การเลือกใช้เทคโนโลยีโคบอททำให้ ประสิทธิภาพการผลิตของโรงงาน Benchmark Electronics ที่ตั้งอยู่ในโคราช เพิ่มมาขึ้นถึง 25% อีกทั้งยังสามารถพัฒนาคนไปยังงานที่มีทักษะสูงได้
บริษัท Benchmark Electronics ประเทศไทย ทำการติดตั้งหุ่นยนต์โคบอทจำนวน 6 ตัว สำหรับใช้ในกระบวนการประกอบและทดสอบในโรงงานที่โคราช ซึ่งบริษัทนี้เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกันที่ให้บริการด้านวิศวกรรมและการผลิต พร้อมทั้งโซลูชั่นเทคโนโลยีครบวงจรสำหรับโออีเอ็มทั่วโลก เป็นโรงงานผลิตขนาดใหญ่ที่ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและโทรคมนาคม
นายบุญเลิศ อัคราภิชาต ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการประจำ Benchmark Electronics ประเทศไทย เปิดเผยว่า
“เราได้เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน 25% และประหยัดพื้นที่การผลิต 10% ด้วยโคบอท อีกทั้งทำให้เราโอนย้ายพนักงาน 16 คนไปทำงานที่มีทักษะสูงขึ้น และเรายังมีแผนเพิ่มโครงการอัตโนมัติอีก 4 โครงการที่จะเป็นการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์”
หุ่นยนต์ “โคบอท” เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม S-Curve ใหม่
หุ่นยนต์เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรม S-curve ใหม่ ที่รัฐบาลไทยให้ความสนใจควบคู่ไปกับเรื่องของดิจิทัล, เชื้อเพลิงชีวภาพ, การแพทย์ และโลจิสติกส์ โดยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์มีศักยภาพอย่างมากในการพัฒนาแรงงานไทยให้พร้อมสำหรับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งสามารถรับประกันค่าตอบแทนที่ดีขึ้นของพนักงานที่มีทักษะ และสร้างผลผลิตและกำไรที่มากขึ้นสำหรับธุรกิจที่มีการใช้งานหุ่นยนต์
ทำความรู้จักกับ โคบอท หรือ หุ่นยนต์ร่วมปฎิบัติงาน
หุ่นยนต์ชนิดนี้ทำงานได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยเคียงข้างกับมนุษย์ในพื้นที่ขนาดเล็กร่วมกัน แตกต่างจากหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมที่มีขนาดใหญ่ ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานอย่างอิสระโดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์มาก ทำให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานที่เรียกว่า safety by isolation นอกจากนี้โคบอทยังถูกออกแบบให้มีความปลอดภัยตั้งแต่แรก หรือ safety by design ทำให้มั่นใจได้ว่าการทำงานร่วมกันระหว่างคนกับหุ่นยนต์นั้นมีความปลอดภัยสูง
โคบอทนั้นมีความยอดเยี่ยมในกระบวนการสนับสนุนและการทำซ้ำ ทำให้มีความสม่ำเสมอในการทำงานตามโปรแกรมที่วางไว้ พร้อมกันนั้นก็ยังคงรับการควบคุมจากมนุษย์ได้โดยตรง โคบอทจะทำให้ธุรกิจสามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและผลกำไรไปพร้อม ๆ กัน
ตลาดรวมของโคบอทในเอเชียแปซิฟิก คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 45.46 % มีมูลค่า 13.17 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากปี 2563 ถึง 2569
ประสบการณ์ในการใช้งานโคบอท
เมื่อต้องการขยายการผลิต Benchmark Electronics ประเทศไทย จึงตัดสินใจใช้โคบอทในส่วนของสายการประกอบชิ้นส่วนอัตโนมัติ และสายการทดสอบการผลิตพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยทำการติดตั้งหุ่นยนต์โคบอท รุ่น UR5 จำนวน 4 ตัว และ UR10e จำนวน 2 ตัวจากบริษัท Universal Robots
ในสายงานการประกอบ โคบอทจะทำหน้าที่ยกสินค้าและวางแผ่นวงจรพิมพ์ (printed circuit board) หรือ PCB และโมดูล โดยจะเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังเครื่องสกรูอัตโนมัติ เครื่องสแกนภาพจะลงทะเบียนหมายเลขซีเรียลเฉพาะของผลิตภัณฑ์ จากนั้นโคบอทจะจับแผ่นคลื่นความถี่วิทยุ (RF) และวางบนผลิตภัณฑ์
สำหรับสายงานการทดสอบ โคบอทจะหยิบผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วไปยังเครื่องทดสอบและล็อคอย่างแน่นหนาเพื่อทดสอบอัตโนมัติ หลังจากการทดสอบ 15 นาทีแล้ว ผลการทดสอบจะถูกป้อนไปยังระบบส่วนกลางก่อนจะจะนำผลิตภัณฑ์ออกมา
โคบอทเรียนรู้ง่ายคุ้มทุนเร็ว
ทีมวิศวกรผลิตภัณฑ์ เปิดเผยว่า “เราได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากตัวแทนจำหน่ายของ Universal Robots ที่ทำการฝึกอบรมตั้งแต่เริ่มต้น หลังจากนั้นผู้ปฏิบัติงานทุกคนพบว่าโคบอทง่ายต่อการเรียนรู้และทำงาน เราประหยัดค่าใช้จ่ายในการปรับการทำงาน”
เมื่อได้เห็นการทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพแล้ว ทำให้บริษัทมั่นใจว่างานที่ได้จะมีคุณภาพมากขึ้นและมีปริมาณงานที่สม่ำเสมอ มีความผิดพลาดจากมนุษย์น้อยลง บริษัทคาดว่าจะคืนการลงทุนเรื่องนี้ภายใน เวลา 18 เดือน