แนวทางปรับตัวของธุรกิจค้าปลีก หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย
บทความนี้เป็นผลสรุปจากผลการวิจัยผู้บริโภคชิ้นล่าสุดของดันน์ฮัมบี้ ที่เน้นย้ำความสำคัญของการบริหารจัดการตามหมวดหมู่สินค้าในร้าน หรือ Category Management รวมถึงคำแนะนำที่ห้างค้าปลีกควรทำทันทีเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการฟื้นตัวในอนาคตอันใกล้นี้ การรับรู้ของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เมื่อความกังวลใจลดลง ผลการวิจัยของเราได้ชี้ให้เห็นว่า “คะแนนความวิตกกังวล” ของผู้ตอบแบบสอบถามในหลายประเทศที่ระบุว่าตนเอง “รู้สึกกังวล” กับการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาเริ่มลดระดับลง ซึ่งถือว่าไม่น่าแปลกใจเท่าใดนักเมื่อเทียบกับการดำเนินมาตรการป้องกันของห้างค้าปลีกที่เริ่มผ่อนปรนลงเช่นเดียวกัน โดยความวิตกกังวลที่ลดลงนี้เองได้ก่อให้เกิดแรงกดดันจากลูกค้าที่ต้องการให้ห้างค้าปลีกผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19 เร็วขึ้นกว่ากำหนดเดิม ความพึงพอใจของลูกค้าคือปัญหาที่อ่อนไหว งานวิจัยของเราได้แสดงให้เห็นถึงสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจในตลาดทุกประเทศ นั่นคือ มาตรการป้องกันไม่ได้มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้ามากเท่าใดนัก แต่กลับเป็นระดับการสะสมสินค้าของห้างค้าปลีกต่างหากที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า โดยลูกค้าที่สังเกตเห็นภาวะสินค้าขาดตลาดจะมีความพึงพอใจน้อยกว่าลูกค้าที่ไม่ได้สังเกตเห็นภาวะนี้ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นและปริมาณสินค้าที่เกี่ยวข้องกับไวรัสที่มีอยู่อย่างจำกัดยังส่งผลเชิงลบต่อความพึงพอใจของลูกค้าเช่นกันด้วย หาแนวทางปฏิบัติที่ง่ายและได้ผลมาก ในอีกไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ห้างค้าปลีกอาจต้องเผชิญกับระดับการสะสมสินค้าที่เริ่มควบคุมได้ยากขึ้น ดังนั้นการหาแนวทางต่างๆ ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากความพึงพอใจของลูกค้าที่ลดลงจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกค่าจัดส่งสินค้าสำหรับลูกค้าบางกลุ่ม การให้ส่วนลดสำหรับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับไวรัส และการเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดห้าง เป็นต้น ซึ่งวิธีการที่ทำได้ง่ายและได้ผลมากนี้ยังส่งผลดีต่อการรับรู้ของลูกค้าให้มากขึ้นด้วย คัดสินค้ามาขายให้ไว ทันใจทุกความต้องการ ในขณะที่ภาวะขาดแคลนสินค้าและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปยังคงส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ในการจับจ่ายใช้สอยของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง “ความรวดเร็ว” คือ สิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในเวลานี้ ดังนั้นห้างค้าปลีกจึงควรนำเอารูปแบบการตัดสินใจ (customer decision tree) และ สภาวะความต้องการของลูกค้า (need states) มาใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการปริมาณสินค้าโดยมุ่งเน้นสินค้าที่มีความจำเป็นมากขึ้นในแต่ละหมวดหมู่ ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่เร่งด่วนที่สุดในนาทีนี้ คือ การเน้นความหลากหลายของจำนวนสายสินค้า (breadth) มากกว่าการเจาะลึกจำนวนรายการสินค้า (depth) ในแต่ละสายสินค้า […]