ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เอเชียได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสําคัญต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ ‘นเป็ นลําดับ ดังเห็นได้จากสัดส่วน GDP ของเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่ น) ต่อ GDP โลก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 9.7% ในปี 2541 มาอยู่ที่ 16.3% ในปี 2552 เช่นเดียวกับมูลค่าการค้าของเอเชียที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนในปี 2552 มูลค่าส่งออกและนําเข้าของเอเชียคิดเป็น สัดส่วนราว 1 ใน 4 ของมูล ค่าส่งออกและนํ าเข้ ารวม ของทั้งโลก ส่งผล ให้ ความมั่งคั่งของประเทศ ในเอเชี ยเพิ่มขึ้น อย่ างก้ าวก ระโดด แสดงให้เห็นได้จากทุนสํารองระหว่างประเทศของประเทศในเอเชียรวมกันเพิ่มขึ้นจาก 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 เป็ นกว่า 4.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน เมื่อประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ประเทศเศรษฐกิจหลัก ต่างได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและดูเหมือนว่าปัญหาต่างๆ จะยังไม่ยุติลงในระยะเวลาอันใกล้ ทําให้ หลายฝ่ ายมองว่าเอเชีย กําลังก้าวเข้ามาเป็ นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของโลกตัวใหม่ ถนนทุกสายที่กําลังมุ่งหน้าเข้าสู่เอเชียในขณะนี ‘ ไม่ว่าจะเป็ น การค้า การลงทุน รวมถึงเงินทุน กําลังผลักดันทิศทางเศรษฐกิจโลกให้เข้าสู่ยุคสมัยแห่งเอเชียอย่างแท้จริง ซึ่งไทยควรต้องรู้ จักใช้ประโยชน์จากยุคสมัยแห่งเอเชียให้เต็มประสิทธิภาพ เพราะลําพังตลาดในประเทศไทยอย่างเดียว ซึ่งมีประชากร 0.9% ของประชากรโลก
ขณะที่ GDP คิดเป็ นสัดส่วนเพียง 0.46% ของ GDP โลก ไม่เพียงพอที่จะผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นกลยุทธ์ในการก้าวไปสู่การรวมกลุ่มเป็ นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ก่อนที่จะขยายไปสู่ ASEAN+3 และ ASEAN+6 จะยิ่งทําให้ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากตลาดขนาดใหญ่ได้มากขึ้น จุดมุ่งหมายหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การนําอาเซียนไปสู่การเป็ นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน
(Single Market and Production Base) ซึ่งหมายถึงการทําให้เกิดการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีใน 5 สาขา ประกอบด้วยสินค้า
บริการ การลงทุน แรงงานฝี มือ และเงินทุน ซึ่งแน่นอนว่าการเปิ ดเสรีดังกล่าว ย่อมมีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์มากน้ อยแตกต่างกันตามศักยภาพของผู้ ประกอบการในแต่ละประเทศ ซึ่งสามารถวิเคราะห์แยกผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
เป็นรายสาขาได้ดังนี้
การเปิดเสรีด้านการค้า เป็นสิ่งที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA (ASEAN Free Trade Area)
ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2535 โดยมีการทยอยลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนื่อง และในปี 2553 นี้
ประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิ ลิปปิ นส์ อินโดนีเซีย และบรูไน จะต้องลดอัตราภาษีศุลกากร ระหว่างกันให้เหลือ 0% ในรายการ Inclusive List ขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่อีก 4 ประเทศ คือ กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม ต้องทยอยลดอัตราภาษีศุลกากรจนเหลือ 0% ภายในปี 2558 เป็นที่น่าสังเกตว่า การเปิ ดเสรีการค้าของอาเซียนทําให้สินค้ าส่งออกหลายรายการของไทยได้เปรียบคู่แข่ง ในอาเซียน ขณะที่สินค้าบางรายการต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยกลุ่มสินค้าส่งออกที่คาดว่า จะได้เปรียบจากการเปิ ดเสรีดังกล่าวมีหลายรายการ อาทิ ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์ยาง และเฟอร์นิเจอร์ ในตลาดอินโดนีเซีย เสื้อผ้าสําเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ ในตลาดมาเลเซีย เป็ นต้น ขณะที่สินค้าส่งออกบางรายการจําเป็ นต้องปรับตัว ทั้งสินค้า เกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสําปะหลัง ผ้าผืน เม็ดพลาสติก ในตลาดอินโดนีเซีย ยางพารา ผ้าผืน ในตลาดฟิ ลิปปิ นส์ เป็ นต้น
ซึ่งแนวทางในการปรับตัวของสินค้าเกษตร ได้แก่ การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ไม่ว่าจะเป็ นการปรับปรุงพันธุ์พืช
การพัฒนาระบบชลประทานและการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว รวมถึงการแปรรูปวัตถุดิบขั้นต้น เพื่อสร้ างมูลค่าเพิ่มให้ กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอีกด้วย ในส่วนของแนวทางปรับตัวของสินค้ าอุตสาหกรรมนั้น ผู้ ประกอบการควรหันมาแข่งขันด้านคุณภาพแทนการแข่งขันด้ านราคา โดยใช้ ความคิดสร้ างสรรค์และนวัตกรรม
(Creativity & Innovation) ผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
อย่างไรก็ตาม เป็ นที่น่าสังเกตว่า สาเหตุที่ทําให้สินค้าส่งออกของไทยบางรายการแข่งขันได้ยากนั้น ส่วนหนึ่งเป็ น
เพราะมีปัญหาในทางปฏิบัติที่เป็ นข้อจํากัดในการใช้ประโยชน์จากข้อตกลง AFTA อาทิ ปั ญหาเกี่ยวกับกฎว่าด้วย
แหล่งกําเนิดสินค้า มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs) การที่บางประเทศยังคงปกป้องผู้ผลิตในประเทศของตน รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการของไทยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อตกลง AFTA เป็ นต้น ซึ่งเป็ นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อให้การใช้ประโยชน์จาก AFTA มีมากขึ้น
สําหรับการเปิดเสรีด้านบริการ แม้ว่าสิงคโปร์มีศักยภาพในด้านบริการสูงที่สุดในอาเซียนและน่าจะได้ประโยชน์มาก
ที่สุดจากการเปิ ดเสรี ด้ านบริ การ โดยเฉพาะในสาขาโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ การขนส่งทางอากาศและ
โลจิสติกส์ ซึ่งสิงคโปร์มีความพร้ อมทั ‘งทางด้านโครงสร้างพื’นฐานและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหนือประเทศอื่นในอาเซียน รวมทั้งไทยอยู่มาก อย่างไรก็ตาม ไทยก็มีศักยภาพสูงในการให้บริการในบางสาขา โดยเฉพาะสาขาการท่องเที่ยว (Hospitality) ซึ่งไทยมีจุดแข็งอยู่หลายด้าน ทั้งทําเลที่ตั้ง ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการให้บริการที่ เป็นมิตรของคนไทยที่สร้ างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้เป็ นอย่างดี รวมถึงสาขาการแพทย์และบริการด้านสุขภาพ ไทยก็มีจุดแข็งไม่เพียงแต่มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล แต่ยังมีจุดเด่นด้านราคาที่ไม่สูงจนเกินไป (ต่ำกว่าสิงคโปร์ค่อนข้างมาก) รวมทั้งมีบริการทางการแพทย์ที่หลากหลาย ทั้งด้าน Medical Care (บริการรักษาทางการแพทย์) Health Care (บริการดูแลสุขภาพทั่วไป) Aging Care (บริการดูแลผู้สูงอายุ) และ Beauty Care (บริการด้านความงาม) ซึ่งล้วนเป็ นธุรกิจบริการที่ไทยจะได้ประโยชน์จากการเปิ ดเสรีภาคบริการ
ขณะที่การเปิ ดเสรีด้านการลงทุน ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 จะทําให้การลงทุนทางตรงจากประเทศ
อาเซียนด้วยกันเองเพิ่มมากขึ้นและจะเป็ นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการขยายฐานการผลิตหรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ ในอาเซียนซึ่งมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในสาขาเกษตรและเกษตรแปรรูป รับเหมาก่อสร้าง เหมืองแร่ รวมทั้งภาคการผลิตอื่นที่นักลงทุนไทยมีความเชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการเปิ ดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานฝี มือ ซึ่งเป็ นประเด็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง
เนื่องจากการเปิ ดเสรีดังกล่าวอาจทําให้แรงงานฝี มือในอาเซียนย้ายจากประเทศที่มีค่าตอบแทนต่ำ (ประเทศในแถบอินโดจีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย รวมถึงไทย) ไปยังประเทศที่มีค่าแรงสูงกว่าและมีการใช้ภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลาย อาทิ สิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งหลายฝ่ ายเริ่มเป็นห่วงว่าการเปิ ดเสรีแรงงานฝี มือดังกล่าว จะทําให้แรงงานผีมือของไทยในบางสาขาย้ายไปทํางานในมาเลเซียและสิงคโปร์ โดยเฉพาะสาขาการแพทย์และวิศวกร มีผลให้ในอนาคตไทยอาจขาดแคลนแรงงานฝีมือที่มีส่วนสําคัญในการพัฒนาประเทศในระยะถัดไป นอกจากนั ‘น ในระยะยาว หากมีการขยายกรอบความร่วมมือเป็ น ASEAN+3 หรือ ASEAN+6 ก็มีความเป็ นไปได้ว่าแรงงานฝี มือในบางสาขา อาทิ การเงินการธนาคาร รวมถึง IT จากประเทศเหล่านี้ จะเข้ามาแย่งงานบุคลากรไทยมากขึ้น
ในส่วนของการเปิดเสรีด้านเงินทุน ปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดของการเปิดเสรีที่ชัดเจน แต่ได้มีการตกลงกัน
ในเบื้องต้นว่าจะเร่งพัฒนาตลาดทุนร่วมกันจนนําไปสู่การรวมตัวของตลาดทุนในอาเซียน และยินยอมให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน โดยเสรีมากขึ้น แต่ยังคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งก่อนจะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กําลังจะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2558 จะกลายเป็ นจุดเปลี่ยนครั้งสําคัญของเศรษฐกิจไทยในทุกด้าน ทั้งการค้าสินค้า การค้าบริการ การเคลื่อนย้ายการลงทุน แรงงานและเงินทุน ทั้งนี้ ภายใต้ข้อตกลง AEC มีแนวโน้มที่ไทยจะหันมาค้าขายกับประเทศในภูมิภาคมากขึ้น สวนทางกับประเทศตลาดหลักจะเริ่มลดบทบาทลง ขณะที่การเปิ ดเสรีด้านบริการจะส่งผลให้การแข่งขันในภาคบริการรุนแรงขึ้น ซึ่งจะช่วยพัฒนาและเพิ่มบทบาทของภาคบริการให้เข้ามามีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมากขึ้น
ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ไทยเริ่มจะสูญเสียความความสามารถในการแข่งขัน ก็จําเป็ นที่จะต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้โอกาสจากการเปิ ดเสรีด้านการลงทุนภายใต้กรอบ AEC สําหรับการเคลื่อนย้ายแรงงานฝี มืออย่างเสรี จะส่งผลให้การแข่งขันในตลาดแรงงานเป็ นไปอย่างเข้มข้น ซึ่งบุคลากรในวิชาชีพต่างๆ ของไทยจําเป็ นต้องเร่งพัฒนาทักษะเพื่อรับมือกับการแข่งขันดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านภาษา ซึ่งบุคลากรไทยยังเสียเปรียบคู่แข่งอื่นๆ ในอาเซียนอยู่มาก รวมทั้งการปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานการทํางานที่เป็ นสากล เช่นเดียวกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี ซึ่งจะมีส่วนทําให้ค่าเงินมีความผันผวนมากขึ้น ผู้ประกอบการไทยจึงจําเป็ นต้องปรับตัวในการบริหารต้นทุน และปิ ดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนให้ดี
ที่มา : ฝ่ ายวิจัยธุรกิจธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย