Life Style
9 เคล็ดลับชวนปรับพฤติกรรมลดเสี่ยงโรคมะเร็ง
ปรับพฤติกรรมการการกิน 9 ข้อ ลดความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง ข้อมูลดี ๆจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ดังนี้ 1.กินผักหลากสีทุกวัน เพราะผักแต่ละสีแต่ละชนิดให้คุณค่าแตกต่างกันไป 2.ทานผลไม้เป็นประจำ เพราะอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง 3.ทานธัญพืชและเส้นใย เพราะใยอาหารและไฟเบอร์ทำหน้าที่พาสารที่เป็นโทษต่อร่างกายที่เกาะติดบริเวณลำไส้ให้ขับถ่ายออกไป ลดความเสียงโรคมะเร็งทางเดินอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่ 4.ใส่เครื่องเทศเสริมรสชาติอาหาร เพราะเครื่องเทศช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ 5.เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะชาเขียว เพราะมีสาร Catechines ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งตับ 6.ปรุงอาหารให้ถูกวิธี ไม่ปิ้งย่างเนื้อสัตว์จนไหม้เกรียม ไม่ทานสุก ๆดิบ ๆ ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ 7.หลีกหนีอาหารไขมัน เช่น เนย ชีส กะทิ น้ำมันทอดซ้ำ 8.ลดบริโภคเนื้อแดง ลดความเสี่ยงเกิดมะเร็ง 9.ลดเกลือแกงและอาหารหมักดอง หากบริโภคเกลือในปริมาณสูง เสี่ยงเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร ส่วนอาหารหมักดองอาจมีสารก่อมะเร็ง ขอบคุณรูปจาก http://www.thaihealth.or.th/
ททท. ชวนอิ่มบุญใหญ่ ตักบาตรบนหลังช้าง หนึ่งเดียวในโลก ณ จังหวัดสุรินทร์
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว ร่วมชมและตักบาตรสร้างบุญเข้าพรรษา ในงาน “มหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้างจังหวัดสุรินทร์” ประจำปี 2558 ในวันที่ 29 – 30 กรกฎาคม 2558 ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี อันดีงามของชาวไทย รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และ ททท. เชิญชวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยวชมงาน “มหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้างจังหวัดสุรินทร์” ประจำปี 2558 ด้วยกิจกรรมอันโดดเด่นหลากหลายตั้งแต่ ใน วันพุธที่ 29 กรกฎาคม 2558 ชมขบวนแห่เทียนพรรษาที่ตกแต่งอย่างสวยงาม วิจิตรอลังการ จาก 12 คุ้มวัดชื่อดังในจังหวัด อาทิ วัดบูรพาราม พระอารามหลวงเฉลิมพระเกียรติ วัดศาลาลอยพระอารามหลวง วัดกลางสุรินทร์ […]
เตือนใช้โทรศัพท์มือถือในที่โล่งแจ้งขณะฝนฟ้าคะนองโอกาสถูกฟ้าผ่าสูง
เตือนใช้โทรศัพท์มือถือในที่โล่งแจ้งขณะฝนฟ้าคะนองโอกาสถูกฟ้าผ่าสูง ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือ ถือเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์จำเป็นในชีวิตประจำวันของเรา แต่การใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงฤดูฝน ขณะที่เกิดฝนฟ้าคะนอง และอยู่ในที่โล่งแจ้ง ควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการโดนฟ้าผ่าค่อนข้างมาก เพราะการใช้โทรศัพท์มือถือจะเหนี่ยวนำเข้ากระแสไฟฟ้ามายังเสาอากาศขณะมีการใช้งาน เช่นเดียวกันกับโลหะต่างๆ อาทิ ทองคำ เงิน นาก ที่จะกลายเป็นตัวเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าก่อให้เกิดฟ้าผ่า แต่อย่างไรก็ดีไม่ใช่ว่าทุกคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ ขณะที่เกิดฝนฟ้าคะนอง จะต้องโดนฟ้าผ่า เนื่องจากจะต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เหมาะสมด้วย เช่น อยู่ในที่โล่งแจ้ง อยู่ใกล้ต้นไม้สูง หรือก้อนเมฆในบริเวณนั้นมีประจุไฟฟ้าสะสมไว้มากหรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรประมาท และการหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์หรือเล่นอินเตอร์เน็ตซึ่งจะทำให้เราปลอดภัยมากที่สุด นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวถึงการป้องกันการถูกฟ้าผ่าจากการใช้โทรศัพท์ ว่า หากอยู่ในที่โล่งให้หาที่หลบที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงการหลบบริเวณใต้ต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงและไม่ได้ยึดติดกับพื้นอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกล้มทับ หากหาที่หลบไม่ได้ไม่ได้ให้หมอบนั่งยองๆ ให้ตัวอยู่ต่ำที่สุด นอกจากนี้ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งนำไฟฟ้าทุกชนิด อาทิ เงิน ทอง นาค และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สายไฟ หรือสัมผัสน้ำโดยเด็ดขาด […]
เตือนมนุษย์ติดจอ สะสมสารพัดโรค
เตือนภัย 10 เรื่องสุขภาพน่าห่วง “มนุษย์ติดจอ” สะสมสารพัดโรค ตั้งแต่ ปวดทั่วตัว ตาลาย จนถึงตายไม่รู้ตัว นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ภายใต้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ปัจจุบัน มือถือ สามาร์ทโฟน แท็ปเล็ต เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมาก เรามักเห็นภาพชินตาจากการจดจ่ออยู่หน้าจอที่อยู่ตรงหน้า โดยไม่สนใจสิ่งรอบข้าง จริงอยู่ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวช่วยอำนวยความสะดวก ตอบสนองทุกความต้องการได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ก็มีด้านที่ต้องระวังเกี่ยวกับอุปกรณ์ก้มกดนี้ โดยเฉพาะ แสงจากหน้าจอ ที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีผลการศึกษาพบว่ามีผลกระทบต่อสมองและสุขภาพของมนุษย์ ระบบเสียงก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เราลืมสนใจเรื่องรอบตัว และสิ่งที่ควรระวังอีกเรื่องคือ ความเครียดที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจจากการจดจ่ออยู่แต่หน้าจอโดยที่เราไม่รู้ตัว “3 […]