เผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชาประจำปี 2562


สรุปการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจาก ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชา สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ การถดถอยอย่างต่อเนื่องของผู้นำอย่างสหรัฐอเมริกา โดยนับตั้งแต่ปี 2558 มีภาควิชาที่หลุดอันดับท็อปในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยไปถึง 10%

ส่วนประเทศที่ได้ประโยชน์ที่สุดก็คือจีน ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร ขณะที่สหราชอาณาจักรยังคงทำผลงานได้ดีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย แม้ว่าจะถูกตัดงบประมาณไปเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่าการวิจัยที่ทำร่วมกับสหภาพยุโรปมีส่วนสำคัญที่ทำให้สหราชอาณาจักรประสบความสำเร็จ

สรุปเรื่องสำคัญจากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชาประจำปี 2562

– มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริการั้งอันดับหนึ่งใน 28 สาขาวิชาในปี 2562 ลดลงจาก 34 สาขาวิชาในปี 2561

– Harvard University ยังครองอันดับสูงสุด โดยรั้งอันดับหนึ่งใน 12 สาขาวิชา ตามมาด้วย MIT ที่รั้งอันดับหนึ่งใน 11 สาขาวิชา

– สวิตเซอร์แลนด์ขึ้นแท่นประเทศที่มีระบบอุดมศึกษาดีที่สุดเป็นอันดับสามของโลก เป็นรองแค่สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร โดย ETH Zurich ทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจ

– สหราชอาณาจักรยังคงทำผลงานได้ดีแม้เผชิญกับความไม่แน่นอนจากการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรรั้งอันดับหนึ่งใน 13 สาขาวิชา เพิ่มขึ้นจาก 10 สาขาวิชา และทำผลงานดีขึ้นในทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการวิจัย

– สิงคโปร์มีระบบอุดมศึกษาโดดเด่นที่สุดในเอเชีย โดยมีภาควิชาที่ติด 10 อันดับแรกในสาขาวิชาต่างๆ มากกว่าประเทศอื่นในเอเชียรวมกัน

– จีนมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีภาควิชาที่ติด 50 อันดับแรกในสาขาวิชาต่างๆ มากกว่าทุกปีที่ผ่านมา

– บราซิลสถานการณ์ไม่สู้ดีนัก โดยมีอันดับลดลงมากกว่าค่าเฉลี่ยของละตินอเมริกา

เกี่ยวกับ QS Quacquarelli Symonds ผู้วิเคราะห์ข้อมูลสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชา “QS World University Rankings by Subjects” โดยเป็นผลจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัย 1,222 แห่ง ใน 78 ประเทศ ใน 48 สาขาวิชา และ 5 กลุ่มวิชา ผลการจัดอันดับนี้ใช้ข้อมูลจากสถาบันวิชาการ 83,000 แห่งที่ให้ข้อมูลของบุคลากรกว่า 1.25 ล้านคน รวมถึงบริษัท 42,000 แห่งที่ให้ข้อมูลของพนักงาน 199,123 คน นอกจากนั้นยังมีการวิเคราะห์ข้อมูลอ้างอิง 150 ล้านข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ 22 ล้านฉบับ