กรณีศึกษา : บทเรียนจากฝรั่ง ออกแบบแพคเกจจิ้งไม่ดี(อาจ)ดับ


ใครจะคิดกันว่าการปรับเปลี่ยนแพคเกจจิ้งนั้นจะส่งผลกระทบต่อตัวแบรนด์และสินค้าซึ่งอาจส่งผลให้คุณค่าของสินค้าและแบรนด์ลดลง โดยมีหลากหลายแบรนด์ที่โดนบทเรียนเหล่านี้มาแล้ว พี่วัช วชิรา พงศ์พยัคฆ์ กูรูด้านพัฒนาสินค้า จะมายกตัวอย่างแบรนด์ที่ได้รับบทเรียนนี้มาฝากกัน ไปดูกันเลย

จากรูปจะเห็นได้ว่าแพคเกจจิ้งที่เปลี่ยนไปจากเดิม ตัวอักษรที่เน้นความเรียบง่าย รูปภาพที่สื่อสารออกมาได้ไม่ชัดเจนเหมือนแพคเกจจิ้งแบบเก่า ด้วยคอนเซปของการเปลี่ยนกล่องใหม่คราวนี้ด้วยแนวคิดที่ว่า คั้นสดจากส้มสด ซึ่งเป็นการใช้ฝาขวดเป็นรูปส้มเพื่อที่จะสื่อว่าเราคั้นน้ำส้มสดสู่แก้วให้ผู้บริโภคได้ดื่ม แต่การเปลี่ยนฝาจุกแบบนี้กลับเพิ่มความยากลำบากตอนเปิดให้กับผู้บริโภค

นอกจากนี้ในเรื่องของการใช้สีก็เปลี่ยนไปจากเดิม โดยสินค้าแบบเก่าถูกออกแบบให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติ ใช่สีที่เหมือนจริง แต่สำหรับการใช้สีในแพคเกจจิ้งแบบใหม่เน้นการใช้สีที่สดใส ทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงการเป็นน้ำส้มที่ถูกปรุงแต่งซึ่งไม่เหมือนแพคเกจจิ้งแบบเก่าที่ดูทีไรก็รู้สึกได้ว่าได้ดื่มน้ำส้มสดๆจากธรรมชาติ

แน่นอนว่าแพคเกจจิ้งต่างๆนั้นเป็นเซลล์แมนในตัวเอง เนื่องมาจากสินค้าเหล่านั้นไม่มีปาก ไม่มีเสียง มีเพียงรูปลักษณ์ความสวยงามที่จะทำหน้าที่ขายให้ตัวมันเอง ซึ่งการปรับเปลี่ยนแพคเกจจิ้งใหม่อาจส่งผลต่อยอดขายให้เพิ่มขึ้นหรือน้อยลงจากเดิม ซึ่งแพคเกจจิ้งแบบใหม่ของแบรนด์ Tropicana ทำให้ยอดขายตกไปจากเดิมเป็นอย่างมาก จนทำให้ธุรกิจอยู่ในขั้นวิกฤต แค่เพียงการปรับเปลี่ยนแพคเกจจิ้ง จนสุดท้าย Tropicana หาทางออกด้วยการเปลี่ยนรูปแบบแพคเกจจิ้งให้กลับมาเป็นแบบเดิม และเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้ดูทันสมัยมากขึ้น

ทั้งนี้สำหรับ SME ที่กำลังสร้างแบรนด์หรือกำลังทำสินค้าขายนั้นควรคิดและวางแผนให้ดีในเรื่องการทำแพคเกจจิ้ง การดีไซน์แพคเกจจิ้ง เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคให้ได้มากที่สุดนั่นเอง