ลิขสิทธิ์ป้องกัน ก๊อป โหลด โพสต์ แชร์ มุ่งสร้างความเข้าใจไม่หลงผิด


ลิขสิทธิ์ คือการคุ้มครองผลงานของเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะนำข้อมูลไปใช้ในการศึกษา,การพาณิชย์ หรือส่วนตัว ซึ่งปัจจุบัน IPAD IPHON เป็นปัจจัยหลักต่อการ ก๊อป โหลด โพสต์ แชร์ และในขณะนี้อินเทอร์เน็ตเป็นตัวเสริมโอกาสละเมิดลิขสิทธิ์สูง ดังนั้นควรตระหนักและเข้าใจต่อลิขสิทธิ์เพื่อป้องกับคดีการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยไม่ยั้งคิด

กนกวลี  กันไทยราษฎร์ นักเขียนด้านวรรณกรรม กล่าวถึงการคัดลอกผลงานด้านวรรณกรรมว่า การคัดลอกผลงานด้านวรรณกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ และไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า บุคคลนั้นก๊อปเนื้อหาเหมือนต้นฉบับเลยหรือไม่ สิ่งนี้คือการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ถ้าหากสร้างสรรค์คาแรคเตอร์ขึ้นมาใหม่ หรือ คิดฉากประกอบเนื้อเรื่องใหม่ สิ่งนี้ก็ถือว่าไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ส่วนมากคนที่อ่านวรรณกรรมแล้วเกิดแรงบันดาลใจจากเรื่องนั้น ถือว่าไม่ใช้แรงบันดาลใจที่แท้จริง คำว่าแรงบันดาลใจนั้นต้องเกิดจากสิ่งที่ได้พบเห็นสถานที่ต่างๆ สิ่งนี้เรียกว่าแรงบันดาลใจที่เกิดกับตัวเรา

การหาข้อมูลเรื่องที่ต้องการเขียนเป็นสิ่งที่ดีสำหรับการเขียนวรรณกรรม ซึ่งปัจจุบันต่างกับสมัยก่อนเป็นอย่างมาก การเขียนวรรณกรรมสักเรื่องจำเป็นต้องเดินทางเพื่อค้นหาสถานที่ เพื่อนำมาเล่าประสบการณ์ แต่ด้วยเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในด้านงานเขียน เพียงแค่เซิร์ททางGoogle สถานที่ส่วนที่ต้องการหาก็ปรากฏขึ้นมา ดังนั้นการลอกเลียนแบบจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เหตุเพราะเทคโนโลยีเข้ามาเอื้ออำนวยมากขึ้น 

วรพันธ์ โลกิตสถาพร อดีตผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์ หรือนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการพิมพ์หนังสือเพื่อออกจำหน่ายว่า โดยปกติผู้เขียนจะส่งต้นฉบับมาให้พิมพ์เพื่อผลิตเป็นรูปเล่ม ส่วนใหญ่มักจะตรวจพบปัญหาเกี่ยวกับฟอนต์ตัวหนังสือ และภาพประกอบเนื้อเรื่อง เช่น การเขียนงานโดยเลือกใช้ฟอนต์ที่ไม่เหมาะสม ในฟอนต์ทั่วไป ก-ฮ ทั่วไป ถ้านำมาเป็นตัวหนังสือของงานตนเองนั้นไม่ผิดลิขสิทธิ์ แต่ผิดลิขสิทธิ์ในที่นี้คือ การละเมิดโปรแกรมจัดทำฟอนต์ โดยนำโปรแกรมนั้นมาดัดแปลงเป็นฟอนต์ตัวหนังสือของตนเอง หากต้องการฟอนต์นั้นจริงๆ ควรขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนเสมอ สำหรับเรื่องของภาพ บางทีผู้เขียนหยิบภาพที่เป็นรูปอาหารมาประกอบเนื้อเรื่อง แต่กลับมีโลโก้ร้านติดมาด้วย ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างเห็นได้ชัดเจน หลังจากนั้นสำนักพิมพ์ก็จะพูดคุยกับทางด้านผู้เขียน และจะไม่พิมพ์หนังสือให้ เพราะเปรียบเสมือนละมิดลิขสิทธิ์ไปด้วย

ปฐม อินทโรดม ผู้เชี่ยวชาญและเป็นที่ปรึกษาด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศกล่าว่า หากย้อนอดีตไปยุค อนาล็อก หรือยุคพิมพ์ดีด การละเมิดลิขสิทธิ์ทำได้ยากมาก พอมาถึงยุคดิจิตอล ทั้งหมดเป็นดิจิตอลหมด การละเมิดลิขสิทธิ์ก็ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบัน ลิสต์ โหลด โพสต์ แชร์ เป็นคำที่ผู้คนส่วนใหญ่ทำกันอย่างกว้างขวาง และขณะนี้การโหลดอะไรที่ได้มาฟรีๆนั้นมีน้อยลง เนื่องจากต้องกรอกเบอร์โทรศัพท์หรืออีเมล์ เมื่อโหลดแล้วสิ่งที่ได้กลับมาคือโปรแกรมแอบแฝง ที่จะเข้ามาเช็คข้อมูลการดาวน์โหลดของคุณ ถ้าคนที่ยังไม่ชำนาญพออาจโหลดเจอไวรัสได้เช่นกัน ซึ่งสมาร์ทโพน เครื่องมือสื่อสารที่นิยมกันมากที่สุด และก็เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดาวน์โหลดมากที่สุดด้วย ดังนั้นหากไม่ต้องการให้ผลงานเกิดการดาวน์โหลดซ้ำ ควรสร้างไฟล์เป็น PDF เนื่องจากไฟล์นี้จะสามารถยับยั้งการดาวน์โหลดได้ส่วนหนึ่ง

สุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล ผู้เชี่ยวชาญท่าด้านกฎหมาย กล่าวว่า ลิขสิทธิ์คือห้ามให้คนอื่นทำซ้ำกับผลงานตนเอง หรือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเผยแพร่ได้ ส่วนทางด้านงานวรรณกรรมหากมีอยู่แล้ว แต่นำมาเขียนดัดแปลงใหม่ถือว่าไม่ผิดลิขสิทธิ์ ถ้าผู้เขียนไม่คิดเรื่องวรรณกรรมขึ้นมา คนทั่วไปก็จะนึกถึงฟอร์มเนื้อเรื่องไม่ออกว่า แม่มดมีรูปร่าง ลักษณะเป็นอย่างไร เป็นต้น อีกทั้งเรื่องของฟอนต์ คนที่เป็นผู้ผลิตฟอนต์ขึ้นมานั้นถือว่าเป็นเจ้าของฟอนต์ หากนำฟอนต์มาดัดแปลงถือว่าไม่ผิดเช่นกัน สิ่งนี้คือการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ เว้นแต่การนำโปรแกรมจัดทำฟอนต์ของเจ้าของลิขสิทธิ์มาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ส่วนเรื่องการโหลด โพสต์ แชร์ ข้อความหรือภาพที่หมิ่นประมาทบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือทำให้เสื่อมเสีย แล้วแชร์ต่อกันไป สิ่งนี้ถือว่าผิดทางกฎหมาย การที่จะแชร์ข้อความหรือรูปภาพ ควรพิจารณาถึงความถูกต้องก่อนการตัดสินใจแชร์ เพราะหากทำไปแล้ว จะเป็นการตั้งใจหรือไม่ ก็เป็นการหมิ่นประมาณด้วยทั้งสิ้น และแสดงว่าคุณเป็นคนที่ร่วมกระทำความผิดไปด้วย