แพทย์จุฬาโพสต์ภาพสุดรันทดระบบสาธารณสุขโรงพยาบาลไทยใกล้ล่มสลายแล้ว


ทุกวันนี้ใครที่เจ็บป่วยมีความจำเป็นต้องเดินทางหาหมอ หากเดินทางไปโรงพยาบาลของรัฐ สิ่งหนึ่งที่ต้องพบเจอผู้คนมากมายที่นั่งรอให้คุณหมอรักษาเหมือนกัน หากเป็นโรงพยาบาลในต่างจังหวัดด้วยแล้วคุณอาจจะต้องเผชิญกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอ เครื่องมือทางการแพทย์ที่เก่า เพราะถูกใช้มาเป็นระยะเวลานาน เหล่านี้จึงเรียกได้ว่าเป็นความรันทดของระบบสาธารณสุขไทยก็ว่าได้ เรื่องนี้ ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฬา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์โรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้สะท้อนปัญหานี้ผ่านทางเฟซบุ๊กว่า 

 

ผู้บริหารรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขและประชาชนต้องยอมรับความจริงว่าความพินาศเกิดขึ้นแล้วและเกือบล่มสลายแล้ว ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคอีสานข้อมูลวันที่ 30 กันยายน 2561 จากลูกศิษย์คนหนึ่งของเราที่จบเมื่อปีที่แล้ว ความรับผิดชอบผมคือดูวอร์ดหรือหอผู้ป่วยชาย ประมาณ 30-40เคส/สาย (สองสายต่อวอร์ด)ถ้าเอาตามเตียงกับเบอร์ที่หัวเตียงหนึ่งวอร์ดคือจุได้ 28 คนครับ แต่ทุกวันนี้ก็ ต้องรับวอร์ดละ 70-80 ราย ตามปกติสายหนึ่งก็มี staff 1 คน, R1 1 คน (แพทย์ประจำบ้านปีที่หนึ่ง), R3 1 คน (แพทย์ประจำบ้านปีที่สาม), Intern 1 คน (แพทย์ฝึกหัด), Ext 1 คน (นักศึกษาแพทย์ฝึกงาน) และ นศพ ปี4หรือ5 อีก 1-2 คน

 

 

วันก่อนผมอยู่เวรวอร์ดอายุรกรรม คือรักษาทางยาฝั่งผู้ชาย ซึ่งประกอบด้วยวอร์ดสามัญ 3 วอร์ด สาย, 2 ICU ( ICU ละ 10 เตียง ), 1 RCU ผู้ป่วยหนักทางระบบทางเดินหายใจหรือที่หายใจไม่ได้( 16 เตียงเอาไว้ wean case ยาก กับดูโรคทาง chest เป็นหลัก) ทีมที่ดู ประกอบด้วย Staff 1 คน, R3 1 คน, R1 2 คน, Intern 2 คน, Extern 2 คน และนศพ 2 คน เฉพาะเวรบ่าย admit รับผู้ป่วยใหม่ประมาณ 42 ราย (ไม่ใช่ทั้งวัน นี่คือเฉพาะเวรบ่าย) นี่คือฝั่งผู้ชายอายุรกรรมเท่านั้น ผมว่า ใกล้ถึงจุดเรือล่มแล้วล่ะครับตอนนี้ก็ช่วยกันพายเต็มที่ล่ะครับ วันที่เรือจมคงอีกไม่ไกล

 

 

Bird เขียว bird คือเครื่องช่วยหายใจแบบโบราณและ volume ventilator แบบดีขึ้นมาหน่อยสำหรับคนไข้ที่หายใจเองไม่ได้ ผู้ป่วยที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจและจริงๆต้องอยู่ในไอซียู ต้องนอนอยู่นอก ไอซึยูประมาณ 16-20 คนต่อวอร์ด นี่หรือคือความสำเร็จของระบบสุขภาพและสาธารณสุขของประเทศไทยแทนที่จะด่าว่ากันว่ารักษาไม่ดี รับสภาพความจริงก่อนว่าขณะนี้เล่มสลายแล้ว