การเติบโตของฐานกลุ่มคนชั้นกลาง ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อ ประกอบกับการที่ผู้คนแสวงหาเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความแตกต่างไม่ซ้ำใคร เป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงและมุ่งสร้างความแตกต่างในการนำเสนอสินค้าและบริการ นอกจากนี้ ความเชื่อมโยงหลอมรวมกันของเทคโนโลยี ยังเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยขยายแฟลตฟอร์มสำหรับการเข้าถึงลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ประกอบการไทยกำลังเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนผ่านจากการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการลดต้นทุนและการผลิตจำนวนมากเพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) มาสู่การสร้างมูลค่า (Value Creation) ด้วยการยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบทั้งในส่วนของทุนทางวัฒนธรรมและฐานความรู้ในการเพิ่มมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในตลาดได้อย่างสอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก
แนวโน้มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำแนกอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 15 อุตสาหกรรม ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 4 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจสื่อและบันเทิง และบริการสนับสนุนธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงโอกาสการเติบโตในอนาคต ดังนี้
-
ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2557 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยรวม 28 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากปี 2556 ก่อให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 1.35 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากปี 2556 ซึ่งนอกจากนักท่องเที่ยวจะนิยมเดินทางท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวที่ถูกสร้างขึ้นแล้ว จะเห็นได้ว่า การสั่งสมประวัติศาสตร์ เรื่องราว เอกลักษณ์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆที่ปรากฏอยู่ในรูปแบบของประเพณีประจำปีและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น โบราณสถาน วัดวาอาราม ชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น ได้ส่งผลให้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในรูปแบบการท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆภายในประเทศไทย และนำมาซึ่งการต่อยอดสร้างรายได้สะพัดไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น การขายสินค้าที่ระลึก สินค้าหัตถกรรม การแพทย์แผนไทย การนวดแผนไทย เป็นต้น
นอกจากนี้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน ก็ยังเป็นปัจจัยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวกลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียนหันมาเลือกจัดทริปเดินทางท่องเที่ยวหลายประเทศในกลุ่มอาเซียนต่อเนื่องกัน ประกอบกับความเชื่อมโยงของเส้นทางการเดินทางระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เอื้ออำนวยให้การท่องเที่ยวสะดวกยิ่งขึ้น ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียนให้เติบโต สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการขยายตัวของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทย ที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน
สำหรับในปี 2556 ภาพรวมของตลาดธุรกิจบริการเกี่ยวกับอาหารในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 669,000 ล้านบาท ซึ่งในปี 2557 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับหนี้สินภาคครัวเรือน รวมถึงต้นทุนการประกอบธุรกิจร้านอาหารที่สูงขึ้น ทั้งวัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ และราคาพลังงาน ในขณะที่ผู้ประกอบการมีข้อจำกัดด้านการขึ้นราคา เป็นปัจจัยกดดันให้ธุรกิจบริการเกี่ยวกับอาหารอาจเติบโตอย่างชะลอตัวลง
ธุรกิจร้านอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ผู้ประกอบการนำทุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทย เช่น สูตรอาหารไทย วัตถุดิบท้องถิ่น สมุนไพรไทย เป็นต้น มาต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างประสบความสำเร็จ ดังจะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนร้านอาหารท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ และคอมมูนิตี้มอลล์ต่างๆ ซึ่งได้รับความนิยมในการเลือกใช้บริการทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมถึงร้านอาหารไทยระดับพรีเมี่ยมที่อยู่ในลำดับต้นๆจากการจัดลำดับร้านอาหารทั่วโลกโดยสื่อต่างประเทศ
นอกจากนี้ การเติบโตของธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในย่านที่มีชาวเอเชียอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่เป็นโอกาสสำหรับการขยายกิจการของผู้ประกอบการร้านอาหารไทยไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียน ทั้งในรูปแบบการขยายการลงทุนโดยผู้ประกอบการเองและการขายแฟรนไชส์ ก็สามารถสร้างชื่อเสียงและรายได้กลับเข้าสู่ประเทศไทยเป็นอย่างดี โดยพบว่าธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศสามารถสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 16,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน รวมถึงยังนำมาซึ่งรายได้เข้าสู่ประเทศจากการส่งออกสินค้าประเภทเครื่องปรุงรส อาหารพร้อมปรุง พืช ผัก สมุนไพร และเครื่องเทศต่างๆ ที่ได้รับอานิสงส์จากความต้องการใช้สำหรับการประกอบอาหารไทยในต่างประเทศอีกด้วย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2557 นี้ ธุรกิจสื่อและบันเทิงในประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแพร่ภาพและกระจายเสียงทางโทรทัศน์ ที่ได้รับปัจจัยหนุนจากการเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัลที่มีจำนวนช่องธุรกิจ 24 ช่อง ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ตลาดผลิตรายการโทรทัศน์มีมูลค่า 32,690 – 33,260 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14-16 จากปี 2556 ที่คาดว่าจะมีมูลค่า 28,780 ล้านบาท
แม้ว่ามูลค่าตลาดของธุรกิจสื่อและบันเทิงยังจำกัดอยู่แค่การบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก แต่ธุรกิจสื่อและบันเทิงไทยก็ได้รับกระแสการตอบรับที่ดีในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีน และประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่ละครไทย ภาพยนตร์ไทย และนักแสดงไทยได้รับความนิยม โดยการส่งออกบริการด้านสื่อและบันเทิงไทยไปยังจีน และประเทศในกลุ่มอาเซียน มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยหนุนด้านความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรม ระดับการเปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติที่มากขึ้นของประเทศต่างๆ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีในการรับชมความบันเทิงผ่านแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจสื่อและบันเทิงไทยสามารถสร้างรายได้ทั้งในรูปแบบการขายคอนเทนต์และการรับจ้างผลิตสื่อและบันเทิง โดยนอกจากจะสร้างรายได้เป็นเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศไทยแล้ว การเผยแพร่ธุรกิจสื่อและบันเทิงไทยในต่างประเทศยังสามารถเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ซึ่งจะเป็นประตูที่เปิดโอกาสในการทำการตลาดสำหรับสินค้าและบริการอื่นๆในต่างประเทศตามมาอีกด้วย
บริการสนับสนุนธุรกิจ ครอบคลุมถึง สถาปัตยกรรม ซอฟต์แวร์ ออกแบบ โฆษณา แฟชั่น และการพิมพ์ ซึ่งมีบทบาทสนับสนุนผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆ โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กลุ่มบริการสนับสนุนธุรกิจได้รับปัจจัยหนุนมาจากความต้องการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเหมาจ้างเป็นโครงการ และ Outsource เนื่องจากสามารถลดภาระและเสริมสร้างความคล่องตัวในการดำเนินงานในหลากหลายด้าน จึงกล่าวได้ว่าบริการสนับสนุนธุรกิจเป็นกลุ่มธุรกิจที่น่าจะมีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต
การเติบโตของฐานกลุ่มคนชั้นกลาง ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อ ประกอบกับการที่ผู้คนแสวงหาเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความแตกต่างไม่ซ้ำใคร เป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงและมุ่งสร้างความแตกต่างในการนำเสนอสินค้าและบริการ นอกจากนี้ ความเชื่อมโยงหลอมรวมกันของเทคโนโลยี ยังเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยขยายแฟลตฟอร์มสำหรับการเข้าถึงลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ประกอบการไทยกำลังเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนผ่านจากการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการลดต้นทุนและการผลิตจำนวนมากเพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) มาสู่การสร้างมูลค่า (Value Creation) ด้วยการยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบทั้งในส่วนของทุนทางวัฒนธรรมและฐานความรู้ในการเพิ่มมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในตลาดได้อย่างสอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก
แนวโน้มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำแนกอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 15 อุตสาหกรรม ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 4 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจสื่อและบันเทิง และบริการสนับสนุนธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงโอกาสการเติบโตในอนาคต ดังนี้
-
ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2557 จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยรวม 28 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากปี 2556 ก่อให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 1.35 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากปี 2556 ซึ่งนอกจากนักท่องเที่ยวจะนิยมเดินทางท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวที่ถูกสร้างขึ้นแล้ว จะเห็นได้ว่า การสั่งสมประวัติศาสตร์ เรื่องราว เอกลักษณ์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆที่ปรากฏอยู่ในรูปแบบของประเพณีประจำปีและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น โบราณสถาน วัดวาอาราม ชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น ได้ส่งผลให้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในรูปแบบการท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆภายในประเทศไทย และนำมาซึ่งการต่อยอดสร้างรายได้สะพัดไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น การขายสินค้าที่ระลึก สินค้าหัตถกรรม การแพทย์แผนไทย การนวดแผนไทย เป็นต้น
นอกจากนี้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน ก็ยังเป็นปัจจัยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวกลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียนหันมาเลือกจัดทริปเดินทางท่องเที่ยวหลายประเทศในกลุ่มอาเซียนต่อเนื่องกัน ประกอบกับความเชื่อมโยงของเส้นทางการเดินทางระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เอื้ออำนวยให้การท่องเที่ยวสะดวกยิ่งขึ้น ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียนให้เติบโต สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการขยายตัวของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทย ที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน
สำหรับในปี 2556 ภาพรวมของตลาดธุรกิจบริการเกี่ยวกับอาหารในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 669,000 ล้านบาท ซึ่งในปี 2557 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับหนี้สินภาคครัวเรือน รวมถึงต้นทุนการประกอบธุรกิจร้านอาหารที่สูงขึ้น ทั้งวัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ และราคาพลังงาน ในขณะที่ผู้ประกอบการมีข้อจำกัดด้านการขึ้นราคา เป็นปัจจัยกดดันให้ธุรกิจบริการเกี่ยวกับอาหารอาจเติบโตอย่างชะลอตัวลง
ธุรกิจร้านอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ผู้ประกอบการนำทุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทย เช่น สูตรอาหารไทย วัตถุดิบท้องถิ่น สมุนไพรไทย เป็นต้น มาต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างประสบความสำเร็จ ดังจะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนร้านอาหารท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ และคอมมูนิตี้มอลล์ต่างๆ ซึ่งได้รับความนิยมในการเลือกใช้บริการทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมถึงร้านอาหารไทยระดับพรีเมี่ยมที่อยู่ในลำดับต้นๆจากการจัดลำดับร้านอาหารทั่วโลกโดยสื่อต่างประเทศ
นอกจากนี้ การเติบโตของธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในย่านที่มีชาวเอเชียอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่เป็นโอกาสสำหรับการขยายกิจการของผู้ประกอบการร้านอาหารไทยไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียน ทั้งในรูปแบบการขยายการลงทุนโดยผู้ประกอบการเองและการขายแฟรนไชส์ ก็สามารถสร้างชื่อเสียงและรายได้กลับเข้าสู่ประเทศไทยเป็นอย่างดี โดยพบว่าธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศสามารถสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 16,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน รวมถึงยังนำมาซึ่งรายได้เข้าสู่ประเทศจากการส่งออกสินค้าประเภทเครื่องปรุงรส อาหารพร้อมปรุง พืช ผัก สมุนไพร และเครื่องเทศต่างๆ ที่ได้รับอานิสงส์จากความต้องการใช้สำหรับการประกอบอาหารไทยในต่างประเทศอีกด้วย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2557 นี้ ธุรกิจสื่อและบันเทิงในประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแพร่ภาพและกระจายเสียงทางโทรทัศน์ ที่ได้รับปัจจัยหนุนจากการเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัลที่มีจำนวนช่องธุรกิจ 24 ช่อง ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ตลาดผลิตรายการโทรทัศน์มีมูลค่า 32,690 – 33,260 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14-16 จากปี 2556 ที่คาดว่าจะมีมูลค่า 28,780 ล้านบาท
แม้ว่ามูลค่าตลาดของธุรกิจสื่อและบันเทิงยังจำกัดอยู่แค่การบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก แต่ธุรกิจสื่อและบันเทิงไทยก็ได้รับกระแสการตอบรับที่ดีในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีน และประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่ละครไทย ภาพยนตร์ไทย และนักแสดงไทยได้รับความนิยม โดยการส่งออกบริการด้านสื่อและบันเทิงไทยไปยังจีน และประเทศในกลุ่มอาเซียน มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยหนุนด้านความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรม ระดับการเปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติที่มากขึ้นของประเทศต่างๆ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีในการรับชมความบันเทิงผ่านแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจสื่อและบันเทิงไทยสามารถสร้างรายได้ทั้งในรูปแบบการขายคอนเทนต์และการรับจ้างผลิตสื่อและบันเทิง โดยนอกจากจะสร้างรายได้เป็นเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศไทยแล้ว การเผยแพร่ธุรกิจสื่อและบันเทิงไทยในต่างประเทศยังสามารถเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ซึ่งจะเป็นประตูที่เปิดโอกาสในการทำการตลาดสำหรับสินค้าและบริการอื่นๆในต่างประเทศตามมาอีกด้วย
บริการสนับสนุนธุรกิจ ครอบคลุมถึง สถาปัตยกรรม ซอฟต์แวร์ ออกแบบ โฆษณา แฟชั่น และการพิมพ์ ซึ่งมีบทบาทสนับสนุนผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆ โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กลุ่มบริการสนับสนุนธุรกิจได้รับปัจจัยหนุนมาจากความต้องการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเหมาจ้างเป็นโครงการ และ Outsource เนื่องจากสามารถลดภาระและเสริมสร้างความคล่องตัวในการดำเนินงานในหลากหลายด้าน จึงกล่าวได้ว่าบริการสนับสนุนธุรกิจเป็นกลุ่มธุรกิจที่น่าจะมีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต