เก็บตก ปั้นแบรนด์ให้ดัง ไม่ต้องพังเพราะผิดกฏหมาย โดย Aesthetic Plus


ปัจจุบันมีแบรด์เครื่องสำอางมากมาย ที่ผลิตออกมาในรูปแบบของ OEM ติดแบรนด์ต่างๆ โดยเข้าไปจ้างในโรงงานหรือผู้ผลิต เพราะในปี 2560 ประเทศไทย กลายเป็นขุมทองของผลิตภัณฑ์ความงาม เพราะมีมูลค่ากว่า 168,470 ล้านบาท โดยเป็นสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ดูแลผิวถึง 47% ผลิตภัณฑ์ผม 18% และเครื่องสำอาง 14% ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดร่างกาย 14% และน้ำหอมอีก 5% โดยอ้างอิงจาก Positioning สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงการแข่งขันของตลาดความงาม

ด้วยเหตุผลคุณพิชามญช์ อุสาหะ Maketing Director บ. เอสเธอติด พลัส จึงเพิ่มความรู้ให้กับผู้ประกอบการภายในงาน Smart SME Expo 2018 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-8 ก.ค. 61 ที่ผ่านมา ในส่วนของการปั้นแบรนด์ให้ดัง ไม่ต้องพังเพราะผิดกฏหมาย ทำอย่างไรได้บ้าง โดยยิ่งมีมูลค่าของตลาดเครื่องสำอางสูงมากเท่าไหร่ เป็นดังตัวเลขที่มีการคาดการณ์หรือไม่ ผู้เล่นหรือผู้ประกอบการต่างก็มีความสนใจที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์เครื่องสำอางในปัจจุบัน และทำให้ผู้ประกอบการต่างมองหาทั้งแหล่งผู้ผลิต แพ็กเก็จจิ้ง แหล่งเงินทุน ช่องทางจัดจำหน่าย รวมทั้งแบรนด์ใหม่ๆ ที่จะผลักดันเข้าสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น

แล้วอะไรที่ถูกต้อง แบรนด์กลายเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันสิ่งเหล่านี้ รวมทั้งการมีตัวตนพร้อมกับสัญญลักษณ์ที่ทำให้ทุกคนสามารถเชื่อถือและเกิดความมั่นใจ อย่างเช่น คุณเจนนี่ ถ้าเรานึกถึง เครื่องสำอางก็จะนึกถึง Maybelline New York หรือคุณแอน ทองประสม เราก็จะนึกถึง Loreal หรือมิสทีน หลายคนก็ต้องนึกถึง คุณอั้ม พัชราภา เป็นต้น ซึ่งการทำแบรนด์ต่างๆ เราก็จำเป็นต้องคำนึงถึง ฉลากของเครื่องสำอาง ซึ่งจะบ่งบอกอะไรบ้าง 1. ชื่อของเครื่องสำอางและชื่อทางการค้า 2. ประเภทหรือชนืดของเครื่องสำอาง 3. ชื่อของสารที่เป็นส่วนผสม 4. วิธีการใช้เครื่องสำอาง 5. ชื่อของผู้ผลิตและที่ตั้ง 6. ปริมาณสุทธิ 7. เชยที่แสดงครั้งที่ผลิต 8. เดือน ปี ที่ผลิต 9. เดือน ปี วันหมดอายุ 10. คำเตือน 11. เลขที่ใบรับแจ้ง

11 ข้อนี้ จะต้องมีอยู่ในส่วนของฉลากที่ติดกับเครื่องสำอาง

แล้วในส่วนของโฆษณาล่ะ ก็จะบอกคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ว่าทำอะไรได้บ้าง รวมทั้งการกล่าวที่ไม่เกินความเป็นจริง การโฆษณาที่มีผลต่อสุขภาพ หรือร่างกาย รวมถึงลักษณะการใช้งานเป็นอย่างไร ใช้ได้อย่างไงบ้าง อย่างเช่น “เจล ร้อน/เย็น กระชับหุ่น ลดสัดส่วน รอยแตกแยก เซลลูไลท์ แค่ทางก็เหมือนใส่สเตย์กระชับผิว” ซึ่งเป็นโฆษณาเกินความเป็นจริง อันนี้ก็ผิดกฏหมายเช่นเดียวกัน ยังมีคำบางคำที่เกิดขึ้น และไม่สามารถใช้งานได้ เพราะมีความหมายที่สุ่มเสี่ยงในการใช้เครื่องสำอางที่ถูกวิธีอีกหลายคำ ทาง Aesthetic Plus ก็ได้ยกตัวอย่างให้ฟัง ไม่ว่าจะคำว่า Sun block , UV block 2 คำนี้ ถูกใช้เป็นประจำ แต่เป็นคำที่ผิด ซึ่งที่ถูกต้องใช้เป็น Sunscreen , UV Protection หรือคำว่า Water proof เป็นคำที่ถูกใช้เป็นประจำ แต่ในความเป็นจริงใช้คำว่า Water resistance ซึ่งยังมีคำอีกมากมายที่ถูกห้ามใช้ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ @Aesthetic_Plus สอบถามความรู้เกี่ยวกับเครื่องสำอางได้เลยนะครับ