อุสาหกรรมไทยได้รับผลประโยชน์ภาษี จากFTA กว่า 1 แสน 3 หมื่นล้านบาท


สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยผู้ส่งออกไทยได้รับผลประโยชน์ ทางด้านภาษีจาก FTAของปี 2556  ที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่ารวม 1 แสน 3 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันพบว่า อุตสาหกรรมไทยยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์ได้เต็มที่ ด้านทีดีอาร์ไอ เร่ง ศีกษาแนวทางให้ไทยได้รับประโยชน์สูงสุด

ดร.สมชาย  หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ผู้ส่งออกของไทยได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีศุลกากรภายใต้ FTA ในปี 2556ที่ผ่านมารวมมูลค่าภาษีที่ประหยัดได้ถึง 135,855 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 25,013 ล้านบาท  โดยผู้ที่ส่งออกสินค้าไปในประเทศอาเซียน ได้รับผลประโยชน์สูงสุดถึง 83,720 ล้านบาท  โดย  สินค้าจากกลุ่มยานยนต์ มาแป็นอันดับ 1 มูลค่ารวม 39,569 ล้านบาท รองลงมา กลุ่มอาหาร 18,327ล้านบาท และสุดท้าย  กลุ่มพลาสติก 11,291 ล้านบาท  

               ส่วนในภาคนำเข้าได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีคิดเป็นมูลค่า 91,310 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 225 ล้านบาทใหญ่เป็นผู้นำเข้าสินค้าจากอาเซียนและจีน โดยสามารถประหยัดภาษีได้สูงสุดถึง 39,383 ล้านบาท และ 33,908  ล้านบาท ตามลำดับ สินค้าที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดได้แก่ กลุ่มอาหาร มูลค่ารวม12,052 ล้านบาท) สินค้าเกษตร 10,135 ล้านบาท และสินค้ากลุ่มยานยนต์ 9,320 ล้านบาท

แต่ในขณะเดียวกันทาง สศอ. และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลับพบว่าผู้ส่งออกและนำเข้ายังไม่สามารถได้รับรับสิทธิประโยชน์จาก FTA ได้อย่างเต็มที่ซึ่งตัวเลขสิทธิประโยชน์ของการนำเข้าและส่งออก สูงสุดควรอยู่ที่ 116,934 ล้านบาท และ 41,015 ล้านบาท ตามลำดับ ระบุประเด็นปัญหาที่พบได้แก่ลูกค้า (ผู้นำเข้าในประเทศคู่ค้า) ไม่ได้ขอ ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Certificate of origin (c/o) มา ปัญหาจากกระบวนการเอกสารขอใช้สิทธิ์ยุ่งยากและซับซ้อน และการตีความพิกัดสินค้าไม่ตรงกัน เป็นต้น

              สำหรับ“FTA” คือ การรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มลงให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0 % และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า (goods) โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลัก

             ด้าน ดร.เชษฐา  อินทรวิทักษ์ นักวิชาการทีดีอาร์ไอ กล่าวถึง แนวทางการศึกษาการใช้ประโยชน์ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไทยได้รับประโยชน์สูงสุด จาก อาเซียน โดยมีแนวทางดังนี้ คือ แนวทางที่ 1  การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมไทยภายใต้ยุทธศาสตร์ “ประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางอนุภูมิภาคของอาเซียน” โดยการคึกษาว่าเปลี่ยนแปลง Production Network ที่เกินขึ้นในอาเซียนโดยเฉพาะ อนุภูมิภาค GMS เป็นอย่างไรและมีปัจจัยใดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง  นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการผลิตใดที่ย้ายฐานการผลิตออกจากไทย หรือ ทำให้เกิดการผลิตที่มีมูลค่าสูง รวมถึงมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลง Production Network  ของอุตสาหกรรมเบาะรถยนต์ และชุดสายไฟ 

 แนวทางที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยสู่ความสำเร็จของความเชื่อมโยงภายใน  อนุภูมิภาค  นอกจากต้นทุนด้านภาษีศุลกากรแล้ว ต้นทุนด้านการคมนาคมขนส่งและ โลจิสติกส์ ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น ต้องจะดูว่ามีปัจจัยที่สำคัญใดบ้างที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความเชื่อมโยงและการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าภายในอนุภูมิภาค อย่างไรเช่น ตามความตกลง CBTAกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit: AFAFGIT) และกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Inter-State Transport: AFAFIST)

ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามแนวทางการใช้ประโยชน์ทั้งสองแนวทาง ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ว่าจะสัมฤทธ์ต่อภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียน หรือการได้รับสิธิประโยชย์จากFTAจะ เปลี่ยนมากน้อยเพียงใดก็ต้องติดตามกันต่อไป