Other
สถานการณ์การส่งออกกัมพูชาปลายปีที่ผ่านมาไม่กระเตื้อง
รายงานการส่งออกประเทศกัมพูชาเปิดเผยถึงสถานภาพการส่งออกของกัมพูชามีผลผลิตทางการเกษตร 2.9 ล้านตันในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกับการส่งออกในปี 2555 โดยเป็นการส่งออกมันสำปะหลังแห้ง 1 ล้านตัน มันสำปะหลังสด670,000 ตัน ข้าวสาร 370,000 ตัน น้ำตาล 200,00 ตัน ข้าวโพด 160,000 ตัน และเม็ดมะม่วงหิมพานต์80,000 ตัน อย่างไรก็ตามนักวิชาการหลายคนเห็นว่าข้อมูลนี้อาจไม่ได้สะท้อนถึงศักยภาพในการส่งออกที่แท้จริงของกัมพูชานอกจากนั้นเกษตรกรมักประสบปัญหาการส่งออกไปยังประเทศไทยและเวียดนามในฤดูเก็บเกี่ยว เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตมากจนส่งผลให้ราคาต่ำลง ซึ่งสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการรองรับผลผลิตทางการเกษตรจากกัมพูชา แต่เนื่องจากกัมพูชายังไม่มีความสามารถในการแปรรูป จึงทำให้เสียโอกาสที่จะส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ นายอุก ราบุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่า จากการสำรวจ เกษตรกรจำนวนมากได้เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือนหรือบริโภค มาเป็นการผลิตเพื่อการค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตามความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเป็นปัญหาที่ทำให้การผลิตภาคการเกษตรยังไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร รวมถึงการที่กัมพูชามักส่งออกผลผลิตขั้นต้นเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้สูญเสียรายได้จากมูลค่าเพิ่ม ทางด้าน GDP ยังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้ยอดการจดทะเบียนธุรกิจจะลดลง จากปัญหาทางการเมืองในปีที่ผ่านมา เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ยอดการจดทะเบียนธุรกิจในปี 2556 ลดลง 11% เมื่อเทียบกับปีก่อน ข้อมูลอย่างเป็นทางการของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่ามีการจดทะเบียนธุรกิจประมาณ 3,000 ลดลงจากปี 2555 ที่มีจำนวน 3,386 รายนางจีรนันท์ วงษ์มงคล […]
การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล…กับโอกาสของธุรกิจ SMEs
รายงานจากศูนย์วิจัยธนาคาร กสิกรไทย ได้กล่าวว่า สื่อโทรทัศน์ นับเป็นสื่อดั้งเดิมที่สามารถเข้าถึงและมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคได้มากที่สุด โดยในปัจจุบัน ผู้บริโภคไทยสามารถรับชมสื่อโทรทัศน์ผ่าน 3 แพลตฟอร์มหลัก คือ ฟรีทีวีระบบอะนาล็อกภาคพื้นดินที่มีช่องรายการเพียง 6 ช่อง เคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียม ที่มีช่องรายการรวมกันมากกว่า 200 ช่อง อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ไทย กำลังจะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญด้วยการก้าวเข้าสู่ยุคระบบดิจิทัล โดยการรับชมทีวีดิจิ ทัลภาคพื้นดิน จะเป็นการขจัดข้อจำกัดเรื่องคุณภาพของภาพและเสียงให้มีความคมชัดกว่าระบบอะนาล็อกภาคพื้นดิน ความน่าสนใจและแนวโน้มหลังการเกิดทีวีดิจิทัล ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ไทย มีฟรีทีวีระบบอะนาล็อกภาคพื้นดินเป็นแพลตฟอร์มหลัก โดยมีช่องรายการอยู่เพียง 6 ช่อง ทำให้เกิดข้อ จำกัดด้านการแข่งขันของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อโทรทัศน์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ หรือแม้แต่เจ้าของสินค้าและเอเจนซี่ โฆษณาขนาดเล็ก ที่อาจจะมีโอกาสในการเข้าถึงฟรีทีวีได้น้อย อันเนื่องมาจากจำนวนช่องรายการและเวลาสำหรับการออกอากาศที่มีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ หรือเจ้าของสินค้าและเอเจนซี่โฆษณาที่ป้อนเข้าสู่ฟรีทีวีกระจุกตัวอยู่ที่ผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงไม่กี่รายเท่านั้น ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดเล็กจะกระจุกตัวอยู่บนแพลตฟอร์มเคเบิ้ลทีวีหรือทีวีดาวเทียมเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ภายหลังการประมูลใบอนุญาตทีวี ดิจิทัลแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ไทย จะมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ 1. การแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์มีความเข้มข้นขึ้นจากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ที่หลากหลาย การที่อุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ไทย กำลังจะมีฟรีทีวีช่องบริการธุรกิจเพิ่มเป็น […]