5 ภาษีที่คนทำธุรกิจต้องควักเงินจ่าย


♦♦ 5 ภาษีที่คนทำธุรกิจต้องควักเงินจ่าย ♦♦

คุณรู้หรือไม่?? หากคุณประกอบธุรกิจนอกจากรายจ่ายมากมายที่คุณต้องเจอแล้ว ยังมีภาษีที่คุณต้องจ่ายอีกด้วย ซึ่งคงเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวของนักธุรกิจหลายๆคนที่ต้องมานั่งศึกษาเรื่องของการจ่ายภาษี โดยภาษีที่ผู้ประกอบการต้องควักเงินจ่ายนั้นมีอยู่ 5 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือเป็นภาษีที่ทางรัฐฯเรียกเก็บจากผู้มีรายได้จากการประกอบการ หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยมีกำหนดระยะเวลาการชำระทุก 1 ปีหรือ 12 เดือน โดยคำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด  โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้

(1)   กำไรสุทธิ

(2)   ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย

(3)   เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย

(4)   การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

กล่าวคือเป็นภาษีที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้องถูกหักก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดา ทั้งนี้เป็นไปตามประเภทของเงินได้และอัตราภาษีที่กำหนด โดยผู้รับสามารถขอคืนภาษีประเภทนี้ได้

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดเวลาการจดทะเบียน
– ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ
เป็นปกติธุระ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน
ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน
– ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงาน
ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการดำเนินการ และเตรียมการ
ประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับ
บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้าง
โรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร
ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน
ภายในกำหนด 6 เดือน
ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่
มีสัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการ
ก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม
– ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือ
ให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทน
อยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ
การจดทะเบียน

4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างโดยแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิกไป

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจ เฉพาะ ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าผู้ประกอบกิจการดังกล่าวจะประกอบกิจการในรูปของ

–   บุคคลธรรมดา

–   คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

–   กองมรดก

–   ห้างหุ้นส่วนสามัญ

–   กองทุน

–   หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล

–   องค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคล

ในกรณีผู้ประกอบกิจการอยู่นอกราชอาณาจักร ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการรวมตลอดถึง ลูกจ้าง ตัวแทน หรือผู้ทำการแทนซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรง หรือโดยปริยายที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีร่วมกับผู้ประกอบกิจการดังกล่าวข้างต้น

5. อากรแสตมป์

อากรแสตมป์ เป็นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง ซึ่งมีการจัดเก็บจากการทำตราสารระหว่างกันปัจุจบันมีทั้งหมด 28 ลักษณะตราสาร เช่น ตราสารเช่าที่กับโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ กู้ยืมเงิน ฯลฯ 

ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ มีดังนี้ 

1. บุคคลตามที่ระบุไว้ในช่องที่ 3 ของบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น ผู้ให้เช่าผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย ฯลฯ

2. ถ้าตราสารทำขึ้นนอกประเทศ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศเป็น ผู้เสียอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น

ถ้าหากไม่ได้ปฏิบัติตามความข้างต้น ผู้ทรงคนใดคนหนึ่งต้องเสียอากรแล้วจึงยื่นตราสารเพื่อให้จ่ายเงิน รับรอง สลักหลัง โอนหรือถือเอาประโยชน์ได้

ผู้ทรงตราสารคนใด ได้ตราสารตามความข้างต้นไว้ในครอบครองก่อนพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น จะเป็นผู้เสียอากรก็ได้โดยมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ทรงคนก่อนๆ

3. ตั๋วเงินที่ยื่นให้ชำระเงิน มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ผู้รับตั๋วจะเสียอากรและใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก ผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือหักค่าอากรจากเงินที่จะชำระก็ได้

4. ผู้มีหน้าที่เสียอากร ตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อาจตกลงให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้เสียอากรแทนตนก็ได้ เว้นแต่กรณีตามข้อ 2.

ขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บไซต์กรมสรรพากร