หนุนเกษตรกรปรับตัวหันใช้นวัตกรรมภาคเกษตรเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับโลกในยุคปัจจุบัน
ภาคเกษตรต้องมีการปรับตัวกันมากขึ้น และนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ให้เหมาะสมกับแนวทางของประเทศไทยที่ต้องการเข้าสู่ยุค 4.0 โดยเฉพาะกับการที่ ‘ไทย’ เป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรมากเป็นอันดับต้นๆ ทั้งสินค้าเกษตรแปรรูปและสินค้าเกษตรที่ยังไม่ผ่านการแปรรูป
(แทรกรูปคุณศิริเดช)
นายศิริเดช เอื้องอุดมสิน รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า พื้นฐานภาคเกษตรเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ ประเทศไทย 4.0 ซึ่งมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งมีพื้นฐานความคิดในการที่จะเปลี่ยนจากการผลิตสินค้ารูปภัณฑ์ เพื่อเป็นสินค้านวัตกรรม และตัวเกษตรกรไทยสามารถนำความรู้ดั้งเดิมมาผนวกเข้ากับความรู้ที่จะนำเกษตรกรเข้าสู่ Smart Farmer ทั้งกระบวนการคิดและความรู้เทคโนโลยีการแปรรูป รวมถึงการทำตลาดที่มีการใช้การบริหารและจัดการเข้ามาช่วยภาคเกษตรไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับโลกในยุคปัจจุบัน
“การที่จะนำนวัตกรรมมาใช้ในการเกษตรให้ประสบผลสำเร็จ เกษตรกรต้องปรับตัวและเรียนรู้ ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับแนวทางของตนเอง” นายศิริเดช เอื้องอุดมสิน รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และคณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์ข้าว สำนักสภาเกษตรกรแห่งชาติ แสดงความคิดเห็นด้านประเด็นทิศทางและการปรับตัวของเกษตรไทยยุค 4.0 ว่า การที่เกษตรกรไทยจะก้าวสู่เกษตร 4.0 ต้องรู้ว่าตัวเองต้องการผลิตอะไร มีจุดแข็ง จุดอ่อน ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องไหน และที่สำคัญต้องมีตลาดรองรับ และใช้ตลาดในการนำการผลิต เช่น ตลาดต้องการอะไร นำไปสู่การที่เกษตรกรต้องผลิตสิ่งเหล่านั้น
นอกจากนี้ ยังสามารถต่อยอดจากเกษตรกรเป็นธุรกิจเชิงเกษตร อาทิ ทำเกษตรปลูกพืช สามารถต่อยอดเป็นฟาร์มเชิงท่องเที่ยว ส่งออกผลิตภัณฑ์ผ่านตลาดออนไลน์ ชักชวนเกษตรกรรวมกลุ่ม แก้ปัญหาพ่อค้าคนกลาง ให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสร้างเอกลักษณ์ที่เป็นแบรนด์ไว้
“การสร้างแบรนด์เป็นสิ่งจำเป็นมาก เพื่อให้สินค้าติดตลาดในระยะยาว
และเกษตรกรมีรายได้มั่นคง ยั่งยืน เป็นหัวใจสำคัญในการแปรรูปสินค้าเกษตร”
รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ด้านนายสายัณห์ ตันพานิช ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ยังแนะนำเพิ่มเติมอีกว่า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย มีความช่วยเหลือโดยเฉพาะงานวิจัยเกี่ยวกับสินค้าเกษตรต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำสนับสนุนเกษตร ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ทัดเทียมกับของนานาชาติ โดยเฉพาะในการนำเครื่องจักรที่จะเข้ามาพัฒนาภาคเกษตร และธุรกิจ รวมถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปพัฒนากระบวนการผลิต มาตรฐาน และออกแบบเครื่องจักร ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสามารถติดต่อไปที่ วว. หรือ Call Center 02 577 9300 และ 02 561 4771
สอดคล้องกับที่ ดร.สุกิตติ เอื้อมหเจริญ นักยุทธศาสตร์การสร้างแบรนด์และการตลาด และนักพัฒนาทรัพยากรบุคคล ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า งานวิจัยเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาเกษตรกรไทย เนื่องจากเกษตรกรไทยยังไม่สามารถทำวิจัยได้เอง การที่ภาครัฐและเอกชน ร่วมมือกันสนับสนุนงานวิจัยให้กับเกษตรกร ในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าไปพัฒนาให้เกษตรกรกลายเป็นเกษตรกร 4.0 จึงเป็นสิ่งสำคัญ
ขณะที่ ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส ผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจส่วนงานเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงการเลือกใช้นวัตกรรมพื่อเพิ่มผลผลิตสำหรับเกษตรกรไทยว่า หากเกษตรกรไทยหากมีความพร้อมเรื่องสินค้านวัตกรรม สนช.มีโครงการคูปองนวัตกรรม โดยช่วยเหลือเรื่องเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ 75%
นอกจากนี้ ธนาคารกรุงเทพ ยังจับมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) สนับสนุนเอสเอ็มอีไทย ตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 ส่งเสริมผู้ประกอบการนำนวัตกรรมเพิ่มความสามารถแข่งขันในธุรกิจ หากมีนวัตกรรมที่สามารถสร้างความแตกต่าง ด้วยวงเงินสูงสุด 100 ล้านบาท ปลอดดอกเบี้ยจำนวนไม่เกิน 5 ล้านบาท เป็นเวลา3 ปี ยื่นคำขอสินเชื่อได้ที่! goo.gl/jmDA3d
อนึ่งรายละเอียดดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในงานสัมมนา “ทิศทางและการปรับตัวของเกษตรกรไทยยุค 4.0” ที่ธนาคารกรุงเทพเชิญวิทยากรและแขกผู้มีเกียรติมาเปิดมุมมอง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเลือกใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตในภาคการเกษตร โดยธนาคารกรุงเทพ นับเป็นธนาคารที่ให้การสนับสนุนด้านนวัตกรรมแก่ผู้ประกอบการ SME อย่างต่อเนื่อง มีโครงการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อเชื่อมโยงให้ SME เข้าถึงนวัตกรรมและให้การสนับด้านเงินทุนแก่โครงการนวัตกรรมต่าง ๆ หลายโครงการ