ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในหัวข้อ “บอกเล่าก้าวสู่ตลาด AEC จากดาวรุ่งและรุ่นพี่” แนะแนวทางเคล็ดลับจากเจ้าของรางวัล Prime Minister’s Business Enterprise Award 2013 จาก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
โดยในงานเป็นการบอกเล่าวิธีการ การมองเป้าหมาย กลยุทธ์ ขั้นตอน ที่ทำให้ประสบความสำเร็จในตลาด AEC จากผู้ประสบความสำเร็จจากธุรกิจ จนได้รางวัล Prime Minister’s Business Enterprise Award 2013 วิทยากรจากบริษัท ดาวรุ่ง ได้แก่ นายพัชรพล สุทธิธรรม บริษัท ไอ แคร์ ยู ตำแหน่ง กรรมการฝ่ายบริหาร ได้รางวัล Best Rising Starรุ่นพี่ ได้แก่ นางสาวพจนา พะเนียงเวทย์ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด(มหาชน) ตำแหน่ง Export Manager ได้รับรางวัล AEC )
นายพัชรพล สุทธิธรรม กรรมการฝ่ายบริหารบริษัท ไอเรียล พลัส (ประเทศไทย) จำกัดกว่าว่า ธุรกิจเครื่องสําอาง สมัยนี้ถือว่าในท้องตลาดนั้นมีการแข่งขันกันสูงมาก เพราะเนื่องจากจำนวนของเครื่องสำอางนั้น มีมากมายหลากยี่ห้อทั้งในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ การจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจเครื่องสำอางนั้นจำเป็นจะต้องมีความอดทน เข้าใจตลาดและความต้องการของลูกค้าอย่างดีเยี่ยม ยิ่งถ้าพูดถึงเครื่องสำอางที่ส่งออกไปขายในต่างประเทศนั้น ในประเทศไทยนับว่ายังมีน้อยมาก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนไทยที่สามารถสร้างแบรนด์และส่งออกเครื่องสำอางไปขายในต่างประเทศได้
ในด้านอาเซียนนั้นนาย พัชรพล มองว่าไทยเป็นอันดับหนึ่งในเรื่องเครื่องสำอาง โดยมีส่วนแบ่ง 1.2แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 40% ของตลาดเครื่องสำอางในอาเซียนและคาดว่าในปี 2558 จะเพิ่มเป็นอีกเท่าตัว
สำหรับกลยุทธ์ที่จะทำให้ก้าว เข้าสู้AEC อย่างประสบความสำเร็จนั้น นาย พัชรพล ได้แนะนำไว้ดังนี้
1.ต้องเริ่มจากการสร้างแบรนด์ โดยการสร้างเรื่องราวของแบรนด์ให้ดูน่าค้นหาและเป็นที่จดจำ แต่ต้องเป็นเรื่องราวที่มาจากความจริง
2.เมื่อสร้างแบรนด์ได้แล้วจึงจดสิทธิบัตร เพื่อป้องกันการ ลอกเลียนแบบแบรนด์ โดยเน้นการจดสิทธิบัตรชื่อแบรนด์เป็นหลัก เพราะแบรนด์สินค้าถือว่าเป็นสิ่งที่จะอยู่คู่กับผู้ผลิตอีกนาน
3.ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน มองให้ออกว่าสินค้าของเราเป้าหมายคือใคร เหมาะกับคนกลุ่มไหน และมุ่งไปที่กลุ่มนั้นอย่าลังเล
4.ไม่ลดต้นทุนเพราะลูกค้าคือคนลงทุน ในตลาดAEC อาจมีสินค้าหลายเจ้าที่ถูกกว่าของสินค้าเรา แต่เราต้องมีจุดยืนในเรื่องของต้นทุนของเรา เพราะการลดต้นทุนก็คือการลดคุณภาพ นั้นอาจจะไม่ตอบโจทย์ลูกค้าซึ่งลูกค้ามักมองหาสินค้าที่มีคุณภาพแม้ราคาแพงแต่ตอบโจทย์ได้มากกว่า
ในส่วนด้านการตลาดนั้น นาย พัชรพล เผยตนได้อาศัยการเขาหารัฐ โดยออกบูธกับทางกรมการค้าต่างประเทศและติดต่อคู่ค้าโดยทางนี้เป็นส่วนใหญ่
“การทำตลาดนั้น ได้บินไปออกบูทร่วมกับทางกรมฯ โดยเริ่มต้นจากในประเทศอาเซียน ภาษาอังกฤษเราก็ไม่เก่ง ไม่รู้จะไปอธิบายให้คู่ค้าฟังอย่างไร เลยแจกสบู่ให้ทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมชมบูทได้ลองใช้ เชื่อไหมว่าวิธีการนี้ทำให้ได้ลูกค้าติดต่อมาเกือบทุกประเทศที่ไป เพื่อขอเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของเราในประเทศนั้นๆเลยได้คู่ค้าจากวิธีนี้ และเอเยนต์ในประเทศต่างๆ เหล่านี้ก็มีคู่ค้าอยู่ทั่วโลก ทำให้สินค้าเราส่งออกไปแล้วหลายประเทศนอกเหนือจากอาเซียน ทั้งในเยอรมนี, ฝรั่งเศส, อเมริกา, รัสเซีย, ดูไบ โดยเฉพาะในญี่ปุ่น ที่กลายมาเป็นคู่ค้าหลักไปแล้วในปัจจุบัน”นายพัชรพลกล่าว
ด้านนางสาวพจนา พะเนียงเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด(มหาชน) เผยว่า การทำตลาดระยะแรก มาม่า ได้มุ่งเน้นตลาดส่งออก เพื่อให้ชาวต่างชาติยอมรับในคุณภาพสินค้าก่อน เมื่อสินค้าเป็นที่รู้จักในระดับสากลแล้ว การทำตลาดในประเทศก็ไม่ใช่เรื่องยาก ต้องมีการปรับมุมมองการค้าในต่างประเทศอย่างมีกลยุทธ์ โดยเริ่มจากการรวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ของตนเองตั้งแต่การรู้ข้อดีของผลิตภัณฑ์ของตัวเอง เราต่างจากคู่แข่งตรงไหนเราก็ชูจุดเด่นตรงนั้น
ต่อมาคือการ วิเคราะห์ชื่อแบรนด์ เช่นในผลิตภัณฑ์ มาม่าใน นั้น บางประเทศที่เป็นมุสลิมจะติดว่ามาม่าที่เป็นหมูสับที่ใช้เนื้อหมูจริงในการผลิต ถึงแม้มาม่าที่ขายให้กลุ่มมุสลิมนั้นจะไม่มีส่วนผสมของเนื้อหมูและได้เครื่องหมายฮาลาน แล้วก็ตาม จึงต้องเปลี่ยนชื่อแบรนด์บะหมี่ยี่ห้อรุสกี เป็นต้น และการวางแผนการตลาดที่จะมุ่งตลาดดต่างประเทศเป็นหลัก มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ เพื่อความสะดวก และเป็นการลดต้นทุนในการขนส่งอีกทางหนึ่ง และที่สำคัญต้องกิจกรรมทางการตลาด เผื่อจูงใจให้ลูกค้าหันมาซื้อสินค้าของเรา เช่นออกบูธให้ชิมฟรี ซื้อ10แถม 1 เป็นต้น
สุดท้ายคือการมองหาคู่ค้าที่ดี ซึ่งคู่ค้าถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากซึ่งจะเป็นตัวกำหนดได้ว่าสินค้าของเราจะบุกตลาดต่างประเทศได้หรือไม่โดยคู้ค้าต้องมีวิสัยทัศที่ตรงกับเรา อย่างเช่นตอนที่มาม่าไปเปิดตลาดที่เวียดนาม ตลาดสินค้ามะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่นั้นถือว่าถูกกว่าทางมาม่าอยู่มาก ราคาตกซองละ 4 บาท ซึ่งทางคู่ค้าของมาม่าในตอนแรกนั้นแนะนำให้ลดราคา ซึ่งทางมาม่าเองมองว่าด้วยตนทุนในหลายๆด้านการลดราคาให้เหลือ 4บาทคงทำไม่ได้ เมื่อวิสัยทัศน์ไม่ตรงกันจึงเปลี่ยนคู่ค้าใหม่ โดยที่มาม่าไม่ลดราคา แต่เน้นชูคุณภาพ จุดเด่นที่ต่างจากคู่แข่งเอง นางสาวพจนากล่าว
ทั้งนี้ผู้ที่สนใจการค้าการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนสามารถสอบถามข้อมู้ลผ่านทางศูนย์บริการข้อมูล-ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้ที่ชั้น 3 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โทร 0 2507 7209-11 Call Center 0 2507 7555 โทรสาร 0 2547 5612 และอีเมล์ [email protected] สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์