คณะกรรมการนโยบายการเงินคงดอกเบี้ย รับเศรษฐกิไทยขยายตัวต่ำกว่าคาด


กนง.ชี้แจง 3 เหตุผล คงดอกเบี้ย 1.75% รับเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าคาด เผย หน่วยงานด้านวิจัยจึงพากันปรับเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจลง หลังผ่านมาเพียงไตรมาสเดียว

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 3/2562 วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเผยแพร่ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2562 ซึ่งคณะกรรมการมีมติเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75%

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากการส่งออกสินค้าและ การลงทุน ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ภาวะการเงินโดยรวมอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ประกอบกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลกและปัจจัยในประเทศยังมีอยู่สูงในระยะข้างหน้า

จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้ เพื่อรอประเมินผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ให้ชัดเจนขึ้น ในการตัดสินนโยบายครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้อภิปรายถึงปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณาดาเนินนโยบาย การเงิน ดังนี้

1.เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากการส่งออกสินค้าและการลงทุน โดยการส่งออกสินค้าขยายตัวชะลอลงมากกว่าคาดตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง ผลของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ด้านการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง เนื่องจากนักลงทุนส่วนหนึ่งรอประเมินความชัดเจนของแนวนโยบายหลังการจัดตั้งรัฐบาลและ ความต่อเนื่องของโครงการลงทุนภาครัฐ

สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มต่ำกว่าที่ประเมินไว้ ส่วนหนึ่งจากความล่าช้าของโครงการลงทุนภาครัฐ ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องแต่ยังได้รับแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงการจ้างงานที่มีสัญญาณชะลอลงในภาคก่อสร้างและภาคการผลิต

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจโลกและ ปัจจัยในประเทศที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งอาจกระทบต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยเฉพาะ

-มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่อาจกลับมารุนแรงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและการส่งออกสินค้าของไทย รวมถึงแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ อุตสาหกรรมหลักและจีนที่อาจส่งผลมาสู่อุปสงค์ในประเทศ

-ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจส่งผลต่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญและอาจมีผลต่อเนื่องไปยังการลงทุนภาคเอกชน

-สถานการณ์ภัยแล้งที่อาจส่งผลมากกว่าคาด

-การจ้างงานในภาคการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกที่อาจชะลอลงและส่งผลต่อรายได้โดยรวม ซึ่งอาจกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชนมากกว่าคาด

2.ระบบการเงินยังมีความเสี่ยงในบางจุดที่อาจสร้างความเปราะบางให้กับเสถียรภาพของระบบการเงิน ในอนาคต อาทิ

– การก่อหนี้ของภาคครัวเรือนที่ปรับสูงขึ้นโดยเฉพาะสินเชื่อในหมวดรถยนต์ ทั้งสินเชื่อ เพื่อซื้อรถยนต์และสินเชื่อรถแลกเงิน ขณะที่ NPL ในหมวดสินเชื่อเพื่อซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่ผ่อนคลายในช่วงก่อนหน้าจากการแข่งขันที่สูงขึ้นภายหลังผู้ให้บริการที่มิใช่สถาบันการเงิน (non-bank) มีบทบาทมากขึ้น นอกจากนี้ ต้องติดตามความสามารถในการชาระหนี้ของธุรกิจSME ที่มีแนวโน้มด้อยลง

-พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งอาจนาไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risks) ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบสหกรณ์ออมทรัพย์และการก่อหนี้ของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่

-ความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะอุปทานคงค้างในบางพื้นที่

คณะกรรมการฯ เห็นว่ามาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ดำเนินการไปในช่วงก่อนหน้าช่วยลดความเปราะบางในระบบการเงินได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี การพิจารณาใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่เหมาะสมยังจำเป็นสำหรับการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินในระยะข้างหน้า เนื่องจากมาตรการ macroprudential และ microprudential ที่ดำเนินการไปแล้วสามารถดูแลความเสี่ยงได้ครอบคลุมเฉพาะ ประเภทสินเชื่อและสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งมีผลบังคับใช้ เฉพาะสินเชื่อใหม่เท่านั้น

โดยคณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามผลของมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบ การเงินที่ได้ดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ศึกษามาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่เหมาะสม เพิ่มเติมเพื่อป้องกันความเสี่ยงเชิงระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.เงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ โดยราคาพลังงานที่ปรับ สูงขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน ช่วยชดเชยผลของราคาอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงที่ราคาอาหารสดจะปรับสูงขึ้นในระยะข้างหน้าจากสถานการณ์ภัยแล้ง

คณะกรรมการฯ จึงเห็นควร ให้ติดตามปัจจัยที่อาจกระทบต่อราคาน้ามันดิบและราคาอาหารสดโดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งที่อาจรุนแรงขึ้น

สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ คณะกรรมการฯเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบันเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเคลื่อนไหวสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ ผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจ e-commerceการแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้น รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ทาให้ต้นทุนการผลิตลดลงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นช้ากว่าในอดีต

ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้อภิปรายถึงการนาประเด็นด้านเสถียรภาพระบบการเงินเข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งในกระบวนการตัดสินนโยบายการเงิน โดยเห็นควรให้ใช้เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพระบบการเงินที่ หลากหลายซึ่งรวมถึงเครื่องชี้วัฏจักรการเงิน (financial cycle) ที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงด้านลบต่อ การขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะปานกลาง

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้มีการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงเสถียรภาพระบบการเงินในหลายมิติ ทั้งความเชื่อมโยงในระบบการเงิน (interconnectedness)การประเมินสถานการณ์ในระยะข้างหน้าและการจัดทา scenario planning รวมทั้งการวิเคราะห์ความสามารถในการรองรับความเสี่ยงของภาคส่วนต่าง ๆ

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ฝ่ายเลขานุการฯ พัฒนาเครื่องชี้ และกรอบการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินนโยบายการเงินอย่างเป็นระบบมากขึ้นในระยะต่อไป

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้อภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน โดยเห็นว่าในการตัดสิน นโยบายครั้งนี้ คณะกรรมการฯ จำเป็นต้องรอประเมินผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ให้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและปัจจัยในประเทศยังมีอยู่สูง นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบัน จึงยังมีความเหมาะสม

สำหรับในระยะข้างหน้า การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ตามพัฒนาการของข้อมูลเป็นสาคัญ (data-dependent) โดยจะประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมในระยะต่อไป