข้าใจกับงานที่ทำอยู่
  • บอกผลตอบรับงานที่ทำของพนักงานแต่ละคน
  • สร้างสรรค์โอกาสให้พนักงานได้พัฒนาและเติบโตไปข้างหน้า ด้วยการมอบหมายงานที่มองว่าจะเพิ่มพูนความรู้และทักษะ
  • เปิดโอกาสให้พนักงานได้เสนอไอเดีย หรือข้อเสนอแนะ เพื่อสร้างความกล้าแสดงออก เสริมสร้างประสบการณ์
  • ให้ความยืดหยุ่นในการทำงาน สร้างบรรยากาศการทำงานให้เหมือนกับครอบครัว คนรู้จัก
  • ให้อิสระพนักงานในการทำงาน เปิดโอกาสให้ตัดสินใจ
  • มีนโยบายการทำงานที่เปิดกว้าง
  • มีเวลาให้คำปรึกษาพนักงานอาจจะเป็นสัปดาห์ละครั้ง เพื่อรับทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้นขององค์กร
  • ทำงานด้วยความโปร่งใส่ ไม่เล่นพวกพ้อง รวมถึงแบ่งปันข้อมูลที่มีประโยชน์แก่พนักงาน

เหล่านี้คือตัวอย่างของหัวหน้าที่เราต้องพบเจอในช่วงชีวิตของการทำงาน อยากจะรู้แล้วว่า “หัวหน้า” ของคุณตอนนี้เป็นอย่างไร